การพัฒนาครูในการสร้างฐานข้อมูลแหล่งเรียนรู้และภูมิปัญญาท้องถิ่นเพื่อยกระดับคุณภาพการสอน

- ข้อมูลผลการใช้แหล่งเรียนรู้และภูมิปัญญาท้องถิ่น-
---------------------------------------------------------------------------
ชื่อแหล่งเรียนรู้ ::
กลุ่มสาระการเรียนรู้::
  ภาษาต่างประเทศ
  ภาษาไทย
  ศิลปะ
  สุขศึกษาและพลศึกษา
ชั้นปี::
  ป.4   ป.5   ป.6   ม.2
ชื่อผลงานวิจัย ::
  การพัฒนาการจัดการเรียนรู้โดยใช้แหล่งเรียนรู้ท้องถิ่นเป็นฐาน เรื่อง รักษ์แม่กวง สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6
ชื่อผู้วิจัย ::
  นายพิพัฒน์ แสงคำ นายประเวศน์ ศิรินิรันดร์กุล นายสมนึก บุษดาคำ นายสมหวัง ดวงปัน นางสะไบทิพย์ ยาโน นางสาวอนงนาฏ ใบแสง
วัตถุประสงค์ ::
  
  1.  เพื่อศึกษาผลการพัฒนาการจัดการเรียนรู้โดยใช้แหล่งเรียนรู้เป็นฐาน เรื่อง รักษ์แม่กวง สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6
  2.  เพื่อศึกษาความคิดเห็นของนักเรียนที่มีต่อการจัดการเรียนรู้โดยใช้แหล่งเรียนรู้เป็นฐานเรื่อง รักษ์แม่กวงสำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6
  3.  เพื่อศึกษาปัญหาและอุปสรรคการจัดการเรียนรู้โดยใช้แหล่งเรียนรู้เป็นฐานเรื่อง     รักษ์แม่กวงสำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6
บทคัดย่อ ::
  

บทคัดย่อ

           การวิจัยเรื่อง  การพัฒนาการจัดการเรียนรู้โดยใช้แหล่งเรียนรู้ท้องถิ่นเป็นฐาน  เรื่อง รักษ์แม่กวง  สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6  ครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลการจัดการเรียนรู้โดยใช้แหล่งเรียนรู้ท้องถิ่นเป็นฐาน เรื่อง รักษ์แม่กวง  สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6  เพื่อศึกษาความคิดเห็นของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6   ต่อการเรียนโดยใช้แหล่งเรียนรู้ท้องถิ่นเป็นฐาน เรื่อง รักษ์แม่กวง  และเพื่อศึกษาปัญหาและอุปสรรคในการจัดการเรียนรู้โดยใช้แหล่งเรียนรู้ท้องถิ่นเป็นฐาน  เรื่อง รักษ์แม่กวง  สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6   กลุ่มเป้าหมายใช้ในการวิจัย  ได้แก่  นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 โรงเรียนชลประทานผาแตก  อำเภอดอยสะเก็ด  จังหวัดเชียงใหม่  สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเชียงใหม่ เขต 1 ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2557  จำนวน 40 คน  เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษาประกอบด้วย  แผนการจัดการเรียนรู้โดยใช้แหล่งเรียนรู้ท้องถิ่น เรื่อง  รักษ์แม่กวง ในกลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย  คณิตศาสตร์ วิทยาศาสตร์  สุขศึกษาและพลศึกษา  ศิลปะ และภาษาต่างประเทศ(ภาษาอังกฤษ) ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6  จำนวน 20  แผน แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาภาษาไทย  คณิตศาสตร์ วิทยาศาสตร์  สุขศึกษาและพลศึกษา  และภาษาต่างประเทศ(ภาษาอังกฤษ)  เป็นแบบปรนัยชนิดเลือกตอบ 4 ตัวเลือก และแบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาศิลปะเป็นข้อทดสอบภาคปฏิบัติ แบบสอบถามความคิดเห็นของนักเรียน มีประเด็นคำถามสำคัญ 3 ประเด็นได้แก่     ด้านบรรยากาศ  ด้านการมีส่วนร่วม  และด้านความรู้   แบบสอบถามเกี่ยวกับปัญหาแลอุปสรรคในการจัดการเรียนรู้    สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่  ค่าร้อยละ  ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่าเฉลี่ย  และค่าความถี่   สรุปผลได้ดังนี้  

         1. ผลการจัดการเรียนรู้โดยใช้แหล่งเรียนรู้ท้องถิ่นเป็นฐานเรื่อง รักษ์แม่กวงสำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6  สรุปได้ดังนี้ คะแนนผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนโดยใช้แหล่งเรียนรู้เป็นฐาน เรื่อง  รักษ์แม่กวงของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6  โดยการเปรียบเทียบคะแนนก่อนเรียนและหลังเรียน  พบว่า  นักเรียนมีพัฒนาการทางการเรียนจำนวน 40 คน โดยมีค่าเฉลี่ยรวมร้อยละ 33.27 ส่วนคะแนนผลสัมฤทธิ์ก่อนเรียนมีค่าเฉลี่ยรวมร้อยละ 44.79 และผลสัมฤทธิ์หลังเรียนมีค่าเฉลี่ยรวมร้อยละ 78.10

         2. ความคิดเห็นของนักเรียนที่มีต่อการจัดการเรียนรู้โดยใช้แหล่งเรียนรู้ท้องถิ่นเป็นฐาน ฐาน เรื่อง  รักษ์แม่กวงของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6  ปรากฏว่า  นักเรียนมีความคิดเห็นต่อการจัดการเรียนรู้โดยใช้แหล่งเรียนรู้เป็นฐานส่วนใหญ่มีความโน้มเอียงไปในเชิงบวก และเมื่อพิจารณาในแต่ละด้านพบว่า ด้านความรู้มีค่าความถี่สูงสุด คิดเป็นร้อยละ 98.00 รองลงมาคือด้านการมีส่วนร่วม คิดเป็นร้อยละ 88.75   และด้านบรรยากาศ คิดเป็นร้อยละ 86.25     ส่วนความคิดเห็นเชิงลบมีค่าความถี่มากที่สุดด้านบรรยากาศ คิดเป็นร้อยละ 13.25    รองลงมาคือด้านการมีส่วนร่วมคิดเป็นร้อยละ 10.63

         3. ปัญหาและอุปสรรคการจัดการเรียนรู้โดยใช้แหล่งเรียนรู้ท้องถิ่นเป็นฐาน   เรื่อง รักษ์แม่กวง สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 สรุปได้ดังนี้

            3.1 ปัญหาจากตัวนักเรียน การจัดการเรียนรู้โดยใช้แหล่งเรียนรู้ท้องถิ่นเป็นฐานเรื่องรักษ์แม่กวง สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6  ภาคเรียนที่ 1  ปีการศึกษา 2557  พบว่ามีนักเรียนที่มีปัญหาด้านการเขียนและบันทึกข้อมูล จำนวน 6 คน ด้านการอ่านภาษาอังกฤษ จำนวน 8 คน เนื่องจากนักเรียนมีพื้นฐานความรู้ทางภาษาน้อย และความสนใจในการเรียนภาษาอังกฤษมีน้อย นักเรียนจำนวน 7 คน นักเรียนไม่สามารถระบุชื่อพืชและสัตว์เป็นภาษาไทย ภาษาถิ่น และภาษาอังกฤษได้ เนื่องจากไม่รู้จักมาก่อน นักเรียนจำนวน 20 คน นักเรียนไม่สามารถคำนวณหาความยาว พื้นที่  เนื่องจาก ขาดทักษะด้านการคูณและหาร มีนักเรียนที่มีปัญหาทางด้านการเรียนรู้และการคำนวณ จำนวน  5  คน เนื่องจากที่ผ่านมานักเรียนกลุ่มนี้ขาดพื้นฐานในด้านทักษะการคิดและการคำนวณในเรื่อง การบวก ลบ คูณ หาร ทศนิยม และการแก้สมการเบื้องต้น ทำให้ไม่สามารถเรียนรู้ได้เท่าเทียมกับเพื่อนนักเรียนปกติได้ จากการสอบถามความคิดเห็นของนักเรียนพบว่าสิ่งที่นักเรียนไม่เข้าใจคือนักเรียนไม่สามารถเขียนค่าสัดส่วนจากโจทย์ปัญหาต่าง ๆ ได้  และ เมื่อเขียนค่าสัดส่วนแล้ว นักเรียนไม่สามารถแก้สมการ และ คูณกับหารทศนิยมได้

              3.2 ปัญหาจากสภาพแวดล้อม การจัดกิจกรรมการเรียนการสอน เรื่อง รักษ์แม่กวง ได้เน้นการเรียนจัดกิจกรรมการเรียนรู้โดยใช้แหล่งเรียนรู้และภูมิปัญญาท้องถิ่น แต่มีปัญหาเนื่องจากสภาพของพื้นที่มีความลาดชัน และมีหญ้ารก อากาศร้อนอบอ้าว นักเรียนต้องใช้ความระมัดระวังในการเดินสำรวจและทำกิจกรรมการเรียนรู้เนื่องจากมีเศษขยะจากการก่อสร้าง เศษไม้ เศษอิฐ เศษแก้ว กิ่งไม้และพงหนาม  ถูกรบกวนจากแมลงและสัตว์ขณะทำกิจกรรมการเรียนรู้

               3.3 ปัญหาอื่น ๆ ขณะทำกิจกรรมนักเรียนบางส่วนให้ความร่วมมือน้อย ชอบเล่นสนุก ๆ และชอบหยอกล้อผู้อื่น นักเรียนบางคนเดินเร็วเกินไปไม่สนใจที่จะเรียนรู้และทำงานร่วมกับเพื่อน  การเดินทางไปลำน้ำแม่กวงต้องใช้เวลาค่อนข้างมาก ทำให้นักเรียนเหนื่อยล้าและกระหายน้ำ

รายละเอียดเพิ่มเติม ::
   
ไฟล์รายงานผลการวิจัย ::
    

Untitled Document
สงวนลิขสิทธิ์โดย มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่ และโรงเรียนชลประทานผาแตก
เว็บไซต์นี้เหมาะสำหรับการใช้งาน Internet Explorer เวอร์ชั่น 8 ขนาดหน้าจอ 1024 x 768 pixels