การพัฒนาครูในการสร้างฐานข้อมูลแหล่งเรียนรู้และภูมิปัญญาท้องถิ่นเพื่อยกระดับคุณภาพการสอน

- ข้อมูลผลการใช้แหล่งเรียนรู้และภูมิปัญญาท้องถิ่น-
---------------------------------------------------------------------------
ชื่อภูมิปัญญาท้องถิ่น ::
กลุ่มสาระการเรียนรู้::
  การงานอาชีพ
  สุขศึกษาและพลศึกษา
  สังคม
ชั้นปี::
  ป.5   ม.1
ชื่อผลงานวิจัย ::
  การพัฒนาการจัดการเรียนรู้โดยใช้แหล่งเรียนรู้และภูมิปัญญาท้องถิ่นเป็นฐาน เรื่องสมุนไพรใกล้ตัว สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5
ชื่อผู้วิจัย ::
  นางสะไบทิพย์ ยาโน นางสาวอนงนาฏ ใบแสง นางรัตนา ประชานุกุล นายสมหวัง ดวงปัน นายพิพัฒน์ แสงคำ
วัตถุประสงค์ ::
  
  1.  เพื่อศึกษาผลการจัดการเรียนรู้โดยใช้แหล่งเรียนรู้และภูมิปัญญาท้องถิ่นเป็นฐานเรื่องสมุนไพรใกล้ตัว สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5
  2.  เพื่อศึกษาปัญหาและอุปสรรคการจัดการเรียนรู้โดยใช้แหล่งเรียนรู้และภูมิปัญญาท้องถิ่นเป็นฐานเรื่องสมุนไพรใกล้ตัว สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5
บทคัดย่อ ::
  

บทคัดย่อ

        ผลการจัดการเรียนรู้โดยใช้แหล่งเรียนรู้และภูมิปัญญาท้องถิ่นเป็นฐานเรื่องสมุนไพรใกล้ตัว สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 สรุปได้ดังนี้

       1. ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนเรื่อง สมุนไพรใกล้ตัว ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 โดยการเปรียบเทียบคะแนนก่อนเรียนและหลังเรียน พบว่านักเรียนมีพัฒนาการทางการเรียนจำนวน     44 คน ส่วนคะแนนผลสัมฤทธิ์ก่อนเรียนมีค่าเฉลี่ยร้อยละ 45.32 และผลสัมฤทธิ์หลังเรียนมีค่าเฉลี่ยรวมร้อยละ 69.91

       2. ความคิดเห็นของนักเรียนที่มีต่อการจัดการเรียนรู้โดยใช้แหล่งเรียนรู้และภูมิปัญญาท้องถิ่นเป็นฐานมีความโน้มเอียงไปในเชิงบวกมากกว่าเชิงลบ และพบว่า ด้านการมีส่วนร่วม นักเรียนมีการช่วยเหลือซึ่งกันและกันมีความถี่สูงสุด  รองลงมา คือ ด้านบรรยากาศ คือสถานที่เรียนมีความสนุกสนาน

       3. ปัญหาและอุปสรรคการจัดการเรียนรู้โดยใช้แหล่งเรียนรู้และภูมิปัญญาท้องถิ่นเป็นฐาน เรื่อง สมุนไพรใกล้ตัว สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 ในภาคเรียนที่ 1 /2557 สรุปได้ดังนี้

            3.1 ปัญหาจากตัวนักเรียน การจัดการเรียนรู้โดยใช้แหล่งเรียนรู้และภูมิปัญญาท้องถิ่นเป็นฐาน เรื่องสมุนไพรใกล้ตัว สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 พบว่าสิ่งที่เป็นปัญหา คือ นักเรียนไม่มีส่วนร่วม ทำให้ไม่สามารถเรียนรู้ได้เท่าเทียมกับเพื่อนนักเรียนปกติได้ ซึ่งจากการสอบถามความคิดเห็นของนักเรียนพบว่าสิ่งที่เป็นปัญหาเหล่านี้เกิดจาก พื้นฐานเดิมของนักเรียนเช่น การอ่านไม่ออก เขียนไม่ได้ รวมทั้งนักเรียนไม่มีความสนใจในเรื่องเหล่านี้ จึงทำให้นักเรียนไม่มีส่วนร่วมในกิจกรรม

           3.2 ปัญหาจากสภาพแวดล้อม การจัดกิจกรรมการเรียนการสอน เรื่อง สมุนไพรใกล้ตัว สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 ได้เน้นการเรียนจัดกิจกรรมการเรียนรู้โดยใช้แหล่งเรียนรู้และภูมิปัญญาท้องถิ่น แต่มีปัญหาเนื่องจากในการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนบางครั้งสภาพอากาศไม่อำนวย เช่น บางวันอาจจะมีฝนตกลงมาบ้าง ทำให้ไม่สามารถไปใช้แหล่งเรียนรู้และภูมิปัญญาในท้องถิ่นได้ นอกเหนือจากนี้ยังมีปัญหาในเรื่องของเวลาซึ่งการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนบางครั้งโรงเรียนมีภาระงานอื่น ๆ แทรกเข้ามา ตลอดจนการอบรม ประชุม สัมมนาของครูทำให้การจัดกิจกรรมไม่สามารถทำได้ตามที่กำหนด ตลอดจนขาดความต่อเนื่อง

รายละเอียดเพิ่มเติม ::
   
ไฟล์รายงานผลการวิจัย ::
    

Untitled Document
สงวนลิขสิทธิ์โดย มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่ และโรงเรียนชลประทานผาแตก
เว็บไซต์นี้เหมาะสำหรับการใช้งาน Internet Explorer เวอร์ชั่น 8 ขนาดหน้าจอ 1024 x 768 pixels