การพัฒนาครูในการสร้างฐานข้อมูลแหล่งเรียนรู้และภูมิปัญญาท้องถิ่นเพื่อยกระดับคุณภาพการสอน

- ข้อมูลภูมิปัญญาท้องถิ่น-
---------------------------------------------------------------------------
ชื่อภูมิปัญญาท้องถิ่น ::
อาหารพื้นเมือง
ชื่อ-นามสกุล เจ้าของภูมิปัญญาท้องถิ่น ::
นางเกษร บุญถึง
วัน/เดือน/ปีเกิด เจ้าของภูมิปัญญาท้องถิ่น ::
21 กรกฎาคม 2501
เบอร์โทรศัพท์ ::
086 - 9120073
ชื่อ-นามสกุล ผู้เก็บข้อมูล ::
นางจุฑามาศ ไชยวงศ์,นางสาวชเนตตี พิชัย,นางสาววันทนีย์ สิงห์แก้ว
ประเภทภูมิปัญญาท้องถิ่น ::
ด้านโภชนาการ
ที่ตั้ง / ที่อยู่ ::
96 หมู่ที่ 3 บ้านเมืองวะ ตำบลลวงเหนือ อำเภอดอยสะเก็ด จังหวัดเชียงใหม่
แผนที่ ::

การเดินทาง ::
ระยะทางห่างจากโรงเรียนประมาณ 3 กิโลเมตร การเดินทางสะดวก
ประวัติการศึกษาและการอบรม ::

ประวัติการศึกษา
- เรียนจบชั้นปะถมศึกษาปีที่ 4 จากโรงเรียนบ้านเมืองวะ(ผดุงเวศน์) 
ประวัติการอบรม
- อบรมหลักสูตรวิชาสุขาภิบาลอาหาร  จากเทศบาลนครเชียงใหม่

ปัจจุบันดำรงตำแหน่ง ::
แม่ครัวประจำโรงเรียนชลประทานผาแตก และอาชีพเสริมคือ การทำน้ำพริกลาบของกลุ่มแม่บ้านเมืองวะ ตำบลลวงเหนือ อำเภอดอยสะเก็ด จังหวัดเชียงใหม่
ผลงานและความภาคภูมิใจ ::

- ได้ถ่ายทอดความรู้การทำอาหารพื้นเมืองให้กับนักเรียน นักศึกษาและบุคคลที่สนใจ
- ได้รับรางวัลชนะเลิศการแข่งขันยำจิ้นไก่เมือง น้ำพริกหนุ่ม จากเทศบาลตำบลลวงเหนือ 

องค์ความรู้ของภูมิปัญญา ::

     นางเกษร   บุญถึง มีทักษะในการทำอาหารทั้งอาหารพื้นเมืองและอาหารไทย ได้อย่างหลากหลาย ในที่นี้ขอนำเสนออาหาร 2 ชนิด ได้แก่ น้ำพริกลาบ และแกงฮังเลเป็นต้น โดยมีรายละเอียดดังนี้
1.พริกลาบ
     พริกลาบ หรือน้ำพริกลาบ หรือบ้างเรียกว่า น้ำพริกดำ เพราะมีสีดำของพริกแห้งย่างไป พริกลาบใช้เป็นเครื่องยำลาบ หรือ เครื่องปรุงลาบ และยำต่างๆ เช่น ยำจิ้นไก่ ยำกบ ยำเห็ดฟาง ปัจจุบันมีผู้ทำขาย หาซื้อได้ตามตลาดสด
         1.1 ส่วนผสม
    1) พริกแห้ง                      ½     กิโลกรัม
    2) เมล็ดผักชี                     2     ช้อนโต๊ะ
    3) มะแขว่น                        2    ช้อนโต๊ะ
    4) เทียนข้าวเปลือก            2    ช้อนโต๊ะ
    5) มะแหลบ                       2    ช้อนโต๊ะ
    6) ดีปลี                             20  ลูก
    7) พริกไทยดำ                   ½   กิโลกรัม
    8) ก้านพลู                         1   ช้อนชา
    9) โป๊ยกั๊ก                         1   ช้อนโต๊ะ
   10) เปราะหอม                    2   ช้อนโต๊ะ
   11) ลูกจันทน์เทศ                4   ลูก
   12) ดอกจันทน์เทศ             4   ดอก
   13) อบเชย                         3   ชิ้น
   14) กระวาน                        1   ช้อนโต๊ะ
   15) เกลือป่น                       1   ช้อนโต๊ะ

1.2 ขั้นตอนการทำพริกลาบ
     1) นำพริกแห้งสีสันสดใสที่เตรียมไว้แล้วมาคั่วไฟอ่อน และตำให้ละเอียด

         

   2) คั่วเครื่องเทศ   โดยคั่วเครื่องเทศที่สุกยากก่อน ได้แก่ ลูกจันทน์เทศ ดีปลี อบเชย โป๊ยกั๊ก กระวาน และเปราะหอม ใช้ไฟอ่อน พอมีกลิ่นหอม  ใส่เครื่องเทศที่เหลือลงคั่วด้วยกัน จนมีกลิ่นหอม พักไว้ให้เย็น

         
     3) โขลกเครื่องเทศทั้งหมดรวมกันให้ละเอียด

          
     4) นำเครื่องเทศสมุนไพรต่าง ๆ ที่ตำอย่างละเอียดแล้วนะมาผสมกับพริกแห้งที่ตำเตรียมไว้แล้ว ถ้าหากจะนำเอาไปใส่ลาบหรือยำไก่ก็ให้ผสมขิงและกระเทียม ผสมให้เข้ากัน

                      

5) คั่วไปเรื่อย ๆ ค่อย ๆ คน จนน้ำพริกลาบมีกลิ่นหอมและก็ปิดไฟ รอจนเย็นแล้วก็บรรจุลงผลิตภัณฑ์

            

2.แกงฮังเล 
     แกงฮังเลจัดว่าเป็นอาหารยอดนิยมอันดับต้น ๆ ของชาวล้านนาถือว่าเป็นอาหารมงคลชนิดหนึ่ง อีกทั้งยังมีต้นทุนในการผลิตค่อนข้างสูงชาวบ้านจึงนิยมนำไปถวายพระเนื่องในโอกาสวันสำคัญ ๆ ทางพุทธศาสนาตั้งแต่ครั้งอดีตจนถึงยุคปัจจุบัน
     2.1 ส่วนผสม
     1) เนื้อสันคอหมู        300     กรัม
     2) เนื้อหมูสามชั้น      200     กรัม
     3) น้ำอ้อยป่น            2        ช้อนโต๊ะ
     4) น้ำมะขามเปียก     3        ช้อนโต๊ะ
     5) ขิงซอย               1/2     ถ้วย
     6) กระเทียม             1/2    ถ้วย
     7) ถั่วลิสงคั่ว             2      ช้อนโต๊ะ
     8) สับปะรด               2      ช้อนโต๊ะ
     9) ผงฮังเล                2      ช้อนโต๊ะ
2.2 เครื่องแกง
     1) พริกแห้ง              7      เม็ด
     2) พริกขี้หนูแห้ง       4     เม็ด
     3) หอมแดง             3      หัว
     4) กระเทียม            20    กลีบ
     5) ตะไคร้ซอย         2      ช้อนโต๊ะ
     6) ข่าซอย               1      ช้อนโต๊ะ
     7) เกลือ                  1      ช้อนชา
     8) กะปิหยาบ           1/2   ช้อนโต๊ะ

2.3 วิธีการทำ
1) หั่นเนื้อหมูสันคอและหมูสามชั้นเป็นชิ้น ขนาด 1.5 x 1.5 นิ้ว


2) โขลกเครื่องแกงรวมกันให้ละเอียด


3) ผสมเครื่องแกง ผงฮังเล สับปะรด และเนื้อหมู คลุกเคล้าให้เข้ากัน หมักไว้ประมาณ 1 ชั่วโมง


4) นำหมูที่หมักไว้มาตั้งไฟ ใส่น้ำเล็กน้อย ผัดจนกว่าหมูตึงตัว เคี่ยวต่อ คอยเติมน้ำเรื่อยๆ จนหมูนิ่มได้ที่


5) ใส่น้ำอ้อยป่น น้ำมะขามเปียก ใส่กระเทียม และขิงซอย คนให้


6) ใส่ถั่วลิสงคั่ว พอเดือดสักพัก ปิดไฟเข้ากัน เคี่ยวต่อจนใช้ได้ก็ยกลงรับประทานกับข้าวสวยจะอร่อยมาก

 

 

 

ขั้นตอนการจัดการภูมิปัญญา ::

  

 

รูปภาพประกอบ ::
ข้อมูลอื่นๆ เพิ่มเติม ::

  แกงฮังเลบางแห่งก็เรียกว่า แกงฮินเล หรือ แกงฮันเล มีอยู่ 2 ชนิด คือ แกงฮังเลม่าน และ แกงฮังเลเชียงแสน เชื่อกันว่าแกงฮังเลเป็นอาหารที่ได้รับอิทธิพลมาจากพม่าในสมัยอดีต มีส่วนประกอบและขั้นตอนการทำดังนี้
     1. แกงฮังเลม่าน เครื่องปรุงได้แก่ เนื้อหมูสามชั้นติดมัน หรือกระดูกซี่โครงบ้างปนกัน ขิงหั่นเป็นฝอย มะขามเปียก( หากมีกระท้อนจะใช้กระท้อนแทนมะขามเปียกยิ่งดี )กระเทียมดองแกะเป็นกลีบ ถั่วลิสงคั่วกะเทาะเปลือกแล้ว พริกแห้ง เกลือ กะปิ ข่า ขมิ้น ตะไคร้ หอม กระเทียม น้ำตาลหรือน้ำอ้อยและผงแกงฮังเล ซึ่งมีขั้นตอนการแกงโดยเริ่มจากนำพริกแห้ง เกลือ ขมิ้น กะปิ หอม กระเทียม ข่า ตะไคร้ โขลกรวมกันเป็นเครื่องแกงเนื้อหมูหั่นเป็นชิ้นขนาดใหญ่กว่าหั่นใส่แกงนำมาคลุกเคล้าให้เข้ากับเครื่องแกงที่เตรียมไว้และผงแกงฮังเลหมักทิ้งไว้ ประมาณ 30 นาที แล้วนำใส่หม้อขึ้นตั้งไฟจนเดือดอาจเติมน้ำลงไปเล็กน้อย ( บางสูตรจะนำไปผัดก่อนแล้วเติมน้ำอีกเล็กน้อย ) เคี่ยวจนเปื่อยจนเหลือน้ำขลุกขลิก จากนั้นนำมะขามเปียก    ถั่วลิสง ขิง เติมลงไป ถ้าชอบหวานก็ใส่น้ำตาลหรือน้ำอ้อยลงไปด้วยแกงฮังเลที่ได้จะมีสีน้ำตาลแดง เนื้อหมูเปื่อยนุ่ม มีน้ำขลุกขลิก รสไม่จัด อมเปรี้ยว เค็มนำ รสเผ็ดตาม
     2. แกงฮังเลเชียงแสน  แตกต่างจากแกงฮังเลม่านตรงที่ใส่ถั่วฝักยาว มะเขือยาว พริกสด หน่อไม้ส้ม ( หน่อไม้ดองเปรี้ยว ) และงาขาวคั่ว เพิ่มเข้ามา มีขั้นตอนการปรุงเช่นเดียวกับแกงฮังเลม่าน แต่ในขณะเคี่ยวแกงนั้นจะใส่หน่อไม้ส้ม  เมื่อจวนจะยกลงก็ใส่ถั่วฝักยาว ( หั่นเป็นท่อนๆ ) มะเขือยาว ( หั่น ) พริกสด ( ผ่าซีกหรือหั่นหยาบ ) ก่อนยกลงใส่น้ำมะขามเปียกขิง และงาดำคั่ว

ไฟล์เพิ่มเติม::
 Download ไฟล์เอกสารผลงานวิชาการ   

Untitled Document
สงวนลิขสิทธิ์โดย มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่ และโรงเรียนชลประทานผาแตก
เว็บไซต์นี้เหมาะสำหรับการใช้งาน Internet Explorer เวอร์ชั่น 8 ขนาดหน้าจอ 1024 x 768 pixels