การพัฒนาครูในการสร้างฐานข้อมูลแหล่งเรียนรู้และภูมิปัญญาท้องถิ่นเพื่อยกระดับคุณภาพการสอน

- ข้อมูลภูมิปัญญาท้องถิ่น-
---------------------------------------------------------------------------
ชื่อภูมิปัญญาท้องถิ่น ::
การนวดสมุนไพร
ชื่อ-นามสกุล เจ้าของภูมิปัญญาท้องถิ่น ::
นางจันทร์ดี ทองทับ
วัน/เดือน/ปีเกิด เจ้าของภูมิปัญญาท้องถิ่น ::
3 ตุลาคม 2494
เบอร์โทรศัพท์ ::
081-0314577
ชื่อ-นามสกุล ผู้เก็บข้อมูล ::
นางรัตนา ประชากุล,นายสมหวัง ดวงปัน,นางสาวภัคณัฎฐ์ มหิทฺธิธนาศักดิ์
ประเภทภูมิปัญญาท้องถิ่น ::
ด้านแพทย์แผนไทย
ที่ตั้ง / ที่อยู่ ::
176 หมู่ 2 ตำบลลวงเหนือ อำเภอดอยสะเก็ด จังหวัดเชียงใหม่
แผนที่ ::

การเดินทาง ::
ระยะทางห่างจากโรงเรียนประมาณ 1 กิโลเมตร การเดินทางสะดวก
ประวัติการศึกษาและการอบรม ::

ประวัติการศึกษา
- การศึกษาสูงสุดชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 
ประวัติการอบรม 
- ได้รับสืบทอดองค์ความรู้หมอตำแยจากมารดา
- การนวดแผนไทย หลักสูตร 60 ชั่วโมง จากสมาคมแพทย์แผนไทย  จังหวัดเชียงใหม่
- หลักสูตรนวดแผนไทยเพื่อสุขภาพ  80 ชั่วโมง (เชลยศักดิ์)จากสมาคมแพทย์แผนไทย  จังหวัดเชียงใหม่
- หลักสูตรการยกระดับฝีมือสาขาการนวดแผนไทย  180 ชั่วโมง จากกรมพัฒนาฝีมือแรงงาน
- ฝึกอบรมโครงการส่งเสริมตลาดบริการสุขภาพจังหวัดเชียงใหม่ จากสาธารณสุขเชียงใหม่

ปัจจุบันดำรงตำแหน่ง ::
อาชีพเกษตรกร ทำสวนสมุนไพร ผลิตลูกประคบเพื่อใช้ในการนวดและจำหน่าย ผลิตน้ำมันสมุนไพรสกัดใช้นวดผู้ป่วย
ผลงานและความภาคภูมิใจ ::

- เป็นภูมิปัญญาด้านการนวดและสมุนไพรในตำบลลวงเหนือ
- ใช้ความรู้ในการนวดจับเส้นรักษาช่วยรักษาชาวบ้านทั่วไป
- วิทยากรนวดฝ่าเท้า นวดตัว ให้แก่นักเรียนโรงเรียนชลประทานผาแตก( ปัญญาพลอุปถัมภ์ )

 

องค์ความรู้ของภูมิปัญญา ::

     นางจันทร์ดี   ทองทับ เป็นผู้มีความรู้ในเรื่องการทำลูกประคบจากซึ่งได้รับการถ่ายทอดมาจากบรรพบุรุษ  โดยเฉพาะการดูแล มารดาที่ตั้งครรภ์ จนกระทั่งคลอดบุตร ซึ่งมีขั้นตอนดังนี้
     1. ประคบ
     2. นวดผู้หญิงหลังคลอดเพื่อให้มดลูกเข้าอู่เร็ว
     3. การดูแลรักษาหลังคลอด ตลอดจนการรับประทานอาหารหลังคลอด
     4. รักษาอาการต่างๆ สำหรับผู้หญิงที่มีปัญหาเกี่ยวกับโรค ที่เกิดหลังจากการคลอด
บุตร การปฏิบัติตัวหลังคลอด(อยู่ไฟ) 
     5. การใช้สมุนไพรที่มีอยู่รอบๆบ้านมาใช้ในการผลิตลูกประคบและเผยแพร่ความรู้ให้แก่เยาวชนทั่วไป

1. ลูกประคบ   
     1.1 ลูกประคบประกอบด้วย
             1) ไพล (500 กรัม) แก้ปวดเมื่อย ลดการอักเสบ ฟกช้ำ
             2)  ขมิ้นชัน (100 กรัม) แก้โรคผิดหนัง ลดการอักเสบ
             3) ผิวมะกรูด หรือใบมะกรูด (100 กรัม) มีน้ำมันหอมระเหย แก้ลมวิงเวียน
             4) ตะไคร้บ้าน (200 กรัม) แต่งกลิ่น
             5) ใบมะขาม (100 กรัม) ช่วยทำความสะอาดผิวหนัง แก้ฟกบวม
             6) ใบส้มป่อย (50 กรัม) แก้โรคผิวหนัง ช่วยบำรุงผิว ลดอาการคัน แก้ฟกบวม
             7) เกลือ (60 กรัม) ช่วยดูดความร้อน และช่วยพาตัวยาซึมผ่านผิวหนัง
             8) การบูร (30 กรัม) แต่งกลิ่น แก้หวัด บำรุงหัวใจ
             9) พิมเสน (30 กรัม) แต่งกลิ่น แก้พุพองผดผื่น บำรุงหัวใจ

1.2 อุปกรณ์ในการทำลูกประคบ
           1) เขียง 1 อัน และ มีด 1 อัน
           2) ตัวยาสมุนไพรรวมที่ใช้ทำลูกประคบ
           3) ผ้าดิบสำหรับห่อลูกประคบ 2 ผืน และเชือก 2 เส้น ยาว 1 เมตร
           4) หม้อนึ่งลูกประคบ
           5) กะละมัง ถุงมือ ผ้าขนหนู
           6) จานรอง ลูกประคบ

1.3 วิธีทำลูกประคบ
         1) ล้างสมุนไพรให้สะอาด หั่นเป็นชิ้นเล็กๆโขลกพอแหลก
         2) ใส่เกลือ พิมเสน การบูร คลุกให้เข้ากัน แบ่งเป็น 2-3 ส่วน
         3) นำสมุนไพรที่แบ่งไว้มาใส่ผ้า ห่อเป็นลูกประคบ รักด้วยเชือกให้แน่น
         4) นำลูกประคบไปนึ่งให้ร้อน 
         5) นำไปประคบบริเวณที่ต้องการ

           

                                                  ภาพการนวดแผนไทย

ขั้นตอนการจัดการภูมิปัญญา ::

ขั้นตอนการนวดแผนไทย
     2.1. เริ่มจากการนวดกดจุดที่ฝ่าเท้า


     2.2  กดจุด และนวดตรงฝ่าเท้าและบริเวณน่องและขา


     2.3  นวดตรงต้นขาและโพกและเอวไล่ตามลำดับนวดช้ำๆประมาน 3 ครั้ง


     2.4  นวดไล่ลำดับขึ้นไปจากเอวถึงหลัง ช้ำไปช้ำมา ขึ้น-ลง


     2.5. นวดไล่จุดขึ้นไปเรื่อยจนถึงต้นคอและขมับ


     การนวดต้องนวดช้ำไปช้ำมาถึงสามครั้งและไล่กดจุดการนวดโดยต้องกดให้ถูกจุดและนวดไล่ตั้งแต่เท้าจรดศีรษะแล้วก็ไล่ตั้งแต่ศีรษะจรดลงเท้าเช่นเดียวกันในการนวดครั้งนี้จะทำให้ผู้ที่ถูกนวดมีอาการผ่อนคลายกล้ามเนื้อและลดอาการเจ็บปวดกล้ามเนื้อทำให้เลือดหมุนเวียนได้ดี ลดอาการปวดหัว ไมเกรน และทำให้ร่างกายสามารถใช้งานได้ดียิ่งขึ้น

 

รูปภาพประกอบ ::

ข้อมูลอื่นๆ เพิ่มเติม ::

     นางจันทร์ดี   ทองทับ ได้ดำเนินชีวิตด้วยการนำหลักเศรษฐกิจพอเพียงมาใช้ มีการปลูกพืชผักสวนครัว และสมุนไพรเพื่อบริโภคและจำหน่ายในท้องถิ่น เมื่อมีผู้ต้องการให้ช่วยรักษาก็จะไปรักษาให้ที่บ้านของผู้ป่วยเป็นรายกรณีไป อาชีพหลักคือเกษตรกรรม ส่วนภูมิปัญญาในการนวดเป็นอาชีพรอง และเป็นวิทยากรให้ความรู้ด้านการนวดให้กับนักเรียนโรงเรียนชลประทานผาแตกด้วย

ไฟล์เพิ่มเติม::
 Download ไฟล์เอกสารผลงานวิชาการ   

Untitled Document
สงวนลิขสิทธิ์โดย มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่ และโรงเรียนชลประทานผาแตก
เว็บไซต์นี้เหมาะสำหรับการใช้งาน Internet Explorer เวอร์ชั่น 8 ขนาดหน้าจอ 1024 x 768 pixels