การพัฒนาครูในการสร้างฐานข้อมูลแหล่งเรียนรู้และภูมิปัญญาท้องถิ่นเพื่อยกระดับคุณภาพการสอน

- ข้อมูลผลการใช้แหล่งเรียนรู้และภูมิปัญญาท้องถิ่น-
---------------------------------------------------------------------------
ชื่อแหล่งเรียนรู้ ::
กลุ่มสาระการเรียนรู้::
  คณิตศาสตร์
  ภาษาไทย
  วิทยาศาสตร์
  ศิลปะ
  สังคม
  ภาษาต่างประเทศ
ชั้นปี::
  ป.6   ม.1   ม.2   ม.3   ป.1   ป.2   ป.3   ป.4   ป.5
ชื่อผลงานวิจัย ::
  ผลการจัดการเรียนรู้โดยใช้แหล่งเรียนรู้ท้องถิ่นเป็นฐาน เรื่อง แม่กวงศึกษากับป่าชุมชน สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3
ชื่อผู้วิจัย ::
  เกศรินทร์ ลอรักษา ภัทรภร วงศ์แก้ว พัชรา ช้างเนียม
วัตถุประสงค์ ::
  
  1. เพื่อศึกษาผลการจัดการเรียนรู้โดยใช้แหล่งเรียนรู้เป็นฐานเรื่องแม่กวงศึกษากับป่าชุมชนสำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3
  2. เพื่อศึกษาปัญหาและอุปสรรคการจัดการเรียนรู้โดยใช้แหล่งเรียนรู้เป็นฐานเรื่องแม่กวงศึกษากับป่าชุมชนสำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3
บทคัดย่อ ::
  

บทคัดย่อ

           การวิจัยครั้งนี้ผู้วิจัยมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลการจัดการเรียนรู้โดยใช้แหล่งเรียนรู้ท้องถิ่นเป็นฐาน และศึกษาปัญหาและอุปสรรคการจัดการเรียนรู้โดยใช้แหล่งเรียนรู้เป็นฐานเรื่อง แม่กวงศึกษากับป่าชุมชนสำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ผลการวิจัยสรุปได้ดังนี้

                   1.  ผลการจัดการเรียนรู้โดยใช้แหล่งเรียนรู้เป็นฐานเรื่องแม่กวงศึกษากับป่าชุมชนสำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 สรุปได้ดังนี้

                          1.1 คะแนนผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนเรื่อง Fun with Mae Khuang Dam กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาต่างประเทศ(ภาษาอังกฤษ) ของนักเรียนชั้น มัธยมศึกษาปีที่ 3 โดยการเปรียบเทียบคะแนนก่อนเรียนและหลังเรียน พบว่านักเรียนชั้น  ม.3/1 มีพัฒนาการทางการเรียนจำนวน 29 คน และ ไม่มีพัฒนาการทางการเรียนจำนวน -  คน ส่วน คะแนนผลสัมฤทธิ์ก่อนเรียนมีค่าเฉลี่ยร้อยละ 37.93 และผลสัมฤทธิ์หลังเรียนมีค่าเฉลี่ยร้อยละ 74.83 ส่วนนักเรียนชั้น ม.3/2 มีพัฒนาการทางการเรียนจำนวน 29 คน และ ไม่มีพัฒนาการทางการเรียนจำนวน -  คน ส่วน คะแนนผลสัมฤทธิ์ก่อนเรียนมีค่าเฉลี่ยร้อยละ 50.34 และผลสัมฤทธิ์หลังเรียนมีค่าเฉลี่ยร้อยละ 80.00

                           คะแนนผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนเรื่อง ระบบนิเวศ สาระการเรียนรู้ วิทยาศาสตร์ ของนักเรียนชั้น มัธยมศึกษาปีที่ 3 โดยการเปรียบเทียบคะแนนก่อนเรียนและหลังเรียน พบว่านักเรียนชั้น  ม.3/1 มีพัฒนาการทางการเรียนจำนวน 29 คน และ ไม่มีพัฒนาการทางการเรียนจำนวน -  คน ส่วน คะแนนผลสัมฤทธิ์ก่อนเรียนมีค่าเฉลี่ยร้อยละ 34.83 และผลสัมฤทธิ์หลังเรียนมีค่าเฉลี่ยร้อยละ 82.07 ส่วนนักเรียนชั้น ม.3/2 มีพัฒนาการทางการเรียนจำนวน 29 คน และ ไม่มีพัฒนาการทางการเรียนจำนวน -  คน ส่วน คะแนนผลสัมฤทธิ์ก่อนเรียนมีค่าเฉลี่ยร้อยละ 32.41 และผลสัมฤทธิ์หลังเรียนมีค่าเฉลี่ยร้อยละ 75.86

                           คะแนนผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนเรื่อง ความคล้าย สาระการเรียนรู้ คณิตศาสตร์ ของนักเรียนชั้น มัธยมศึกษาปีที่ 3 โดยการเปรียบเทียบคะแนนก่อนเรียนและหลังเรียน พบว่านักเรียนชั้น  ม.3/1 มีพัฒนาการทางการเรียนจำนวน 29 คน และ ไม่มีพัฒนาการทางการเรียนจำนวน -  คน ส่วน คะแนนผลสัมฤทธิ์ก่อนเรียนมีค่าเฉลี่ยร้อยละ 34.83 และผลสัมฤทธิ์หลังเรียนมีค่าเฉลี่ยร้อยละ 80.69 ส่วนนักเรียนชั้น ม.3/2 มีพัฒนาการทางการเรียนจำนวน 29 คน และ ไม่มีพัฒนาการทางการเรียนจำนวน -  คน ส่วน คะแนนผลสัมฤทธิ์ก่อนเรียนมีค่าเฉลี่ยร้อยละ 34.14 และผลสัมฤทธิ์หลังเรียนมีค่าเฉลี่ยร้อยละ 70.03

                          1.2  นักเรียนมีความคิดเห็นต่อการจัดการเรียนรู้โดยใช้แหล่งเรียนรู้เป็นฐานมีความน้อมเอียงไปในเชิงบวกมากกว่าเชิงลบ หากพิจารณาในรายละเอียดพบว่า ด้านบรรยากาศ ความคิดเห็นที่ว่ามีความสนุกสนานในการเรียนแหล่งเรียนรู้จริง มีค่าความถี่สูงสุด (45 คน) คิดเป็น ร้อยละ 77.59  ด้านการมีส่วนร่วม ความคิดเห็นที่ว่ามีนักเรียนได้ร่วมกิจกรรมทุกคนมีความถี่สูงสุด (42 คน) คิดเป็น ร้อยละ 72.41 และด้านความรู้ ความคิดเห็นที่ว่าได้รับความรู้เรื่องประวัติของเขื่อนแม่กวงอุดมธารา มีความถี่สูงสุด (40 คน) คิดเป็น ร้อยละ 68.97  และจากการตอบแบบสอบถามค่าเฉลี่ยของจำนวนนักเรียนที่ตอบแบบสอบถามทั้งหมด 58 คน พบว่าด้านความรู้ มีค่าเฉลี่ยสูงสุดคือ ร้อยละ 46.19 รองมาคือ ด้านการมีส่วนร่วม คิดเป็น ร้อยละ 42.24 และด้านบรรยากาศ คิดเป็นร้อยละ 31.18

                  2. ปัญหาและอุปสรรคการจัดการเรียนรู้โดยใช้แหล่งเรียนรู้เป็นฐาน เรื่อง แม่กวงศึกษากับป่าชุมชนสำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3ในภาคเรียนที่ 1 /2557 สรุปได้ดังนี้

                          2.1 ปัญหาจากตัวนักเรียน การจัดการเรียนรู้โดยใช้แหล่งเรียนรู้เป็นฐานเรื่องแม่กวงศึกษากับป่าชุมชนสำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3พบว่าสิ่งที่เป็นปัญหาคือ นักเรียนมีปัญหาด้านการอ่านภาษาอังกฤษ จำนวน 6 คน เนื่องจากพื้นฐานความรู้ของนักเรียน และความสนใจในการเรียนภาษาอังกฤษมีน้อย นักเรียนจำนวน 7 คนศึกษาระบบนิเวศ พบสิ่งมีชีวิตบางชนิดที่ไม่สามารถระบุชื่อได้ เนื่องจากไม่รู้จักมาก่อน นักเรียนจำนวน 3 คนไม่สามารถคำนวณหาพลังงานที่ได้จากการถ่ายทอดพลังงานในระบบนิเวศ เนื่องจาก ขาดทักษะด้านการคูณและหาร มีนักเรียนที่มีปัญหาทางด้านการเรียนรู้และการคำนวณ จำนวน 5 คน เนื่องจากที่ผ่านมานักเรียนกลุ่มนี้ขาดพื้นฐานในด้านทักษะการคิดและการคำนวณในเรื่อง การบวก ลบ คูณ หาร ทศนิยม และการแก้สมการเบื้องต้น ทำให้ไม่สามารถเรียนรู้ได้เท่าเทียมกับเพื่อนนักเรียนปกติได้ จากการสอบถามความคิดเห็นของนักเรียนพบว่าสิ่งที่นักเรียนไม่เข้าใจคือนักเรียนไม่สามารถเขียนค่าสัดส่วนจากโจทย์ปัญหาต่างๆได้  และ เมื่อเขียนค่าสัดส่วนแล้ว นักเรียนไม่สามารถแก้สมการ และ คูณกับหารทศนิยมได้ 

                           2.2  ปัญหาจากสภาพแวดล้อม การจัดกิจกรรมการเรียนการสอนเรื่องแม่กวงศึกษากับป่าชุมชนสำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 สาระการเรียนรู้ภาษาต่างประเทศ (ภาษาอังกฤษ) วิทยาศาสตร์ คณิตศาสตร์ ได้เน้นการเรียนจัดกิจกรรมการเรียนรู้โดยใช้แหล่งเรียนรู้ เขื่อนแม่กวงอุดมธารา และป่าชุมชน แต่มีปัญหาเนื่องจากในการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนเรื่อง ความคล้าย สาระการเรียนรู้ คณิตศาสตร์ได้เน้นการเรียนจัดกิจกรรมการเรียนรู้โดยใช้แหล่งเรียนรู้ แต่มีปัญหาเนื่องจากการวัดความสูงของต้นไม้บางต้นอาจจะคลาดเคลื่อนเนื่องจากพื้นดินมีความลาดเอียง ไม่สม่ำเสมอกัน ในการศึกษาระบบนิเวศ นักเรียนไม่สามารถเข้าไปศึกษาได้ในพื้นที่ที่มีความลาดชัน และทุ่งหญ้ารก และนักเรียนต้องระมัดระวังอุบัติเหตุที่จะเกิดขึ้นขณะสำรวจระบบนิเวศเพราะมีเศษแก้วแตก

รายละเอียดเพิ่มเติม ::
   
ไฟล์รายงานผลการวิจัย ::
    

Untitled Document
สงวนลิขสิทธิ์โดย มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่ และโรงเรียนชลประทานผาแตก
เว็บไซต์นี้เหมาะสำหรับการใช้งาน Internet Explorer เวอร์ชั่น 8 ขนาดหน้าจอ 1024 x 768 pixels