การพัฒนาครูในการสร้างฐานข้อมูลแหล่งเรียนรู้และภูมิปัญญาท้องถิ่นเพื่อยกระดับคุณภาพการสอน

ค้นหาผลการใช้แหล่งเรียนรู้และภูมิปัญญาท้องถิ่น ::
เลือกประเภทการค้นหา >>

- ข้อมูลแหล่งเรียนรู้ / ภูมิปัญญาท้องถิ่นทั้งหมด -
---------------------------------------------------------------------------
ระบบฐานข้อมูลผลงานวิชาการครูวิทยฐานะ
ลำดับ
ชื่อแหล่งเรียนรู้
/ ภูมิปัญญาท้องถิ่น
ชื่อผลงานวิจัย
ชื่อผู้วิจัย
กลุ่มสาระการเรียนรู้
ชั้นปี
วัตถุประสงค์
บทคัดย่อ
ไฟล์
รายงานผลการวิจัย
1
การพัฒนาการจัดการเรียนรู้โดยใช้แหล่งเรียนรู้เป็นฐานหน่วยสุขภาพดีชีวีมีสุข สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 1
นางอัมพร อารีวงศ์ นางสาวประภัสสร รัตนคีรี
คณิตศาสตร์
ภาษาไทย
ป.1

1. เพื่อศึกษาผลการพัฒนาการจัดการเรียนรู้โดยใช้แหล่งเรียนรู้เป็นฐานหน่วยสุขภาพดีชีวีมีสุข  สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 1

2. เพื่อศึกษาปัญหาและอุปสรรคการจัดการเรียนรู้โดยใช้แหล่งเรียนรู้เป็นฐานหน่วยสุขภาพดีชีวีมีสุข  สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 1

บทคัดย่อ

          การพัฒนาการจัดการเรียนรู้โดยใช้แหล่งเรียนรู้เป็นฐานหน่วยสุขภาพดีชีวีมีสุข สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่  1 ครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1)  เพื่อศึกษาผลการพัฒนาการจัดการเรียนรู้โดยใช้แหล่งเรียนรู้เป็นฐานหน่วยสุขภาพดีชีวีมีสุข  สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่  1 2) เพื่อศึกษาปัญหาและอุปสรรคการจัดการเรียนรู้โดยใช้แหล่งเรียนรู้เป็นฐานหน่วยสุขภาพดีชีวีมีสุข สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่  1 กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยได้แก่ นักเรียน ชั้นประถมศึกษาปีที่  1 ปีการศึกษา 2557จำนวน 34 คน โรงเรียนชลประทานผาแตก (ปัญญาพลอุปถัมภ์) ตำบลลวงเหนือ อำเภอดอยสะเก็ด จังหวัดเชียงใหม่ สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเชียงใหม่ เขต 1 โดยใช้สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลคือ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย  ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานผลการวิจัยพบว่า

           1. ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน หน่วยสุขภาพดีชีวีมีสุขของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่  1โดยการเปรียบเทียบคะแนนก่อนเรียนและหลังเรียน พบว่าผลสัมฤทธิ์ทาง การเรียนก่อนเรียนมีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 11.38  มีส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานเท่ากับ 1.47  คิดเป็นร้อยละ  59.91 และผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนหลังเรียนมีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 17.56  มีส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานเท่ากับ 1.08  คิดเป็นร้อยละ 87.79  ดังนั้น ผลสัมฤทธิ์ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 หลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียน

           2. ผลความคิดเห็นของนักเรียนที่มีต่อการจัดการเรียนรู้โดยใช้แหล่งเรียนรู้เป็นฐาน พบว่านักเรียนมีความคิดเห็นของนักเรียนต่อการจัดการเรียนรู้โดยใช้แหล่งเรียนรู้เป็นฐานด้านบรรยากาศในเชิงบวกจำนวน 54 คน คิดเป็นร้อยละ 79.41 ในเชิงลบจำนวน 14 คนคิดเป็นร้อยละ 20.59  ด้านการมีส่วนร่วมในเชิงบวกจำนวน 58 คนคิดเป็นร้อยละ 85.29  ในเชิงลบจำนวน 10  คิดเป็นร้อยละ 14.71 และด้านความรู้ในเชิงบวกจำนวน 62 คนคิดเป็นร้อยละ 91.18  ในเชิงลบจำนวน 6 คนคิดเป็นร้อยละ 8.82   

           3. ปัญหาและอุปสรรคการจัดการเรียนรู้โดยใช้แหล่งเรียนรู้เป็นฐานหน่วยสุขภาพดีชีวีมีสุขสำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 พบว่า ด้านนักเรียนพบว่า นักเรียนบางคนมีพัฒนาในการเรียนรู้ช้า และยังมีประสาทสัมผัสที่ยังต้องใช้การฝึกอย่างต่อเนื่อง อาจเนื่องมาจากพัฒนาทางด้านกล้ามเนื้อยังไม่ค่อยแข็งแรง และมีสมาธิที่ค่อนข้างจะสั้น ด้านสภาพแวดล้อมพบว่าสภาพแวดล้อมภายในห้องเรียนอึดอัด คับแคบ เนื่องจากมีเด็กนักเรียนมีจำนวนเยอะ ด้านอื่น ๆ พบว่าการเดินทางพานักเรียนไปศึกษาแหล่งการเรียนรู้นอกโรงเรียนถือว่าเป็นสิ่งที่ยุ่งยากเนื่องด้วยเด็กนักเรียนวัยนี้เป็นเด็กที่ควบคุมค่อนข้างยาก จึงส่งผลให้การนำนักเรียนออกไปศึกษาหาความรู้จากแหล่งการเรียนรู้เป็นไปได้ยากลำบาก 

2
การงานอาชีพ
ภาษาต่างประเทศ
ภาษาไทย
ป.5
 ไม่พบไฟล์
3
การพัฒนาการจัดการเรียนรู้โดยใช้ภูมิปัญญาท้องถิ่นเป็นฐานเรื่องการทำพริกลาบ สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3
อุไร ปานะโปย จุฑามาศ ไชยวงศ์ พัชรี สายพาด
การงานอาชีพ
ภาษาไทย
วิทยาศาสตร์
ศิลปะ
ป.3
  1.  ศึกษาผลการจัดการเรียนรู้โดยใช้ภูมิปัญญาท้องถิ่นเป็นฐานเรื่องการทำพริกลาบ สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3
  2.  ศึกษาความคิดเห็นของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3  ที่มีต่อการจัดการเรียนรู้โดยใช้ภูมิปัญญาท้องถิ่นเป็นฐานเรื่องการทำพริกลาบ  

บทคัดย่อ

          การวิจัยเรื่องการพัฒนาการจัดการเรียนรู้โดยใช้ภูมิปัญญาท้องถิ่นเป็นฐานเรื่องการทำพริกลาบ สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่  3 ครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลการจัดการเรียนรู้โดยใช้ภูมิปัญญาท้องถิ่นเป็นฐานเรื่องการทำพริกลาบ สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3  และศึกษาความคิดเห็นของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 ที่มีต่อการจัดการเรียนรู้โดยใช้ภูมิปัญญาท้องถิ่นเป็นฐานเรื่องการทำพริกลาบ  กลุ่มเป้าหมายที่ใช้ในการวิจัยได้แก่ นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 โรงเรียนชลประทานผาแตก  สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเชียงใหม่ เขต 1  ที่กำลังเรียนในภาคเรียนที่ 1  ปีการศึกษา  2557    จำนวน  48  คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยได้แก่ แผนการจัดการเรียนรู้โดยใช้ภูมิปัญญาท้องถิ่นเป็นฐานกลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย วิทยาศาสตร์  การงานพื้นฐานอาชีพและเทคโนโลยี และภาษาต่างประเทศ(ภาษาอังกฤษ)  เรื่องการทำพริกลาบ  ชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 จำนวน 4  แผน  แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนกลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย วิทยาศาสตร์ การงานพื้นฐานอาชีพและเทคโนโลยี  และภาษาต่างประเทศ(ภาษาอังกฤษ) เป็นแบบปรนัยชนิดเลือกตอบ 4 ตัวเลือกจำนวน 40  ข้อ  และแบบสอบถาม ความคิดเห็นของนักเรียน มีประเด็นคำถามสำคัญ 3 ด้านได้แก่ ด้านบรรยากาศ  ด้านการมีส่วนร่วม และด้านความรู้สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน   การทดสอบที  และการวิเคราะห์ข้อมูลเชิงคุณลักษณะ  ผลการวิจัยสรุปได้ดังนี้

         1. ผลการพัฒนาการจัดการเรียนรู้โดยใช้ภูมิปัญญาท้องถิ่นเป็นฐานเรื่องการทำพริกลาบ สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่  3  

         ผลการจัดการเรียนรู้เรื่องการทำพริกลาบ สาระการเรียนรู้ภาษาไทย  วิทยาศาสตร์ การงานอาชีพและเทคโนโลยี และภาษาต่างประเทศ (ภาษาอ้งกฤษ)ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3   พบว่านักเรียนที่ได้รับการพัฒนาการจัดเรียนการเรียนรู้โดยใช้ภูมิปัญญาท้องถิ่นเป็นฐานเรื่องการทำ     พริกลาบ มีพัฒนาการทั้งโดยภาพรวมและรายห้อง โดยภาพรวมมีค่าเฉลี่ยรวมของคะแนนร้อยละ 44.80   และหลังเรียนมีค่าเฉลี่ยรวมของคะแนนร้อยละ 73.70  เมื่อพิจารณาเป็นรายห้องพบว่า นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3/1  ทุกคนมีพัฒนาการ โดยมีค่าเฉลี่ยรวมของคะแนนก่อนเรียนร้อยละ 52.12 และค่าเฉลี่ยรวมของคะแนนหลังเรียนร้อยละ 76.85   และนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3/2   ทุกคนมีพัฒนาการ โดยโดยมีค่าเฉลี่ยรวมของคะแนนก่อนเรียนร้อยละ 44.88   และค่าเฉลี่ยรวมของคะแนนหลังเรียนร้อยละ 73.70 

         2. ผลการศึกษาความคิดเห็นของนักเรียนที่มีต่อการจัดการเรียนรู้โดยใช้แหล่งเรียนรู้และภูมิปัญญาท้องถิ่นเป็นฐาน เรื่องการทำพริกลาบ

          ผลการศึกษาความคิดเห็นของนักเรียนที่มีต่อการจัดการเรียนรู้โดยใช้แหล่งเรียนรู้และภูมิปัญญาท้องถิ่นเป็นฐาน เรื่องการทำพริกลาบ  สรุปได้ 3 ด้าน ดังนี้

            1) ด้านความรู้สึก  พบว่า นักเรียนสนุก  ได้เห็นการปฏิบัติจริง  และสบายใจ คิดเป็นร้อยละ 32.94, 11.75  และ10.59  ตามลำดับ 

             2) ด้านการมีส่วนร่วม พบว่านักเรียนมีส่วนร่วมในการตอบคำถาม  ได้ร่วมสังเกตการทำ  และได้ช่วยยกของคิดเป็นร้อยละ  34.15,  33.33 และ11.38  ตามลำดับ

             3) ด้านความรู้ พบว่านักเรียนได้ความรู้เรื่องการทำน้ำพริก  เรียนแล้วเข้าใจ และได้รู้ส่วนผสมของน้ำพริก  คิดเป็นร้อยละ 22.93,  18.47   และ  15.29 ตามลำดับ

4
การพัฒนาการจัดการเรียนรู้โดยใช้แหล่งเรียนรู้และภูมิปัญญาท้องถิ่นเป็นฐาน เรื่องการประดิษฐ์ดอกไม้จากผ้าใยบัว สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 2
นางแสงบุญ เชิญธงไชย นางสาวอาทิตยา นันตะภูมิ ว่าที่ร้อยตรีหญิง ดร. อุไร ปานะโปย
การงานอาชีพ
คณิตศาสตร์
ภาษาไทย
วิทยาศาสตร์
สังคม
ป.2
  1. เพื่อศึกษาผลการพัฒนาการจัดการเรียนรู้โดยใช้แหล่งเรียนรู้และภูมิปัญญาท้องถิ่นเป็นฐานเรื่องหัตถกรรมพื้นบ้าน(การประดิษฐ์ดอกไม้จากผ้าใยบัว)สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่2
  2. เพื่อศึกษาความคิดเห็นของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่  2  ต่อการจัดการเรียนรู้โดยใช้แหล่งเรียนรู้และภูมิปัญญาท้องถิ่นเป็นฐานเรื่องหัตถกรรมพื้นบ้าน(การประดิษฐ์ดอกไม้จากผ้าใยบัว)สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่  2

บทคัดย่อ

           การวิจัยเรื่อง  การพัฒนาการจัดการเรียนรู้โดยใช้แหล่งเรียนรู้และภูมิปัญญาท้องถิ่นเป็นฐานเรื่องการประดิษฐ์ดอกไม้จากผ้าใยบัว สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่  2 ครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลการจัดการเรียนรู้โดยใช้แหล่งเรียนรู้ท้องถิ่นเป็นฐานเรื่อง หัตถกรรมพื้นบ้าน(การประดิษฐ์ดอกไม้จากผ้าใยบัว) สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 2  และเพื่อศึกษาความคิดเห็นของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 2 ต่อการเรียน โดยใช้แหล่งเรียนรู้ท้องถิ่นเป็นฐานเรื่อง หัตถกรรมพื้นบ้าน(การประดิษฐ์ดอกไม้จากผ้าใยบัว) กลุ่มเป้าหมายใช้ในการวิจัยได้แก่ นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 2 โรงเรียนชลประทานผาแตก  อำเภอดอยสะเก็ด  จังหวัดเชียงใหม่  สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเชียงใหม่ เขต 1  ภาคเรียนที่ 1  ปีการศึกษา 2557  จำนวน 38 คน   เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษาประกอบด้วย  แผนการจัดการเรียนรู้โดยใช้ภูมิปัญญาท้องถิ่นเป็นฐาน เรื่อง หัตถกรรมพื้นบ้าน(การประดิษฐ์ดอกไม้จากผ้าใยบัว) ชั้นประถมศึกษาปีที่ 2 จำนวน 5 แผน แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาภาษาไทย  คณิตศาสตร์ วิทยาศาสตร์  สังคมศึกษาศาสนาและวัฒนธรรม  การงานอาชีพและเทคโนโลยี  เรื่อง  การประดิษฐ์ดอกไม้จากผ้าใยบัว  เป็นแบบปรนัยชนิดเลือกตอบ 3 ตัวเลือก จำนวน 50 ข้อ   แบบสอบถามความคิดเห็นของนักเรียน มีประเด็นคำถามสำคัญ 3 ประเด็นได้แก่ ด้านบรรยากาศ  ด้านการมีส่วนร่วม  และด้านความรู้ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าร้อยละ    ค่าเฉลี่ย  และค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน  สรุปผลได้ดังนี้    

         1. คะแนนผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนเรื่องหัตถกรรมพื้นบ้าน(การประดิษฐ์ดอกไม้จากผ้าใยบัว)ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่  2  โดยการเปรียบเทียบคะแนนก่อนเรียนและหลังเรียน พบว่านักเรียนมีพัฒนาการทางการเรียนจำนวน  38  คน คะแนนผลสัมฤทธิ์ก่อนเรียนมีค่าเฉลี่ยรวม 26.74  และผลสัมฤทธิ์หลังเรียนมีค่าเฉลี่ยรวม 43.32

         2. ความคิดเห็นของนักเรียนที่มีต่อการจัดการเรียนรู้โดยใช้แหล่งเรียนรู้และภูมิปัญญาท้องถิ่นเป็นฐานเรื่องหัตถกรรมพื้นบ้าน(การประดิษฐ์ดอกไม้จากผ้าใยบัว) ด้านบรรยากาศรายการที่มีความถี่สูงสุด  คือ ได้ลงมือปฏิบัติจริง  สนุกสนาน   และตื่นเต้นกับการเรียน ตามลำดับ ด้านการมีส่วนร่วมรายงการที่มีความถี่สูงสุดคือ  ได้ทำดอกไม้  ได้ทำความสะอาด เก็บขยะหลังการทำงาน   และช่วยอธิบายให้เพื่อนตามลำดับ  ด้านความรู้รายการที่มีความถี่สูงสุดคือ  ได้รู้จักชื่อของดอกไม้ต่างๆ  ได้เรียนรู้เกี่ยวกับอุปกรณ์ในการประดิษฐ์ดอกไม้  และ ได้เรียนรู้ข้อควรระวังในการทำดอกไม้ประดิษฐ์ ตามลำดับ

5
ผลการจัดการเรียนรู้โดยใช้แหล่งเรียนรู้ท้องถิ่นเป็นฐานเรื่อง ศาสนาพาสุข สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4
ชเนตตี พิชัย พิพัฒน์ แสงคำ อุไร ปานะโปย กฤษณวัฒน์ ดาวแสง
สังคม
ภาษาต่างประเทศ
ป.4
ป.5
ป.6
ม.1
  1. เพื่อศึกษาผลการจัดการเรียนรู้โดยใช้แหล่งเรียนรู้ท้องถิ่นเป็นฐานเรื่องศาสนาพาสุข ในกลุ่มสาระวิชาสังคมศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรม ประวัติศาสตร์ ภาษาอังกฤษ และคณิตศาสตร์สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4
  2.  เพื่อศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 ที่มีต่อการเรียนโดยใช้แหล่งเรียนรู้ท้องถิ่นเป็นฐาน เรื่องศาสนาพาสุข ในกลุ่มสาระวิชาสังคมศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรม ประวัติศาสตร์ ภาษาอังกฤษ และคณิตศาสตร์

บทคัดย่อ


            การวิจัยเรื่อง  ผลการจัดการเรียนรู้โดยใช้แหล่งเรียนรู้ท้องถิ่นเป็นฐาน เรื่อง ศาสนาพาสุข  สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 ครั้งนี้ ได้ทำการบูรณาการสาระการเรียนรู้ 4 วิชา เข้าด้วยกันได้แก่ สาระวิชาสังคมศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรม ประวัติศาสตร์ ภาษาอังกฤษ และคณิตศาสตร์ โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลการจัดการเรียนรู้โดยใช้แหล่งเรียนรู้ท้องถิ่นเป็นฐาน เรื่อง ศาสนาพาสุข  สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4  และเพื่อศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 ที่มีต่อการเรียนโดยใช้แหล่งเรียนรู้ท้องถิ่นเป็นฐาน เรื่อง ศานาพาสุข  กลุ่มเป้าหมายใช้ในการวิจัย  ได้แก่  นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 โรงเรียนชลประทานผาแตก  อำเภอดอยสะเก็ด  จังหวัดเชียงใหม่  สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเชียงใหม่ เขต 1  ภาคเรียนที่ 1  ปีการศึกษา 2557  แยกเป็นรายห้อง ได้แก่ ชั้นประถมศึกษาปีที่ 4/1 จำนวน 26 คน ชั้นประถมศึกษาปีที่ 4/2 จำนวน 24 คน รวมทั้งหมด 50 คน   เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษาประกอบด้วย  แผนการจัดการเรียนรู้โดยใช้แหล่งเรียนรู้ท้องถิ่น เรื่อง  ศานาพาสุข  สาระวิชาสังคมศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรม ประวัติศาสตร์ ภาษาอังกฤษ และคณิตศาสตร์  ชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 จำนวน 12 แผน แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน เรื่อง  ศาสนาพาสุข  เป็นแบบปรนัยชนิดเลือกตอบ 4 ตัวเลือก จำนวน 40 ข้อ   แบบสอบถามความพึงพอใจของนักเรียน มีประเด็นคำถามสำคัญ 3 ประเด็นได้แก่ ด้านบรรยากาศ  ด้านการมีส่วนร่วม  และด้านความรู้ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าร้อยละ และค่าเฉลี่ย  สรุปผลได้ดังนี้    
        1. ผลการจัดการเรียนรู้โดยใช้แหล่งเรียนรู้ท้องถิ่นเป็นฐาน สาระวิชาสังคมศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรม ประวัติศาสตร์ ภาษาอังกฤษ และคณิตศาสตร์ เรื่อง  ศาสนาพาสุข  ชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 
        ผลการจัดการเรียนรู้โดยใช้แหล่งเรียนรู้ท้องถิ่นเป็นฐาน โดยการเปรียบเทียบคะแนนก่อนเรียนและหลังเรียน พบว่า นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4  ทุกคนมีคะแนนผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนรายวิชาสังคมศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรม ประวัติศาสตร์ ภาษาอังกฤษ และคณิตศาสตร์ เรื่อง ศาสนาพาสุข   สูงกว่าก่อนเรียน โดยแยกเป็นรายชั้น จะพบว่า นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4/1 จะมีค่าเฉลี่ยสูงกว่านักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4/2 ทุกวิชา ได้แก่ วิชาสังคมศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรมประวัติศาสตร์ ภาษาอังกฤษ และคณิตศาสตร์ มีค่าเฉลี่ยหลังเรียนเท่ากับ 7.35, 6.5,  6.00, 8.31 ซึ่งสูงกว่า ชั้นประถมศึกษาปีที่ 4/2 ที่มีค่าเฉลี่ยหลังเรียนเท่ากับ  6.9, 5.7, 5.2, 7.5 ตามลำดับ และหลังจากเรียนโดยใช้แหล่งเรียนรู้ท้องถิ่นเป็นฐาน นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 ทุกคนมีพัฒนาการหลังการเรียนสูงกว่าก่อนเรียน

         2. ผลการศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 ต่อการเรียนโดยใช้               แหล่งเรียนรู้ท้องถิ่นเป็นฐาน เรื่อง ศาสนาพาสุข  
         ความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อการจัดการเรียนรู้โดยใช้แหล่งเรียนรู้ท้องถิ่นเป็นฐาน นักเรียนมีความพึงพอใจต่อการจัดการเรียนรู้โดยใช้แหล่งเรียนรู้ท้องถิ่นใน 3 ประเด็นแรกของแต่ละด้านพบว่า 
        ด้านบรรยากาศ  คือ มีความสุขมากกว่าเรียนในห้องเพราะได้ไปเรียนข้างนอก ได้สัมผัสของจริง และได้เห็นและสัมผัสความงามของวัด        
        ด้านการมีส่วนร่วม คือ  ได้วาดรูป และได้ลงมือปฏิบัติจริง    
        ด้านความรู้  คือ  มีพระช่วยบรรยายความรู้ต่างๆในวัด และทำให้เห็นถึงวิถีชีวิตของคนในท้องถิ่นผ่านศิลปะบนผนังวิหาร

6
การพัฒนาการจัดการเรียนรู้โดยใช้แหล่งเรียนรู้และภูมิปัญญาท้องถิ่นเป็นฐาน เรื่องสมุนไพรใกล้ตัว สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5
นางสะไบทิพย์ ยาโน นางสาวอนงนาฏ ใบแสง นางรัตนา ประชานุกุล นายสมหวัง ดวงปัน นายพิพัฒน์ แสงคำ
การงานอาชีพ
สุขศึกษาและพลศึกษา
สังคม
ป.5
  1.  เพื่อศึกษาผลการจัดการเรียนรู้โดยใช้แหล่งเรียนรู้และภูมิปัญญาท้องถิ่นเป็นฐานเรื่องสมุนไพรใกล้ตัว สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5
  2.  เพื่อศึกษาปัญหาและอุปสรรคการจัดการเรียนรู้โดยใช้แหล่งเรียนรู้และภูมิปัญญาท้องถิ่นเป็นฐานเรื่องสมุนไพรใกล้ตัว สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5

บทคัดย่อ

        ผลการจัดการเรียนรู้โดยใช้แหล่งเรียนรู้และภูมิปัญญาท้องถิ่นเป็นฐานเรื่องสมุนไพรใกล้ตัว สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 สรุปได้ดังนี้

       1. ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนเรื่อง สมุนไพรใกล้ตัว ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 โดยการเปรียบเทียบคะแนนก่อนเรียนและหลังเรียน พบว่านักเรียนมีพัฒนาการทางการเรียนจำนวน     44 คน ส่วนคะแนนผลสัมฤทธิ์ก่อนเรียนมีค่าเฉลี่ยร้อยละ 45.32 และผลสัมฤทธิ์หลังเรียนมีค่าเฉลี่ยรวมร้อยละ 69.91

       2. ความคิดเห็นของนักเรียนที่มีต่อการจัดการเรียนรู้โดยใช้แหล่งเรียนรู้และภูมิปัญญาท้องถิ่นเป็นฐานมีความโน้มเอียงไปในเชิงบวกมากกว่าเชิงลบ และพบว่า ด้านการมีส่วนร่วม นักเรียนมีการช่วยเหลือซึ่งกันและกันมีความถี่สูงสุด  รองลงมา คือ ด้านบรรยากาศ คือสถานที่เรียนมีความสนุกสนาน

       3. ปัญหาและอุปสรรคการจัดการเรียนรู้โดยใช้แหล่งเรียนรู้และภูมิปัญญาท้องถิ่นเป็นฐาน เรื่อง สมุนไพรใกล้ตัว สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 ในภาคเรียนที่ 1 /2557 สรุปได้ดังนี้

            3.1 ปัญหาจากตัวนักเรียน การจัดการเรียนรู้โดยใช้แหล่งเรียนรู้และภูมิปัญญาท้องถิ่นเป็นฐาน เรื่องสมุนไพรใกล้ตัว สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 พบว่าสิ่งที่เป็นปัญหา คือ นักเรียนไม่มีส่วนร่วม ทำให้ไม่สามารถเรียนรู้ได้เท่าเทียมกับเพื่อนนักเรียนปกติได้ ซึ่งจากการสอบถามความคิดเห็นของนักเรียนพบว่าสิ่งที่เป็นปัญหาเหล่านี้เกิดจาก พื้นฐานเดิมของนักเรียนเช่น การอ่านไม่ออก เขียนไม่ได้ รวมทั้งนักเรียนไม่มีความสนใจในเรื่องเหล่านี้ จึงทำให้นักเรียนไม่มีส่วนร่วมในกิจกรรม

           3.2 ปัญหาจากสภาพแวดล้อม การจัดกิจกรรมการเรียนการสอน เรื่อง สมุนไพรใกล้ตัว สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 ได้เน้นการเรียนจัดกิจกรรมการเรียนรู้โดยใช้แหล่งเรียนรู้และภูมิปัญญาท้องถิ่น แต่มีปัญหาเนื่องจากในการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนบางครั้งสภาพอากาศไม่อำนวย เช่น บางวันอาจจะมีฝนตกลงมาบ้าง ทำให้ไม่สามารถไปใช้แหล่งเรียนรู้และภูมิปัญญาในท้องถิ่นได้ นอกเหนือจากนี้ยังมีปัญหาในเรื่องของเวลาซึ่งการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนบางครั้งโรงเรียนมีภาระงานอื่น ๆ แทรกเข้ามา ตลอดจนการอบรม ประชุม สัมมนาของครูทำให้การจัดกิจกรรมไม่สามารถทำได้ตามที่กำหนด ตลอดจนขาดความต่อเนื่อง

7
การพัฒนาการจัดการเรียนรู้โดยใช้แหล่งเรียนรู้ท้องถิ่นเป็นฐาน เรื่อง รักษ์แม่กวง สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6
นายพิพัฒน์ แสงคำ นายประเวศน์ ศิรินิรันดร์กุล นายสมนึก บุษดาคำ นายสมหวัง ดวงปัน นางสะไบทิพย์ ยาโน นางสาวอนงนาฏ ใบแสง
ภาษาต่างประเทศ
ภาษาไทย
ศิลปะ
สุขศึกษาและพลศึกษา
ป.4
ป.5
ป.6
ม.2
  1.  เพื่อศึกษาผลการพัฒนาการจัดการเรียนรู้โดยใช้แหล่งเรียนรู้เป็นฐาน เรื่อง รักษ์แม่กวง สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6
  2.  เพื่อศึกษาความคิดเห็นของนักเรียนที่มีต่อการจัดการเรียนรู้โดยใช้แหล่งเรียนรู้เป็นฐานเรื่อง รักษ์แม่กวงสำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6
  3.  เพื่อศึกษาปัญหาและอุปสรรคการจัดการเรียนรู้โดยใช้แหล่งเรียนรู้เป็นฐานเรื่อง     รักษ์แม่กวงสำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6

บทคัดย่อ

           การวิจัยเรื่อง  การพัฒนาการจัดการเรียนรู้โดยใช้แหล่งเรียนรู้ท้องถิ่นเป็นฐาน  เรื่อง รักษ์แม่กวง  สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6  ครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลการจัดการเรียนรู้โดยใช้แหล่งเรียนรู้ท้องถิ่นเป็นฐาน เรื่อง รักษ์แม่กวง  สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6  เพื่อศึกษาความคิดเห็นของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6   ต่อการเรียนโดยใช้แหล่งเรียนรู้ท้องถิ่นเป็นฐาน เรื่อง รักษ์แม่กวง  และเพื่อศึกษาปัญหาและอุปสรรคในการจัดการเรียนรู้โดยใช้แหล่งเรียนรู้ท้องถิ่นเป็นฐาน  เรื่อง รักษ์แม่กวง  สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6   กลุ่มเป้าหมายใช้ในการวิจัย  ได้แก่  นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 โรงเรียนชลประทานผาแตก  อำเภอดอยสะเก็ด  จังหวัดเชียงใหม่  สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเชียงใหม่ เขต 1 ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2557  จำนวน 40 คน  เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษาประกอบด้วย  แผนการจัดการเรียนรู้โดยใช้แหล่งเรียนรู้ท้องถิ่น เรื่อง  รักษ์แม่กวง ในกลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย  คณิตศาสตร์ วิทยาศาสตร์  สุขศึกษาและพลศึกษา  ศิลปะ และภาษาต่างประเทศ(ภาษาอังกฤษ) ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6  จำนวน 20  แผน แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาภาษาไทย  คณิตศาสตร์ วิทยาศาสตร์  สุขศึกษาและพลศึกษา  และภาษาต่างประเทศ(ภาษาอังกฤษ)  เป็นแบบปรนัยชนิดเลือกตอบ 4 ตัวเลือก และแบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาศิลปะเป็นข้อทดสอบภาคปฏิบัติ แบบสอบถามความคิดเห็นของนักเรียน มีประเด็นคำถามสำคัญ 3 ประเด็นได้แก่     ด้านบรรยากาศ  ด้านการมีส่วนร่วม  และด้านความรู้   แบบสอบถามเกี่ยวกับปัญหาแลอุปสรรคในการจัดการเรียนรู้    สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่  ค่าร้อยละ  ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่าเฉลี่ย  และค่าความถี่   สรุปผลได้ดังนี้  

         1. ผลการจัดการเรียนรู้โดยใช้แหล่งเรียนรู้ท้องถิ่นเป็นฐานเรื่อง รักษ์แม่กวงสำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6  สรุปได้ดังนี้ คะแนนผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนโดยใช้แหล่งเรียนรู้เป็นฐาน เรื่อง  รักษ์แม่กวงของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6  โดยการเปรียบเทียบคะแนนก่อนเรียนและหลังเรียน  พบว่า  นักเรียนมีพัฒนาการทางการเรียนจำนวน 40 คน โดยมีค่าเฉลี่ยรวมร้อยละ 33.27 ส่วนคะแนนผลสัมฤทธิ์ก่อนเรียนมีค่าเฉลี่ยรวมร้อยละ 44.79 และผลสัมฤทธิ์หลังเรียนมีค่าเฉลี่ยรวมร้อยละ 78.10

         2. ความคิดเห็นของนักเรียนที่มีต่อการจัดการเรียนรู้โดยใช้แหล่งเรียนรู้ท้องถิ่นเป็นฐาน ฐาน เรื่อง  รักษ์แม่กวงของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6  ปรากฏว่า  นักเรียนมีความคิดเห็นต่อการจัดการเรียนรู้โดยใช้แหล่งเรียนรู้เป็นฐานส่วนใหญ่มีความโน้มเอียงไปในเชิงบวก และเมื่อพิจารณาในแต่ละด้านพบว่า ด้านความรู้มีค่าความถี่สูงสุด คิดเป็นร้อยละ 98.00 รองลงมาคือด้านการมีส่วนร่วม คิดเป็นร้อยละ 88.75   และด้านบรรยากาศ คิดเป็นร้อยละ 86.25     ส่วนความคิดเห็นเชิงลบมีค่าความถี่มากที่สุดด้านบรรยากาศ คิดเป็นร้อยละ 13.25    รองลงมาคือด้านการมีส่วนร่วมคิดเป็นร้อยละ 10.63

         3. ปัญหาและอุปสรรคการจัดการเรียนรู้โดยใช้แหล่งเรียนรู้ท้องถิ่นเป็นฐาน   เรื่อง รักษ์แม่กวง สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 สรุปได้ดังนี้

            3.1 ปัญหาจากตัวนักเรียน การจัดการเรียนรู้โดยใช้แหล่งเรียนรู้ท้องถิ่นเป็นฐานเรื่องรักษ์แม่กวง สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6  ภาคเรียนที่ 1  ปีการศึกษา 2557  พบว่ามีนักเรียนที่มีปัญหาด้านการเขียนและบันทึกข้อมูล จำนวน 6 คน ด้านการอ่านภาษาอังกฤษ จำนวน 8 คน เนื่องจากนักเรียนมีพื้นฐานความรู้ทางภาษาน้อย และความสนใจในการเรียนภาษาอังกฤษมีน้อย นักเรียนจำนวน 7 คน นักเรียนไม่สามารถระบุชื่อพืชและสัตว์เป็นภาษาไทย ภาษาถิ่น และภาษาอังกฤษได้ เนื่องจากไม่รู้จักมาก่อน นักเรียนจำนวน 20 คน นักเรียนไม่สามารถคำนวณหาความยาว พื้นที่  เนื่องจาก ขาดทักษะด้านการคูณและหาร มีนักเรียนที่มีปัญหาทางด้านการเรียนรู้และการคำนวณ จำนวน  5  คน เนื่องจากที่ผ่านมานักเรียนกลุ่มนี้ขาดพื้นฐานในด้านทักษะการคิดและการคำนวณในเรื่อง การบวก ลบ คูณ หาร ทศนิยม และการแก้สมการเบื้องต้น ทำให้ไม่สามารถเรียนรู้ได้เท่าเทียมกับเพื่อนนักเรียนปกติได้ จากการสอบถามความคิดเห็นของนักเรียนพบว่าสิ่งที่นักเรียนไม่เข้าใจคือนักเรียนไม่สามารถเขียนค่าสัดส่วนจากโจทย์ปัญหาต่าง ๆ ได้  และ เมื่อเขียนค่าสัดส่วนแล้ว นักเรียนไม่สามารถแก้สมการ และ คูณกับหารทศนิยมได้

              3.2 ปัญหาจากสภาพแวดล้อม การจัดกิจกรรมการเรียนการสอน เรื่อง รักษ์แม่กวง ได้เน้นการเรียนจัดกิจกรรมการเรียนรู้โดยใช้แหล่งเรียนรู้และภูมิปัญญาท้องถิ่น แต่มีปัญหาเนื่องจากสภาพของพื้นที่มีความลาดชัน และมีหญ้ารก อากาศร้อนอบอ้าว นักเรียนต้องใช้ความระมัดระวังในการเดินสำรวจและทำกิจกรรมการเรียนรู้เนื่องจากมีเศษขยะจากการก่อสร้าง เศษไม้ เศษอิฐ เศษแก้ว กิ่งไม้และพงหนาม  ถูกรบกวนจากแมลงและสัตว์ขณะทำกิจกรรมการเรียนรู้

               3.3 ปัญหาอื่น ๆ ขณะทำกิจกรรมนักเรียนบางส่วนให้ความร่วมมือน้อย ชอบเล่นสนุก ๆ และชอบหยอกล้อผู้อื่น นักเรียนบางคนเดินเร็วเกินไปไม่สนใจที่จะเรียนรู้และทำงานร่วมกับเพื่อน  การเดินทางไปลำน้ำแม่กวงต้องใช้เวลาค่อนข้างมาก ทำให้นักเรียนเหนื่อยล้าและกระหายน้ำ

8
ผลการจัดการเรียนรู้โดยใช้แหล่งเรียนรู้เป็นฐาน เรื่อง วิถีชีวิตลุ่มน้ำกวง สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1
แพรวพรรณ จันทะแจ้ง กร กาญจน์กนกพร อรุณ นำโชคชัยเจริญกุล สมพงษ์ ขนมหวาน
ภาษาต่างประเทศ
ภาษาไทย
ศิลปะ
สุขศึกษาและพลศึกษา
คณิตศาสตร์
วิทยาศาสตร์
สังคม
ป.4
ป.5
ป.6
ม.1
ม.2
ม.3
  1. เพื่อศึกษาผลการพัฒนาการจัดการเรียนรู้โดยใช้แหล่งเรียนรู้เป็นฐานเรื่อง วิถีชีวิตลุ่มน้ำกวงสำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1

     2. เพื่อการศึกษาความคิดเห็นที่มีต่อการจัดการเรียนรู้โดยใช้แหล่งเรียนรู้เป็นฐานเรื่อง    วิถีชีวิตลุ่มน้ำ                กวง  สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1

บทคัดย่อ

                   รายงานผลการจัดการเรียนรู้โดยใช้แหล่งเรียนรู้เป็นฐาน เรื่องวิถีชีวิตลุ่มน้ำกวงสำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลการพัฒนาการจัดการเรียนรู้โดยใช้แหล่งเรียนรู้เป็นฐาน เรื่อง วิถีชีวิตลุ่มน้ำกวง สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1  และศึกษาความคิดเห็นที่มีต่อการจัดการเรียนรู้โดยใช้แหล่งเรียนรู้เป็นฐาน เรื่องวิถีชีวิตลุ่มน้ำกวงสำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 กลุ่มเป้าหมายที่ใช้คือนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 ภาคเรียนที่ 1ปีการศึกษา 2557 จำนวน 43 คน โดยแบ่งเป็นนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1/1 จำนวน 21 คน นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1/2 จำนวน 22 คน เนื้อหาที่ใช้ในการศึกษา คือการจัดการเรียนรู้โดยใช้ฐานข้อมูลภูมิปัญญาและแหล่งเรียนรู้โรงเรียนชลประทานผาแตก เรื่อง เขื่อนแม่กวงอุดมธารา  เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษาประกอบด้วยแผนการจัดการเรียนรู้กลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษา  ศาสนา  และวัฒนธรรม จำนวน 3 แผน  แผนการจัดการเรียนรู้กลุ่มสาระการเรียนรู้ศิลปะ จำนวน 1 แผน แผนการจัดการเรียนรู้สาระประวัติศาสตร์ จำนวน 1 แผน แผนการจัดการเรียนรู้กลุ่มสาระการเรียนรู้สุขศึกษาและพลศึกษา จำนวน 1 แผน  แบบทดสอบก่อนเรียนและหลังเรียนเป็นแบบเลือกตอบ 4 ตัวเลือก จำนวน 40 ข้อ แบบสอบถามความคิดเห็นของครูและนักเรียน ใช้ค่าสถิติได้แก่ค่าร้อยละ และการวิเคราะห์หาค่าความสอดคล้อง

                   ผลการจัดการเรียนรู้โดยใช้แหล่งเรียนรู้และภูมิปัญญาท้องถิ่นเป็นฐานเรื่องวิถีชีวิตลุ่มน้ำกวง สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1สรุปได้ดังนี้

                   1. คะแนนผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนเรื่อง วิถีชีวิตลุ่มน้ำกวงสาระการเรียนรู้สังคมศึกษา  ศาสนา และวัฒนธรรม  สาระประวัติศาสตร์  สาระการเรียนรู้สุขศึกษาและพลศึกษา  สาระการเรียนรู้ศิลปะ

ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 โดยการเปรียบเทียบคะแนนก่อนเรียนและหลังเรียน พบว่านักเรียนมีพัฒนาการทางการเรียนจำนวน 43 คน ส่วนคะแนนผลสัมฤทธิ์ก่อนเรียนมีค่าเฉลี่ยรวม ร้อยละ 53.36 และคะแนนผลสัมฤทธิ์หลังเรียนมีค่าเฉลี่ยรวม ร้อยละ 78.13

                   2. ความคิดเห็นของนักเรียนที่มีต่อการจัดการเรียนรู้โดยใช้แหล่งเรียนรู้เป็นฐาน ด้านบรรยากาศพบว่าผู้เรียนมีความสนุกสนานจำนวนมากที่สุดโดยมีค่าเฉลี่ยร้อยละ 30.23  ด้านการมีส่วนร่วมนักเรียนได้ร่วมกิจกรรมทุกคนมีจำนวน  อยู่ในระดับมากที่สุด คิดเป็นร้อยละ 55.81 และด้านความรู้ นักเรียนได้รับความรู้เรื่อง ทำเลที่ตั้งและสิ่งแวดล้อมใหม่ที่เกิดขึ้นในชุมชนมีระดับมากที่สุด คิดเป็นร้อยละ 44.19

9
การพัฒนาการจัดการเรียนรู้โดยใช้แหล่งเรียนรู้ท้องถิ่นเป็นฐาน เรื่อง ทำมาหากินถิ่นบ้านเราสำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2
ภูมิศักดิ์ จอมธิ พรทิพย์ สารทะวงษ์ ณัฐพงค์ เตจ๊ะนัง นวรัตน์ บุญเกิดไวย์
ภาษาต่างประเทศ
ภาษาไทย
ศิลปะ
สุขศึกษาและพลศึกษา
คณิตศาสตร์
วิทยาศาสตร์
สังคม
ป.4
ป.5
ป.6
ม.1
ม.2
ม.3
  1. เพื่อศึกษาผลการพัฒนาการจัดการเรียนรู้โดยใช้แหล่งเรียนรู้และภูมิปัญญาท้องถิ่นเป็นฐานเรื่องทำมาหากินถิ่นบ้านเราสำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2
  2. เพื่อศึกษาปัญหาและอุปสรรคการจัดการเรียนรู้โดยใช้แหล่งเรียนรู้และภูมิปัญญาท้องถิ่นเป็นฐานเรื่องทำมาหากินถิ่นบ้านเราสำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2

บทคัดย่อ 

          ผลการจัดการเรียนรู้โดยใช้แหล่งเรียนรู้เป็นฐานเรื่องทำมาหากินถิ่นบ้านเรา สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 สรุปได้ดังนี้

          1.คะแนนผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนเรื่อง การอ่านจับใจความสำคัญ, การเขียนบรรยาย, การเขียนเรียงความ สาระการเรียนรู้ภาษาไทย ของนักเรียนชั้น มัธยมศึกษาปีที่ 2 โดยการเปรียบเทียบคะแนนก่อนเรียนและหลังเรียน พบว่านักเรียนชั้น  ม.2/1 มีพัฒนาการทางการเรียนจำนวน 29 คน และ ไม่มีพัฒนาการทางการเรียนจำนวน -  คน ส่วน คะแนนผลสัมฤทธิ์ก่อนเรียนมีค่าเฉลี่ยร้อยละ 38.28 และผลสัมฤทธิ์หลังเรียนมีค่าเฉลี่ยร้อยละ 78.62 ส่วนนักเรียนชั้น ม.2/2 มีพัฒนาการทางการเรียนจำนวน 28 คน และ ไม่มีพัฒนาการทางการเรียนจำนวน -  คน ส่วน คะแนนผลสัมฤทธิ์ก่อนเรียนมีค่าเฉลี่ยร้อยละ 39.64 และผลสัมฤทธิ์หลังเรียนมีค่าเฉลี่ยร้อยละ 76.79

           2. คะแนนผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนเรื่อง การวาดภาพสื่อความหมาย สาระการเรียนรู้ ศิลปะ ของนักเรียนชั้น มัธยมศึกษาปีที่ 2 โดยการเปรียบเทียบคะแนนก่อนเรียนและหลังเรียน พบว่านักเรียนชั้น  ม.2/1 มีพัฒนาการทางการเรียนจำนวน 29 คน และ ไม่มีพัฒนาการทางการเรียนจำนวน -  คน ส่วน คะแนนผลสัมฤทธิ์ก่อนเรียนมีค่าเฉลี่ยร้อยละ 38.28 และผลสัมฤทธิ์หลังเรียนมีค่าเฉลี่ยร้อยละ 75.86 ส่วนนักเรียนชั้น ม.2/2 มีพัฒนาการทางการเรียนจำนวน 28 คน และ ไม่มีพัฒนาการทางการเรียนจำนวน -  คน ส่วน คะแนนผลสัมฤทธิ์ก่อนเรียนมีค่าเฉลี่ยร้อยละ 36.43 และผลสัมฤทธิ์หลังเรียนมีค่าเฉลี่ยร้อยละ 66.79

            3. คะแนนผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนเรื่อง ประเพณีชุมชนลุ่มน้ำกวง สาระการเรียนรู้การงานอาชีพและเทคโนโลยี ของนักเรียนชั้น มัธยมศึกษาปีที่ 2 โดยการเปรียบเทียบคะแนนก่อนเรียนและหลังเรียน พบว่านักเรียนชั้น  ม.2/1 มีพัฒนาการทางการเรียนจำนวน 28 คน และ ไม่มีพัฒนาการทางการเรียนจำนวน 1  คน ส่วน คะแนนผลสัมฤทธิ์ก่อนเรียนมีค่าเฉลี่ยร้อยละ 49.66 และผลสัมฤทธิ์หลังเรียนมีค่าเฉลี่ยร้อยละ 77.59 ส่วนนักเรียนชั้น ม.2/2 มีพัฒนาการทางการเรียนจำนวน 28 คน และ ไม่มีพัฒนาการทางการเรียนจำนวน -  คน ส่วน คะแนนผลสัมฤทธิ์ก่อนเรียนมีค่าเฉลี่ยร้อยละ 56.43 และผลสัมฤทธิ์หลังเรียนมีค่าเฉลี่ยร้อยละ 80.71

             4.  คะแนนผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนเรื่อง อาชีพบ้านเรา สาระการเรียนรู้ภาษาจีน ของนักเรียนชั้น มัธยมศึกษาปีที่ 2 โดยการเปรียบเทียบคะแนนก่อนเรียนและหลังเรียน พบว่านักเรียนชั้น  ม.2/1 มีพัฒนาการทางการเรียนจำนวน 29 คน และ ไม่มีพัฒนาการทางการเรียนจำนวน -  คน ส่วน คะแนนผลสัมฤทธิ์ก่อนเรียนมีค่าเฉลี่ยร้อยละ 58.28และผลสัมฤทธิ์หลังเรียนมีค่าเฉลี่ยร้อยละ 77.59 ส่วนนักเรียนชั้น ม.2/2 มีพัฒนาการทางการเรียนจำนวน 28 คน และ ไม่มีพัฒนาการทางการเรียนจำนวน -  คน ส่วน คะแนนผลสัมฤทธิ์ก่อนเรียนมีค่าเฉลี่ยร้อยละ 45.71 และผลสัมฤทธิ์หลังเรียนมีค่าเฉลี่ยร้อยละ 65.71

10
ผลการจัดการเรียนรู้โดยใช้แหล่งเรียนรู้ท้องถิ่นเป็นฐาน เรื่อง แม่กวงศึกษากับป่าชุมชน สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3
เกศรินทร์ ลอรักษา ภัทรภร วงศ์แก้ว พัชรา ช้างเนียม
คณิตศาสตร์
ภาษาไทย
วิทยาศาสตร์
ศิลปะ
สังคม
ภาษาต่างประเทศ
ป.6
ม.1
ม.2
ม.3
ป.1
ป.2
ป.3
ป.4
ป.5
  1. เพื่อศึกษาผลการจัดการเรียนรู้โดยใช้แหล่งเรียนรู้เป็นฐานเรื่องแม่กวงศึกษากับป่าชุมชนสำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3
  2. เพื่อศึกษาปัญหาและอุปสรรคการจัดการเรียนรู้โดยใช้แหล่งเรียนรู้เป็นฐานเรื่องแม่กวงศึกษากับป่าชุมชนสำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3

บทคัดย่อ

           การวิจัยครั้งนี้ผู้วิจัยมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลการจัดการเรียนรู้โดยใช้แหล่งเรียนรู้ท้องถิ่นเป็นฐาน และศึกษาปัญหาและอุปสรรคการจัดการเรียนรู้โดยใช้แหล่งเรียนรู้เป็นฐานเรื่อง แม่กวงศึกษากับป่าชุมชนสำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ผลการวิจัยสรุปได้ดังนี้

                   1.  ผลการจัดการเรียนรู้โดยใช้แหล่งเรียนรู้เป็นฐานเรื่องแม่กวงศึกษากับป่าชุมชนสำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 สรุปได้ดังนี้

                          1.1 คะแนนผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนเรื่อง Fun with Mae Khuang Dam กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาต่างประเทศ(ภาษาอังกฤษ) ของนักเรียนชั้น มัธยมศึกษาปีที่ 3 โดยการเปรียบเทียบคะแนนก่อนเรียนและหลังเรียน พบว่านักเรียนชั้น  ม.3/1 มีพัฒนาการทางการเรียนจำนวน 29 คน และ ไม่มีพัฒนาการทางการเรียนจำนวน -  คน ส่วน คะแนนผลสัมฤทธิ์ก่อนเรียนมีค่าเฉลี่ยร้อยละ 37.93 และผลสัมฤทธิ์หลังเรียนมีค่าเฉลี่ยร้อยละ 74.83 ส่วนนักเรียนชั้น ม.3/2 มีพัฒนาการทางการเรียนจำนวน 29 คน และ ไม่มีพัฒนาการทางการเรียนจำนวน -  คน ส่วน คะแนนผลสัมฤทธิ์ก่อนเรียนมีค่าเฉลี่ยร้อยละ 50.34 และผลสัมฤทธิ์หลังเรียนมีค่าเฉลี่ยร้อยละ 80.00

                           คะแนนผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนเรื่อง ระบบนิเวศ สาระการเรียนรู้ วิทยาศาสตร์ ของนักเรียนชั้น มัธยมศึกษาปีที่ 3 โดยการเปรียบเทียบคะแนนก่อนเรียนและหลังเรียน พบว่านักเรียนชั้น  ม.3/1 มีพัฒนาการทางการเรียนจำนวน 29 คน และ ไม่มีพัฒนาการทางการเรียนจำนวน -  คน ส่วน คะแนนผลสัมฤทธิ์ก่อนเรียนมีค่าเฉลี่ยร้อยละ 34.83 และผลสัมฤทธิ์หลังเรียนมีค่าเฉลี่ยร้อยละ 82.07 ส่วนนักเรียนชั้น ม.3/2 มีพัฒนาการทางการเรียนจำนวน 29 คน และ ไม่มีพัฒนาการทางการเรียนจำนวน -  คน ส่วน คะแนนผลสัมฤทธิ์ก่อนเรียนมีค่าเฉลี่ยร้อยละ 32.41 และผลสัมฤทธิ์หลังเรียนมีค่าเฉลี่ยร้อยละ 75.86

                           คะแนนผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนเรื่อง ความคล้าย สาระการเรียนรู้ คณิตศาสตร์ ของนักเรียนชั้น มัธยมศึกษาปีที่ 3 โดยการเปรียบเทียบคะแนนก่อนเรียนและหลังเรียน พบว่านักเรียนชั้น  ม.3/1 มีพัฒนาการทางการเรียนจำนวน 29 คน และ ไม่มีพัฒนาการทางการเรียนจำนวน -  คน ส่วน คะแนนผลสัมฤทธิ์ก่อนเรียนมีค่าเฉลี่ยร้อยละ 34.83 และผลสัมฤทธิ์หลังเรียนมีค่าเฉลี่ยร้อยละ 80.69 ส่วนนักเรียนชั้น ม.3/2 มีพัฒนาการทางการเรียนจำนวน 29 คน และ ไม่มีพัฒนาการทางการเรียนจำนวน -  คน ส่วน คะแนนผลสัมฤทธิ์ก่อนเรียนมีค่าเฉลี่ยร้อยละ 34.14 และผลสัมฤทธิ์หลังเรียนมีค่าเฉลี่ยร้อยละ 70.03

                          1.2  นักเรียนมีความคิดเห็นต่อการจัดการเรียนรู้โดยใช้แหล่งเรียนรู้เป็นฐานมีความน้อมเอียงไปในเชิงบวกมากกว่าเชิงลบ หากพิจารณาในรายละเอียดพบว่า ด้านบรรยากาศ ความคิดเห็นที่ว่ามีความสนุกสนานในการเรียนแหล่งเรียนรู้จริง มีค่าความถี่สูงสุด (45 คน) คิดเป็น ร้อยละ 77.59  ด้านการมีส่วนร่วม ความคิดเห็นที่ว่ามีนักเรียนได้ร่วมกิจกรรมทุกคนมีความถี่สูงสุด (42 คน) คิดเป็น ร้อยละ 72.41 และด้านความรู้ ความคิดเห็นที่ว่าได้รับความรู้เรื่องประวัติของเขื่อนแม่กวงอุดมธารา มีความถี่สูงสุด (40 คน) คิดเป็น ร้อยละ 68.97  และจากการตอบแบบสอบถามค่าเฉลี่ยของจำนวนนักเรียนที่ตอบแบบสอบถามทั้งหมด 58 คน พบว่าด้านความรู้ มีค่าเฉลี่ยสูงสุดคือ ร้อยละ 46.19 รองมาคือ ด้านการมีส่วนร่วม คิดเป็น ร้อยละ 42.24 และด้านบรรยากาศ คิดเป็นร้อยละ 31.18

                  2. ปัญหาและอุปสรรคการจัดการเรียนรู้โดยใช้แหล่งเรียนรู้เป็นฐาน เรื่อง แม่กวงศึกษากับป่าชุมชนสำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3ในภาคเรียนที่ 1 /2557 สรุปได้ดังนี้

                          2.1 ปัญหาจากตัวนักเรียน การจัดการเรียนรู้โดยใช้แหล่งเรียนรู้เป็นฐานเรื่องแม่กวงศึกษากับป่าชุมชนสำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3พบว่าสิ่งที่เป็นปัญหาคือ นักเรียนมีปัญหาด้านการอ่านภาษาอังกฤษ จำนวน 6 คน เนื่องจากพื้นฐานความรู้ของนักเรียน และความสนใจในการเรียนภาษาอังกฤษมีน้อย นักเรียนจำนวน 7 คนศึกษาระบบนิเวศ พบสิ่งมีชีวิตบางชนิดที่ไม่สามารถระบุชื่อได้ เนื่องจากไม่รู้จักมาก่อน นักเรียนจำนวน 3 คนไม่สามารถคำนวณหาพลังงานที่ได้จากการถ่ายทอดพลังงานในระบบนิเวศ เนื่องจาก ขาดทักษะด้านการคูณและหาร มีนักเรียนที่มีปัญหาทางด้านการเรียนรู้และการคำนวณ จำนวน 5 คน เนื่องจากที่ผ่านมานักเรียนกลุ่มนี้ขาดพื้นฐานในด้านทักษะการคิดและการคำนวณในเรื่อง การบวก ลบ คูณ หาร ทศนิยม และการแก้สมการเบื้องต้น ทำให้ไม่สามารถเรียนรู้ได้เท่าเทียมกับเพื่อนนักเรียนปกติได้ จากการสอบถามความคิดเห็นของนักเรียนพบว่าสิ่งที่นักเรียนไม่เข้าใจคือนักเรียนไม่สามารถเขียนค่าสัดส่วนจากโจทย์ปัญหาต่างๆได้  และ เมื่อเขียนค่าสัดส่วนแล้ว นักเรียนไม่สามารถแก้สมการ และ คูณกับหารทศนิยมได้ 

                           2.2  ปัญหาจากสภาพแวดล้อม การจัดกิจกรรมการเรียนการสอนเรื่องแม่กวงศึกษากับป่าชุมชนสำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 สาระการเรียนรู้ภาษาต่างประเทศ (ภาษาอังกฤษ) วิทยาศาสตร์ คณิตศาสตร์ ได้เน้นการเรียนจัดกิจกรรมการเรียนรู้โดยใช้แหล่งเรียนรู้ เขื่อนแม่กวงอุดมธารา และป่าชุมชน แต่มีปัญหาเนื่องจากในการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนเรื่อง ความคล้าย สาระการเรียนรู้ คณิตศาสตร์ได้เน้นการเรียนจัดกิจกรรมการเรียนรู้โดยใช้แหล่งเรียนรู้ แต่มีปัญหาเนื่องจากการวัดความสูงของต้นไม้บางต้นอาจจะคลาดเคลื่อนเนื่องจากพื้นดินมีความลาดเอียง ไม่สม่ำเสมอกัน ในการศึกษาระบบนิเวศ นักเรียนไม่สามารถเข้าไปศึกษาได้ในพื้นที่ที่มีความลาดชัน และทุ่งหญ้ารก และนักเรียนต้องระมัดระวังอุบัติเหตุที่จะเกิดขึ้นขณะสำรวจระบบนิเวศเพราะมีเศษแก้วแตก


Untitled Document
สงวนลิขสิทธิ์โดย มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่ และโรงเรียนชลประทานผาแตก
เว็บไซต์นี้เหมาะสำหรับการใช้งาน Internet Explorer เวอร์ชั่น 8 ขนาดหน้าจอ 1024 x 768 pixels