การพัฒนาครูในการสร้างฐานข้อมูลแหล่งเรียนรู้และภูมิปัญญาท้องถิ่นเพื่อยกระดับคุณภาพการสอน

- ข้อมูลผลการใช้แหล่งเรียนรู้และภูมิปัญญาท้องถิ่น-
---------------------------------------------------------------------------
ชื่อภูมิปัญญาท้องถิ่น ::
กลุ่มสาระการเรียนรู้::
  การงานอาชีพ
  ภาษาไทย
  วิทยาศาสตร์
  ศิลปะ
ชั้นปี::
  ป.3
ชื่อผลงานวิจัย ::
  การพัฒนาการจัดการเรียนรู้โดยใช้ภูมิปัญญาท้องถิ่นเป็นฐานเรื่องการทำพริกลาบ สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3
ชื่อผู้วิจัย ::
  อุไร ปานะโปย จุฑามาศ ไชยวงศ์ พัชรี สายพาด
วัตถุประสงค์ ::
  
  1.  ศึกษาผลการจัดการเรียนรู้โดยใช้ภูมิปัญญาท้องถิ่นเป็นฐานเรื่องการทำพริกลาบ สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3
  2.  ศึกษาความคิดเห็นของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3  ที่มีต่อการจัดการเรียนรู้โดยใช้ภูมิปัญญาท้องถิ่นเป็นฐานเรื่องการทำพริกลาบ  
บทคัดย่อ ::
  

บทคัดย่อ

          การวิจัยเรื่องการพัฒนาการจัดการเรียนรู้โดยใช้ภูมิปัญญาท้องถิ่นเป็นฐานเรื่องการทำพริกลาบ สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่  3 ครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลการจัดการเรียนรู้โดยใช้ภูมิปัญญาท้องถิ่นเป็นฐานเรื่องการทำพริกลาบ สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3  และศึกษาความคิดเห็นของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 ที่มีต่อการจัดการเรียนรู้โดยใช้ภูมิปัญญาท้องถิ่นเป็นฐานเรื่องการทำพริกลาบ  กลุ่มเป้าหมายที่ใช้ในการวิจัยได้แก่ นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 โรงเรียนชลประทานผาแตก  สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเชียงใหม่ เขต 1  ที่กำลังเรียนในภาคเรียนที่ 1  ปีการศึกษา  2557    จำนวน  48  คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยได้แก่ แผนการจัดการเรียนรู้โดยใช้ภูมิปัญญาท้องถิ่นเป็นฐานกลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย วิทยาศาสตร์  การงานพื้นฐานอาชีพและเทคโนโลยี และภาษาต่างประเทศ(ภาษาอังกฤษ)  เรื่องการทำพริกลาบ  ชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 จำนวน 4  แผน  แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนกลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย วิทยาศาสตร์ การงานพื้นฐานอาชีพและเทคโนโลยี  และภาษาต่างประเทศ(ภาษาอังกฤษ) เป็นแบบปรนัยชนิดเลือกตอบ 4 ตัวเลือกจำนวน 40  ข้อ  และแบบสอบถาม ความคิดเห็นของนักเรียน มีประเด็นคำถามสำคัญ 3 ด้านได้แก่ ด้านบรรยากาศ  ด้านการมีส่วนร่วม และด้านความรู้สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน   การทดสอบที  และการวิเคราะห์ข้อมูลเชิงคุณลักษณะ  ผลการวิจัยสรุปได้ดังนี้

         1. ผลการพัฒนาการจัดการเรียนรู้โดยใช้ภูมิปัญญาท้องถิ่นเป็นฐานเรื่องการทำพริกลาบ สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่  3  

         ผลการจัดการเรียนรู้เรื่องการทำพริกลาบ สาระการเรียนรู้ภาษาไทย  วิทยาศาสตร์ การงานอาชีพและเทคโนโลยี และภาษาต่างประเทศ (ภาษาอ้งกฤษ)ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3   พบว่านักเรียนที่ได้รับการพัฒนาการจัดเรียนการเรียนรู้โดยใช้ภูมิปัญญาท้องถิ่นเป็นฐานเรื่องการทำ     พริกลาบ มีพัฒนาการทั้งโดยภาพรวมและรายห้อง โดยภาพรวมมีค่าเฉลี่ยรวมของคะแนนร้อยละ 44.80   และหลังเรียนมีค่าเฉลี่ยรวมของคะแนนร้อยละ 73.70  เมื่อพิจารณาเป็นรายห้องพบว่า นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3/1  ทุกคนมีพัฒนาการ โดยมีค่าเฉลี่ยรวมของคะแนนก่อนเรียนร้อยละ 52.12 และค่าเฉลี่ยรวมของคะแนนหลังเรียนร้อยละ 76.85   และนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3/2   ทุกคนมีพัฒนาการ โดยโดยมีค่าเฉลี่ยรวมของคะแนนก่อนเรียนร้อยละ 44.88   และค่าเฉลี่ยรวมของคะแนนหลังเรียนร้อยละ 73.70 

         2. ผลการศึกษาความคิดเห็นของนักเรียนที่มีต่อการจัดการเรียนรู้โดยใช้แหล่งเรียนรู้และภูมิปัญญาท้องถิ่นเป็นฐาน เรื่องการทำพริกลาบ

          ผลการศึกษาความคิดเห็นของนักเรียนที่มีต่อการจัดการเรียนรู้โดยใช้แหล่งเรียนรู้และภูมิปัญญาท้องถิ่นเป็นฐาน เรื่องการทำพริกลาบ  สรุปได้ 3 ด้าน ดังนี้

            1) ด้านความรู้สึก  พบว่า นักเรียนสนุก  ได้เห็นการปฏิบัติจริง  และสบายใจ คิดเป็นร้อยละ 32.94, 11.75  และ10.59  ตามลำดับ 

             2) ด้านการมีส่วนร่วม พบว่านักเรียนมีส่วนร่วมในการตอบคำถาม  ได้ร่วมสังเกตการทำ  และได้ช่วยยกของคิดเป็นร้อยละ  34.15,  33.33 และ11.38  ตามลำดับ

             3) ด้านความรู้ พบว่านักเรียนได้ความรู้เรื่องการทำน้ำพริก  เรียนแล้วเข้าใจ และได้รู้ส่วนผสมของน้ำพริก  คิดเป็นร้อยละ 22.93,  18.47   และ  15.29 ตามลำดับ

รายละเอียดเพิ่มเติม ::
   
ไฟล์รายงานผลการวิจัย ::
    

Untitled Document
สงวนลิขสิทธิ์โดย มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่ และโรงเรียนชลประทานผาแตก
เว็บไซต์นี้เหมาะสำหรับการใช้งาน Internet Explorer เวอร์ชั่น 8 ขนาดหน้าจอ 1024 x 768 pixels