การพัฒนาครูในการสร้างฐานข้อมูลแหล่งเรียนรู้และภูมิปัญญาท้องถิ่นเพื่อยกระดับคุณภาพการสอน

- ข้อมูลผลการใช้แหล่งเรียนรู้และภูมิปัญญาท้องถิ่น-
---------------------------------------------------------------------------
ชื่อแหล่งเรียนรู้ ::
กลุ่มสาระการเรียนรู้::
  ภาษาต่างประเทศ
  ภาษาไทย
  ศิลปะ
  สุขศึกษาและพลศึกษา
  คณิตศาสตร์
  วิทยาศาสตร์
ชั้นปี::
  ป.4   ป.5   ป.6   ม.1   ม.2   ม.3
ชื่อผลงานวิจัย ::
  ผลการจัดการเรียนรู้โดยใช้แหล่งเรียนรู้เป็นฐาน เรื่อง วิถีชีวิตลุ่มน้ำกวง สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1
ชื่อผู้วิจัย ::
  แพรวพรรณ จันทะแจ้ง กร กาญจน์กนกพร อรุณ นำโชคชัยเจริญกุล สมพงษ์ ขนมหวาน
วัตถุประสงค์ ::
  
  1. เพื่อศึกษาผลการพัฒนาการจัดการเรียนรู้โดยใช้แหล่งเรียนรู้เป็นฐานเรื่อง วิถีชีวิตลุ่มน้ำกวงสำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1

     2. เพื่อการศึกษาความคิดเห็นที่มีต่อการจัดการเรียนรู้โดยใช้แหล่งเรียนรู้เป็นฐานเรื่อง    วิถีชีวิตลุ่มน้ำ                กวง  สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1

บทคัดย่อ ::
  

บทคัดย่อ

                   รายงานผลการจัดการเรียนรู้โดยใช้แหล่งเรียนรู้เป็นฐาน เรื่องวิถีชีวิตลุ่มน้ำกวงสำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลการพัฒนาการจัดการเรียนรู้โดยใช้แหล่งเรียนรู้เป็นฐาน เรื่อง วิถีชีวิตลุ่มน้ำกวง สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1  และศึกษาความคิดเห็นที่มีต่อการจัดการเรียนรู้โดยใช้แหล่งเรียนรู้เป็นฐาน เรื่องวิถีชีวิตลุ่มน้ำกวงสำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 กลุ่มเป้าหมายที่ใช้คือนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 ภาคเรียนที่ 1ปีการศึกษา 2557 จำนวน 43 คน โดยแบ่งเป็นนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1/1 จำนวน 21 คน นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1/2 จำนวน 22 คน เนื้อหาที่ใช้ในการศึกษา คือการจัดการเรียนรู้โดยใช้ฐานข้อมูลภูมิปัญญาและแหล่งเรียนรู้โรงเรียนชลประทานผาแตก เรื่อง เขื่อนแม่กวงอุดมธารา  เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษาประกอบด้วยแผนการจัดการเรียนรู้กลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษา  ศาสนา  และวัฒนธรรม จำนวน 3 แผน  แผนการจัดการเรียนรู้กลุ่มสาระการเรียนรู้ศิลปะ จำนวน 1 แผน แผนการจัดการเรียนรู้สาระประวัติศาสตร์ จำนวน 1 แผน แผนการจัดการเรียนรู้กลุ่มสาระการเรียนรู้สุขศึกษาและพลศึกษา จำนวน 1 แผน  แบบทดสอบก่อนเรียนและหลังเรียนเป็นแบบเลือกตอบ 4 ตัวเลือก จำนวน 40 ข้อ แบบสอบถามความคิดเห็นของครูและนักเรียน ใช้ค่าสถิติได้แก่ค่าร้อยละ และการวิเคราะห์หาค่าความสอดคล้อง

                   ผลการจัดการเรียนรู้โดยใช้แหล่งเรียนรู้และภูมิปัญญาท้องถิ่นเป็นฐานเรื่องวิถีชีวิตลุ่มน้ำกวง สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1สรุปได้ดังนี้

                   1. คะแนนผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนเรื่อง วิถีชีวิตลุ่มน้ำกวงสาระการเรียนรู้สังคมศึกษา  ศาสนา และวัฒนธรรม  สาระประวัติศาสตร์  สาระการเรียนรู้สุขศึกษาและพลศึกษา  สาระการเรียนรู้ศิลปะ

ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 โดยการเปรียบเทียบคะแนนก่อนเรียนและหลังเรียน พบว่านักเรียนมีพัฒนาการทางการเรียนจำนวน 43 คน ส่วนคะแนนผลสัมฤทธิ์ก่อนเรียนมีค่าเฉลี่ยรวม ร้อยละ 53.36 และคะแนนผลสัมฤทธิ์หลังเรียนมีค่าเฉลี่ยรวม ร้อยละ 78.13

                   2. ความคิดเห็นของนักเรียนที่มีต่อการจัดการเรียนรู้โดยใช้แหล่งเรียนรู้เป็นฐาน ด้านบรรยากาศพบว่าผู้เรียนมีความสนุกสนานจำนวนมากที่สุดโดยมีค่าเฉลี่ยร้อยละ 30.23  ด้านการมีส่วนร่วมนักเรียนได้ร่วมกิจกรรมทุกคนมีจำนวน  อยู่ในระดับมากที่สุด คิดเป็นร้อยละ 55.81 และด้านความรู้ นักเรียนได้รับความรู้เรื่อง ทำเลที่ตั้งและสิ่งแวดล้อมใหม่ที่เกิดขึ้นในชุมชนมีระดับมากที่สุด คิดเป็นร้อยละ 44.19

รายละเอียดเพิ่มเติม ::
   
ไฟล์รายงานผลการวิจัย ::
    

Untitled Document
สงวนลิขสิทธิ์โดย มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่ และโรงเรียนชลประทานผาแตก
เว็บไซต์นี้เหมาะสำหรับการใช้งาน Internet Explorer เวอร์ชั่น 8 ขนาดหน้าจอ 1024 x 768 pixels