การพัฒนาครูในการสร้างฐานข้อมูลแหล่งเรียนรู้และภูมิปัญญาท้องถิ่นเพื่อยกระดับคุณภาพการสอน

- ข้อมูลผลการใช้แหล่งเรียนรู้และภูมิปัญญาท้องถิ่น-
---------------------------------------------------------------------------
ชื่อภูมิปัญญาท้องถิ่น ::
กลุ่มสาระการเรียนรู้::
  การงานอาชีพ
  คณิตศาสตร์
  ภาษาไทย
  วิทยาศาสตร์
  สังคม
ชั้นปี::
  ป.2
ชื่อผลงานวิจัย ::
  การพัฒนาการจัดการเรียนรู้โดยใช้แหล่งเรียนรู้และภูมิปัญญาท้องถิ่นเป็นฐาน เรื่องการประดิษฐ์ดอกไม้จากผ้าใยบัว สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 2
ชื่อผู้วิจัย ::
  นางแสงบุญ เชิญธงไชย นางสาวอาทิตยา นันตะภูมิ ว่าที่ร้อยตรีหญิง ดร. อุไร ปานะโปย
วัตถุประสงค์ ::
  
  1. เพื่อศึกษาผลการพัฒนาการจัดการเรียนรู้โดยใช้แหล่งเรียนรู้และภูมิปัญญาท้องถิ่นเป็นฐานเรื่องหัตถกรรมพื้นบ้าน(การประดิษฐ์ดอกไม้จากผ้าใยบัว)สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่2
  2. เพื่อศึกษาความคิดเห็นของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่  2  ต่อการจัดการเรียนรู้โดยใช้แหล่งเรียนรู้และภูมิปัญญาท้องถิ่นเป็นฐานเรื่องหัตถกรรมพื้นบ้าน(การประดิษฐ์ดอกไม้จากผ้าใยบัว)สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่  2
บทคัดย่อ ::
  

บทคัดย่อ

           การวิจัยเรื่อง  การพัฒนาการจัดการเรียนรู้โดยใช้แหล่งเรียนรู้และภูมิปัญญาท้องถิ่นเป็นฐานเรื่องการประดิษฐ์ดอกไม้จากผ้าใยบัว สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่  2 ครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลการจัดการเรียนรู้โดยใช้แหล่งเรียนรู้ท้องถิ่นเป็นฐานเรื่อง หัตถกรรมพื้นบ้าน(การประดิษฐ์ดอกไม้จากผ้าใยบัว) สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 2  และเพื่อศึกษาความคิดเห็นของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 2 ต่อการเรียน โดยใช้แหล่งเรียนรู้ท้องถิ่นเป็นฐานเรื่อง หัตถกรรมพื้นบ้าน(การประดิษฐ์ดอกไม้จากผ้าใยบัว) กลุ่มเป้าหมายใช้ในการวิจัยได้แก่ นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 2 โรงเรียนชลประทานผาแตก  อำเภอดอยสะเก็ด  จังหวัดเชียงใหม่  สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเชียงใหม่ เขต 1  ภาคเรียนที่ 1  ปีการศึกษา 2557  จำนวน 38 คน   เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษาประกอบด้วย  แผนการจัดการเรียนรู้โดยใช้ภูมิปัญญาท้องถิ่นเป็นฐาน เรื่อง หัตถกรรมพื้นบ้าน(การประดิษฐ์ดอกไม้จากผ้าใยบัว) ชั้นประถมศึกษาปีที่ 2 จำนวน 5 แผน แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาภาษาไทย  คณิตศาสตร์ วิทยาศาสตร์  สังคมศึกษาศาสนาและวัฒนธรรม  การงานอาชีพและเทคโนโลยี  เรื่อง  การประดิษฐ์ดอกไม้จากผ้าใยบัว  เป็นแบบปรนัยชนิดเลือกตอบ 3 ตัวเลือก จำนวน 50 ข้อ   แบบสอบถามความคิดเห็นของนักเรียน มีประเด็นคำถามสำคัญ 3 ประเด็นได้แก่ ด้านบรรยากาศ  ด้านการมีส่วนร่วม  และด้านความรู้ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าร้อยละ    ค่าเฉลี่ย  และค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน  สรุปผลได้ดังนี้    

         1. คะแนนผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนเรื่องหัตถกรรมพื้นบ้าน(การประดิษฐ์ดอกไม้จากผ้าใยบัว)ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่  2  โดยการเปรียบเทียบคะแนนก่อนเรียนและหลังเรียน พบว่านักเรียนมีพัฒนาการทางการเรียนจำนวน  38  คน คะแนนผลสัมฤทธิ์ก่อนเรียนมีค่าเฉลี่ยรวม 26.74  และผลสัมฤทธิ์หลังเรียนมีค่าเฉลี่ยรวม 43.32

         2. ความคิดเห็นของนักเรียนที่มีต่อการจัดการเรียนรู้โดยใช้แหล่งเรียนรู้และภูมิปัญญาท้องถิ่นเป็นฐานเรื่องหัตถกรรมพื้นบ้าน(การประดิษฐ์ดอกไม้จากผ้าใยบัว) ด้านบรรยากาศรายการที่มีความถี่สูงสุด  คือ ได้ลงมือปฏิบัติจริง  สนุกสนาน   และตื่นเต้นกับการเรียน ตามลำดับ ด้านการมีส่วนร่วมรายงการที่มีความถี่สูงสุดคือ  ได้ทำดอกไม้  ได้ทำความสะอาด เก็บขยะหลังการทำงาน   และช่วยอธิบายให้เพื่อนตามลำดับ  ด้านความรู้รายการที่มีความถี่สูงสุดคือ  ได้รู้จักชื่อของดอกไม้ต่างๆ  ได้เรียนรู้เกี่ยวกับอุปกรณ์ในการประดิษฐ์ดอกไม้  และ ได้เรียนรู้ข้อควรระวังในการทำดอกไม้ประดิษฐ์ ตามลำดับ

รายละเอียดเพิ่มเติม ::
   
ไฟล์รายงานผลการวิจัย ::
    

Untitled Document
สงวนลิขสิทธิ์โดย มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่ และโรงเรียนชลประทานผาแตก
เว็บไซต์นี้เหมาะสำหรับการใช้งาน Internet Explorer เวอร์ชั่น 8 ขนาดหน้าจอ 1024 x 768 pixels