การพัฒนาครูในการสร้างฐานข้อมูลแหล่งเรียนรู้และภูมิปัญญาท้องถิ่นเพื่อยกระดับคุณภาพการสอน

- ข้อมูลผลการใช้แหล่งเรียนรู้และภูมิปัญญาท้องถิ่น-
---------------------------------------------------------------------------
ชื่อแหล่งเรียนรู้ ::
กลุ่มสาระการเรียนรู้::
  สังคม
  ภาษาต่างประเทศ
ชั้นปี::
  ป.4   ป.5   ป.6   ม.1
ชื่อผลงานวิจัย ::
  ผลการจัดการเรียนรู้โดยใช้แหล่งเรียนรู้ท้องถิ่นเป็นฐานเรื่อง ศาสนาพาสุข สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4
ชื่อผู้วิจัย ::
  ชเนตตี พิชัย พิพัฒน์ แสงคำ อุไร ปานะโปย กฤษณวัฒน์ ดาวแสง
วัตถุประสงค์ ::
  
  1. เพื่อศึกษาผลการจัดการเรียนรู้โดยใช้แหล่งเรียนรู้ท้องถิ่นเป็นฐานเรื่องศาสนาพาสุข ในกลุ่มสาระวิชาสังคมศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรม ประวัติศาสตร์ ภาษาอังกฤษ และคณิตศาสตร์สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4
  2.  เพื่อศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 ที่มีต่อการเรียนโดยใช้แหล่งเรียนรู้ท้องถิ่นเป็นฐาน เรื่องศาสนาพาสุข ในกลุ่มสาระวิชาสังคมศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรม ประวัติศาสตร์ ภาษาอังกฤษ และคณิตศาสตร์
บทคัดย่อ ::
  

บทคัดย่อ


            การวิจัยเรื่อง  ผลการจัดการเรียนรู้โดยใช้แหล่งเรียนรู้ท้องถิ่นเป็นฐาน เรื่อง ศาสนาพาสุข  สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 ครั้งนี้ ได้ทำการบูรณาการสาระการเรียนรู้ 4 วิชา เข้าด้วยกันได้แก่ สาระวิชาสังคมศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรม ประวัติศาสตร์ ภาษาอังกฤษ และคณิตศาสตร์ โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลการจัดการเรียนรู้โดยใช้แหล่งเรียนรู้ท้องถิ่นเป็นฐาน เรื่อง ศาสนาพาสุข  สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4  และเพื่อศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 ที่มีต่อการเรียนโดยใช้แหล่งเรียนรู้ท้องถิ่นเป็นฐาน เรื่อง ศานาพาสุข  กลุ่มเป้าหมายใช้ในการวิจัย  ได้แก่  นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 โรงเรียนชลประทานผาแตก  อำเภอดอยสะเก็ด  จังหวัดเชียงใหม่  สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเชียงใหม่ เขต 1  ภาคเรียนที่ 1  ปีการศึกษา 2557  แยกเป็นรายห้อง ได้แก่ ชั้นประถมศึกษาปีที่ 4/1 จำนวน 26 คน ชั้นประถมศึกษาปีที่ 4/2 จำนวน 24 คน รวมทั้งหมด 50 คน   เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษาประกอบด้วย  แผนการจัดการเรียนรู้โดยใช้แหล่งเรียนรู้ท้องถิ่น เรื่อง  ศานาพาสุข  สาระวิชาสังคมศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรม ประวัติศาสตร์ ภาษาอังกฤษ และคณิตศาสตร์  ชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 จำนวน 12 แผน แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน เรื่อง  ศาสนาพาสุข  เป็นแบบปรนัยชนิดเลือกตอบ 4 ตัวเลือก จำนวน 40 ข้อ   แบบสอบถามความพึงพอใจของนักเรียน มีประเด็นคำถามสำคัญ 3 ประเด็นได้แก่ ด้านบรรยากาศ  ด้านการมีส่วนร่วม  และด้านความรู้ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าร้อยละ และค่าเฉลี่ย  สรุปผลได้ดังนี้    
        1. ผลการจัดการเรียนรู้โดยใช้แหล่งเรียนรู้ท้องถิ่นเป็นฐาน สาระวิชาสังคมศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรม ประวัติศาสตร์ ภาษาอังกฤษ และคณิตศาสตร์ เรื่อง  ศาสนาพาสุข  ชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 
        ผลการจัดการเรียนรู้โดยใช้แหล่งเรียนรู้ท้องถิ่นเป็นฐาน โดยการเปรียบเทียบคะแนนก่อนเรียนและหลังเรียน พบว่า นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4  ทุกคนมีคะแนนผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนรายวิชาสังคมศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรม ประวัติศาสตร์ ภาษาอังกฤษ และคณิตศาสตร์ เรื่อง ศาสนาพาสุข   สูงกว่าก่อนเรียน โดยแยกเป็นรายชั้น จะพบว่า นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4/1 จะมีค่าเฉลี่ยสูงกว่านักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4/2 ทุกวิชา ได้แก่ วิชาสังคมศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรมประวัติศาสตร์ ภาษาอังกฤษ และคณิตศาสตร์ มีค่าเฉลี่ยหลังเรียนเท่ากับ 7.35, 6.5,  6.00, 8.31 ซึ่งสูงกว่า ชั้นประถมศึกษาปีที่ 4/2 ที่มีค่าเฉลี่ยหลังเรียนเท่ากับ  6.9, 5.7, 5.2, 7.5 ตามลำดับ และหลังจากเรียนโดยใช้แหล่งเรียนรู้ท้องถิ่นเป็นฐาน นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 ทุกคนมีพัฒนาการหลังการเรียนสูงกว่าก่อนเรียน

         2. ผลการศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 ต่อการเรียนโดยใช้               แหล่งเรียนรู้ท้องถิ่นเป็นฐาน เรื่อง ศาสนาพาสุข  
         ความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อการจัดการเรียนรู้โดยใช้แหล่งเรียนรู้ท้องถิ่นเป็นฐาน นักเรียนมีความพึงพอใจต่อการจัดการเรียนรู้โดยใช้แหล่งเรียนรู้ท้องถิ่นใน 3 ประเด็นแรกของแต่ละด้านพบว่า 
        ด้านบรรยากาศ  คือ มีความสุขมากกว่าเรียนในห้องเพราะได้ไปเรียนข้างนอก ได้สัมผัสของจริง และได้เห็นและสัมผัสความงามของวัด        
        ด้านการมีส่วนร่วม คือ  ได้วาดรูป และได้ลงมือปฏิบัติจริง    
        ด้านความรู้  คือ  มีพระช่วยบรรยายความรู้ต่างๆในวัด และทำให้เห็นถึงวิถีชีวิตของคนในท้องถิ่นผ่านศิลปะบนผนังวิหาร

รายละเอียดเพิ่มเติม ::
   
ไฟล์รายงานผลการวิจัย ::
    

Untitled Document
สงวนลิขสิทธิ์โดย มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่ และโรงเรียนชลประทานผาแตก
เว็บไซต์นี้เหมาะสำหรับการใช้งาน Internet Explorer เวอร์ชั่น 8 ขนาดหน้าจอ 1024 x 768 pixels