การพัฒนาครูในการสร้างฐานข้อมูลแหล่งเรียนรู้และภูมิปัญญาท้องถิ่นเพื่อยกระดับคุณภาพการสอน

- ข้อมูลแหล่งการเรียนรู้ -
---------------------------------------------------------------------------
ชื่อแหล่งเรียนรู้ ::
ป่าชุมชนบ้านวังธาร(ห้วยตองสาด)
ชื่อ-นามสกุล ผู้เก็บข้อมูล ::
ว่าที่ร.ตำบลหญิงอุไร ปานะโปย
ประเภทแหล่งเรียนรู้ ::
แหล่งเรียนรู้ตามธรรมชาติ
ที่ตั้ง / ที่อยู่ ::
หมู่ที่ 8 ตำบลลวงเหนือ อำเภอดอยสะเก็ด จังหวัดเชียงใหม่
แผนที่ ::

การเดินทาง ::
ระยะทางห่างจากโรงเรียนประมาณ 3 กิโลเมตร การเดินทางสะดวก
พื้นที่บริการ ::
บ้านวังธาร
เบอร์โทรศัพท์ / โทรสาร(Fax) ::
ชื่อเว็บไซต์ ::
เนื้อที่ ::
รูปภาพประกอบ ::

ประวัติความเป็นมา ::

       เมื่อประมาณ 100 ปีก่อน ป่าบ้านวังธารเป็นป่าที่อุดมสมบูรณ์มีแมกไม้หนาแน่นและมีสายน้ำที่ไหลเป็นธารที่กว้างใหญ่ไหลตลอดฤดูกาล มีวังน้ำที่ลึกและกว้าง เต็มไปด้วยสัตว์มากมายหลายชนิด ปัจจุบันสภาพความอุดมสมบูรณ์ของป่าได้ถูกทำลายไปบางส่วน

       พ.ศ.2518 ทางรัฐบาล ได้สำรวจพื้นที่และมีมติให้สร้างเขื่อนแม่กวงอุดมธารา โดยมีสันเขื่อนอยู่บริเวณป่าเหนือหมู่บ้านวังธารทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงของระบบนิเวศในป่า เป็นไปอย่างรวดเร็ว สัตว์ป่าและป่าไม้ได้ถูกทำลาย ทำให้ลำธารที่เคยลึกและกว้างถูกทับถมจนตื้นเขิน  สัตว์น้ำก็ลดน้อยลง สำหรับคำว่า “วังธาร” คำว่า “วัง” หมายถึง “วังวนของน้ำ” ลักษณะลึกและกว้างที่เวียนวนอยู่ตลอด คำว่า “ธาร” หมายถึง “โขดหิน” ลักษณะเหมือน “ศิลาแลง” คำว่า “ธาร” หมายถึง สายน้ำ ทั้ง “วัง” และ “ธาร” รวมกันเป็น “วังธาร” หมายถึง สายน้ำที่เป็นวังวนของน้ำที่ลึกและกว้างขวาง อันอุดมสมบูรณ์ด้วยสัตว์น้ำนานาพันธุ์ ลำธารหรือวังธารนี้ ถือเป็นแหล่งน้ำสำคัญสำหรับคนในท้องถิ่นและเหมาะสมกับภูมิศาสตร์ด้านการเกษตรด้วย จึงมีผู้คนทยอยอพยพมาอยู่ เริ่มก่อร่างสร้างเรือนกัน โดยมีผู้นำชุมชนเป็นผู้ตัดสินใจและตัดสินความในเรื่องราวต่างๆ ที่เกิดขึ้นกับคนในท้องถิ่น ตลอดถึงประกอบพิธีกรรมทางความเชื่อต่างๆ ด้วย หลังจากนั้นท้องถิ่นนี้ ถูกเรียกว่า “วังธาร”

(http://www.monkdoisaket.com/templedetails.php?id_show=10, 7 กพ. 58 : 5.37 น.)

          ต่อมาเริ่มมีการชักชวนกันเข้ามาอยู่ ทำให้ที่ทำกินลดลง จากที่เคยเลี้ยงวัว ควาย ปล่อยกินหญ้ากลางทุ่ง พอราคาวัว ควายสูงขึ้นชาวบ้านก็เริ่มขายวัว ขายความเริ่มมีควายเหล็ก (รถไถ)เข้ามา ประกอบกับมีการประกาศการสัมปทานไม้ทำให้เกิดการบุกรุกทำลายป่า จากป่าเปลี่ยนเป็นนาไร่ ชาวบ้านหันมาทำไร่ข้าวโพด ทำไร่เลื่อนลอยกันหมดป่าหมดสภาพ ไม้สักไม้แดง ไม้เต็งรัง ไม้เนื้อแข็งถูกตัดทำลาย บริษัทสัมปทานเอารถมาลากไม้ออกไปทำให้ต้นไม้ใหญ่เริ่มหมด นอกจากไม้จะหมด บริเวณต้นน้ำที่เคยชุ่มชื้นก็แห้งผากเมื่อต้นน้ำแห้งผาก ก็ส่งผลทำให้บริเวณปลายน้ำแย่ไปด้วย เมื่อไม่มีน้ำในการทำการเกษตรก็ย่ำแย่ตามไปด้วยชาวบ้านจึงได้บุกรุกป่าต้นน้ำผนวกกับการสร้างเขื่อนแม่กวงอุดมธารา ก็เริ่มเห็นน้ำแห้งน้ำที่นำมาทำไร่ทำสวนตามฤดูกาลก็เริ่มแห้งหาย หมดสภาพ ซึ่งต้นไม้ส่วนใหญ่ที่ป่าห้วยตองสาดเป็นไม้ยืนต้นและในแต่ละฤดูก็จะมีผักต่างๆ เห็ดต่างๆ และผลผลิตที่ได้จากป่าหลายอย่างที่เกิดขึ้นในแต่ละฤดู สิ่งเหล่านี้เป็นสิ่งที่กระตุ้นความต้องการบริโภคที่มากขึ้น จึงทำให้ป่าไม้เสื่อมโทรม น้ำในลำห้วยจึงแห้งไม่ไหล ต้นไม้ก็ลดลง รวมถึงความสมดุลในระบบนิเวศน์ภายในป่าห้วยตองสาดก็ลดลงไม่เหมือนดังเช่นในอดีต ซึ่งก่อนหน้านี้ไม่ได้มีการประกาศแนวเขตป่าประกอบกับชุมชนได้มีการขยายเข้าไปในเขตพื้นที่ป่าจึงมีการบุกรุกถางป่าเพิ่มขึ้น เพื่อการจับจองเป็นที่อยู่อาศัยและทำสวน และมีการเผาป่าเพื่อต้องการให้มีเห็ดเผาะในปัจจุบันเนื้อที่ของป่าห้วยตองสาดที่ดูแลโดยชุมชนมีประมาณ 2,000 กว่าไร่ มีแนวเขตติดต่อกับเขตอุทยานแห่งชาติแม่ตะไคร้ และพื้นที่ป่าบางส่วนได้รับการดูแลจากฝ่ายศึกษาและพัฒนาป่าไม้ขุนน้ำแม่กวง ในการอนุรักษ์และดูรักษา การใช้ประโยชน์จากป่าห้วยตองสาดในอดีตส่วนใหญ่จะเน้นการหาของป่า และการใช้ประโยชน์จากน้ำห้วยตองสาด ในการทำเกษตรเช่นทำนา และอาชีพเกษตรอื่นๆในชุมชน ปัจจุบันสภาพป่าถูกบุกรุกหนัก น้ำในห้วยตองสาดมีปริมาณน้ำน้อยไม่เพียงพอต่อการทำเกษตร ซึ่งส่วนใหญ่จะใช้บริโภคในปัจจุบันเป็นบางกลุ่มบ้าน ที่อยู่ใกล้กับพื้นที่ป่าจากสภาพความเสื่อมโทรมของป่าห้วยตองสาดทำให้เกิดความขัดแย้งของชาวบ้านภายในชุมชน โดยเฉพาะปัญหาการบุกรุกที่ดินทำกิน ที่นับวันเริ่มมีความรุนแรงมากขึ้นการบุกรุกที่ดินเพิ่มเป็นผลสืบเนื่องให้เกิดการตัดไม้ทำลายป่า โดยเฉพาะไม้สัก รวมไปถึงบางครอบครัวมีที่ดินที่บุกรุกเพิ่มอยู่เหนือบริเวณป่าต้นน้ำของห้วยตองสาด เป็นผลให้เกิดความไม่เข้าใจระหว่างชาวบ้านด้วยกันเอง ก็ยังผลให้การมีส่วนร่วมในการพัฒนาของชุมชนลดน้อยลงขณะเดียวกันผลกระทบต่อสภาพป่า ที่มีจำนวนไม้ยืนต้นลดลงก็เป็นผลให้น้ำในห้วยตองสาดลดน้อยลงในช่วงปี 2549 จนถึงปัจจุบัน ส่งผลกระทบให้กับการทำเกษตรของชาวบ้านจำนวน 81ครอบครัวต้องเพิ่มรายจ่ายในการทำเกษตรมากขึ้นเช่นการเจาะบ่อบาดาล การสูบน้ำจากคลอง61ชลประทานมาใช้ในการทำเกษตรซึ่งส่วนใหญ่เป็นการทำนา ทั้งที่ในอดีตได้อาศัยน้ำจากห้วยตองสาดเป็นน้ำสายหลักในการทำนา ต่อมาในช่วงปี 2550 หลังจากมีผลกระทบดังกล่าวทางชุมชนได้เริ่มแก้ปัญหาโดยการเริ่มเข้าไปวางแผนอนุรักษ์และฟื้นฟูป่าโดยการจัดทำฝายชะลอน้ำและกำหนดแนวทางการอนุรักษ์ป่าห้วยตองสาดโดยการใช้ประเพณีดั้งเดิมเช่นการบวชป่า การทำแนวกันไฟ ทำให้สภาพป่าฟื้นขึ้น

ชื่อ-นามสกุล ผู้รับผิดชอบ/ผู้ดูแล ::
นายวิรัตน์ บุญเรืองยา รองนายกเทศมนตรีตำบลลวงเหนือ
ข้อมูลบุคลากร ::

       

ผู้รับผิดชอบดูแลป่าชุมชนบ้านวังธาร(ห้วยตองสาด) คือ นายวิรัตน์  บุญเรืองยา   รองนายกเทศมนตรีตำบลลวงเหนือ และนายวิสุทธิ์ พรหมเทศ  นักวิชาการเกษตร 7ว    เทศบาลตำบลลวงเหนือ  อำเภอดอยสะเก็ด  จังหวัดเชียงใหม่ ปัจจุบันมีคณะกรรมการป่าชุมชนบ้านวังธาร(ห้วยตองสาด) ประกอบด้วย

  1. นายสมจิต อิ่นแก้ว              ประธานคณะกรรมการ
  2. นางสาวจีราภา คำปินคำ       ผู้ประสานงานคณะกรรมการ
  3. นายสมบูรณ์ บัวดอกตูม       รองประธาน
  4. นางสาวอุไรวรรณ ใบบาง      เลขาคณะกรรมการ
  5. นายอรฉัตร ชมพูปัน            ผู้ประสานงานกลุ่มเยาวชน
  6. นางสาวศิริมล อุปันโน          ประธานเยาวชน
  7. นายนิวรณ์ บุญชุ่มใจ            คณะกรรมการ
  8. นายประสิทธิ์ ยอดทองขาว     คณะกรรมการ
  9. นายอินสวน คำยอดใจ          คณะกรรมการ
  10. นายทับทิม กาวิชัย               คณะกรรมการ
  11. นายมานพ เครื่องคำ            คณะกรรมการ
  12. นางขวัญธิรา อารีย์              ประสานงานกลุ่มแม่บ้าน
  13. นายปรัชญา บุญชัยอาจ        คณะกรรมการ
  14. นายประทีป ยอดทองขาว      คณะกรรมการ
  15. นายวรพงศ์ บุญศรี              คณะกรรมการ
  16. นางสาวกมลพรรณ สดงาม   คณะกรรมการ
  17. นายนิติพงศ์ บุญศรี             คณะกรรมการ
ความสำคัญหรือจุดเด่น ::

       พื้นที่ป่าเป็นป่าดิบแล้งประมาณร้อยละ20  อีกประมาณร้อยละ 80 เป็นป่าเต็งรังและป่าไผ่ เพราะเป็นช่วงการฟื้นตัวของสภาพป่า ในปัจจุบันมีสภาพเกือบสมบูรณ์ เนื่องจากชุมชนช่วยกันดูแล และป้องกันรักษาลูกไม้และต้นไม้ ให้เจริญเติบโตขึ้นมาทดแทน ไม้เดิมที่ถูกตัดฟันนำไปใช้ประโยชน์โดยมีความสูงเฉลี่ยประมาณ 6-20 เมตร โดยทั่วไปเป็นป่าเต็งรัง ( Deciduous Dipterocarp Forest ) ขึ้นกระจายเกือบทั่วพื้นที่ มีป่าเบญจพรรณ ( Mixed Deciduous ) ปะปนอยู่ในป่าเต็งรัง เป็นบางส่วน มีชนิดพันธุ์ไม้ที่สำคัญ ได้แก่ ไม้พลวง เต็ง รัง เหียง แดง ประดู่    นอกจากนี้ยังมีหญ้าคา ปรง และเถาวัลย์ 

       มีการอนุรักษ์ป่าไม้โดยใช้พิธีกรรมความเชื่อในการบวชต้นไม้ มีการสร้างฝายชะลอน้ำ ทำแนวป้องกันไฟป่า การศึกษาชนิดพรรณไม้ในป่าห้วยตองสาด 

รายละเอียดของแหล่งเรียนรู้::

ป่าห้วยตองสาด เป็นแหล่งต้นน้ำที่หมู่บ้านวังธารใช้ทำการเกษตร เช่น ทำนาทำไร่ ทำสวน มาเป็นเวลา 70 กว่าปี มีน้ำใช้จนถึงเดือนพฤษภาคม ในอดีตจะมีการอนุรักษ์ต้นไม้เพียงสามชนิดเท่านั้น สำหรับไม้อย่างอื่นจะปล่อยให้ตัดโดยไม่มีการหวงห้ามและยังมีกลุ่มนายทุนเข้ามาจับจองจ้างคนนอกพื้นที่แผ้วถางเพื่อจัดสรรแบ่งกันเป็นแปลง ๆ จึงทำให้เกิดความแห้งแล้งบางปีก็ไม่มีน้ำทำนา สร้างความเสียหายให้กับผืนป่าและความเดือดร้อนให้กับหมู่บ้านวังธาร เป็นอย่างมาก คณะกรรมการหมู่บ้านจึงได้ร่วมกันปรึกษาหาแนวทางแก้ไขปัญหา จึงได้เชิญชาวบ้านในหมู่บ้านร่วมประชุม ที่ประชุมก็ได้มีมติห้ามตัดไม้ทำลายป่าทุกชนิดและแต่งตั้งคณะกรรมดูแลรักษาป่า โดยมีชาวบ้านเป็นกรรมการทุกคนและมีปิดป้ายประกาศห้ามตัดไม้ทำลายป่าตั้งแต่นั้นมา คนในหมู่บ้านส่วนมากจะเข้าไปหาอาหารจากป่าทุกวัน ถ้าพบว่ามีคนมาตัดไม้ก็จะเข้ามาแจ้งกรรมการ คณะกรรมการก็จะรีบเข้าไปว่ากล่าวตักเตือน ถ้าพบครั้งที่สองก็จะจับส่งเจ้าหน้าที่ป่าไม้ทันที ปัจจุบันป่าห้วยตองสาด ก็กลับพลิกฟื้นคืนสู่สภาพป่าค่อนข้างสมบูรณ์

ไฟล์เพิ่มเติม เดิม::
 Download ไฟล์เอกสารผลงานวิชาการ   

Untitled Document
สงวนลิขสิทธิ์โดย มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่ และโรงเรียนชลประทานผาแตก
เว็บไซต์นี้เหมาะสำหรับการใช้งาน Internet Explorer เวอร์ชั่น 8 ขนาดหน้าจอ 1024 x 768 pixels