การพัฒนาครูในการสร้างฐานข้อมูลแหล่งเรียนรู้และภูมิปัญญาท้องถิ่นเพื่อยกระดับคุณภาพการสอน

- ข้อมูลผลการใช้แหล่งเรียนรู้และภูมิปัญญาท้องถิ่น-
---------------------------------------------------------------------------
ชื่อแหล่งเรียนรู้ ::
กลุ่มสาระการเรียนรู้::
  คณิตศาสตร์
  ภาษาไทย
ชั้นปี::
  ป.1
ชื่อผลงานวิจัย ::
  การพัฒนาการจัดการเรียนรู้โดยใช้แหล่งเรียนรู้เป็นฐานหน่วยสุขภาพดีชีวีมีสุข สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 1
ชื่อผู้วิจัย ::
  นางอัมพร อารีวงศ์ นางสาวประภัสสร รัตนคีรี
วัตถุประสงค์ ::
  

1. เพื่อศึกษาผลการพัฒนาการจัดการเรียนรู้โดยใช้แหล่งเรียนรู้เป็นฐานหน่วยสุขภาพดีชีวีมีสุข  สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 1

2. เพื่อศึกษาปัญหาและอุปสรรคการจัดการเรียนรู้โดยใช้แหล่งเรียนรู้เป็นฐานหน่วยสุขภาพดีชีวีมีสุข  สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 1

บทคัดย่อ ::
  

บทคัดย่อ

          การพัฒนาการจัดการเรียนรู้โดยใช้แหล่งเรียนรู้เป็นฐานหน่วยสุขภาพดีชีวีมีสุข สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่  1 ครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1)  เพื่อศึกษาผลการพัฒนาการจัดการเรียนรู้โดยใช้แหล่งเรียนรู้เป็นฐานหน่วยสุขภาพดีชีวีมีสุข  สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่  1 2) เพื่อศึกษาปัญหาและอุปสรรคการจัดการเรียนรู้โดยใช้แหล่งเรียนรู้เป็นฐานหน่วยสุขภาพดีชีวีมีสุข สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่  1 กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยได้แก่ นักเรียน ชั้นประถมศึกษาปีที่  1 ปีการศึกษา 2557จำนวน 34 คน โรงเรียนชลประทานผาแตก (ปัญญาพลอุปถัมภ์) ตำบลลวงเหนือ อำเภอดอยสะเก็ด จังหวัดเชียงใหม่ สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเชียงใหม่ เขต 1 โดยใช้สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลคือ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย  ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานผลการวิจัยพบว่า

           1. ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน หน่วยสุขภาพดีชีวีมีสุขของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่  1โดยการเปรียบเทียบคะแนนก่อนเรียนและหลังเรียน พบว่าผลสัมฤทธิ์ทาง การเรียนก่อนเรียนมีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 11.38  มีส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานเท่ากับ 1.47  คิดเป็นร้อยละ  59.91 และผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนหลังเรียนมีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 17.56  มีส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานเท่ากับ 1.08  คิดเป็นร้อยละ 87.79  ดังนั้น ผลสัมฤทธิ์ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 หลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียน

           2. ผลความคิดเห็นของนักเรียนที่มีต่อการจัดการเรียนรู้โดยใช้แหล่งเรียนรู้เป็นฐาน พบว่านักเรียนมีความคิดเห็นของนักเรียนต่อการจัดการเรียนรู้โดยใช้แหล่งเรียนรู้เป็นฐานด้านบรรยากาศในเชิงบวกจำนวน 54 คน คิดเป็นร้อยละ 79.41 ในเชิงลบจำนวน 14 คนคิดเป็นร้อยละ 20.59  ด้านการมีส่วนร่วมในเชิงบวกจำนวน 58 คนคิดเป็นร้อยละ 85.29  ในเชิงลบจำนวน 10  คิดเป็นร้อยละ 14.71 และด้านความรู้ในเชิงบวกจำนวน 62 คนคิดเป็นร้อยละ 91.18  ในเชิงลบจำนวน 6 คนคิดเป็นร้อยละ 8.82   

           3. ปัญหาและอุปสรรคการจัดการเรียนรู้โดยใช้แหล่งเรียนรู้เป็นฐานหน่วยสุขภาพดีชีวีมีสุขสำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 พบว่า ด้านนักเรียนพบว่า นักเรียนบางคนมีพัฒนาในการเรียนรู้ช้า และยังมีประสาทสัมผัสที่ยังต้องใช้การฝึกอย่างต่อเนื่อง อาจเนื่องมาจากพัฒนาทางด้านกล้ามเนื้อยังไม่ค่อยแข็งแรง และมีสมาธิที่ค่อนข้างจะสั้น ด้านสภาพแวดล้อมพบว่าสภาพแวดล้อมภายในห้องเรียนอึดอัด คับแคบ เนื่องจากมีเด็กนักเรียนมีจำนวนเยอะ ด้านอื่น ๆ พบว่าการเดินทางพานักเรียนไปศึกษาแหล่งการเรียนรู้นอกโรงเรียนถือว่าเป็นสิ่งที่ยุ่งยากเนื่องด้วยเด็กนักเรียนวัยนี้เป็นเด็กที่ควบคุมค่อนข้างยาก จึงส่งผลให้การนำนักเรียนออกไปศึกษาหาความรู้จากแหล่งการเรียนรู้เป็นไปได้ยากลำบาก 

รายละเอียดเพิ่มเติม ::
   
ไฟล์รายงานผลการวิจัย ::
    

Untitled Document
สงวนลิขสิทธิ์โดย มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่ และโรงเรียนชลประทานผาแตก
เว็บไซต์นี้เหมาะสำหรับการใช้งาน Internet Explorer เวอร์ชั่น 8 ขนาดหน้าจอ 1024 x 768 pixels