การพัฒนาครูในการสร้างฐานข้อมูลแหล่งเรียนรู้และภูมิปัญญาท้องถิ่นเพื่อยกระดับคุณภาพการสอน

- ข้อมูลแหล่งการเรียนรู้ -
---------------------------------------------------------------------------
ชื่อแหล่งเรียนรู้ ::
วัดวังธาร
ชื่อ-นามสกุล ผู้เก็บข้อมูล ::
นายภูมิศักดิ์ จอมธิ, นางสาวสญาภรณ์ เทพรักษ์
ประเภทแหล่งเรียนรู้ ::
แหล่งเรียนรู้ที่มนุษย์สร้างขึ้น
ที่ตั้ง / ที่อยู่ ::
153 หมู่ 8 ตำบลลวงเหนือ อำเภอดอยสะเก็ด จังหวัดเชียงใหม่
แผนที่ ::

การเดินทาง ::
ระยะทางห่างจากโรงเรียนประมาณ 1 กิโลเมตร การเดินทางสะดวก
พื้นที่บริการ ::
บ้านวังธาร
เบอร์โทรศัพท์ / โทรสาร(Fax) ::
080-6774569
ชื่อเว็บไซต์ ::
Moukdoisaket.com,Watwungtarn@facebook.com
เนื้อที่ ::
รูปภาพประกอบ ::

ประวัติความเป็นมา ::

          เมื่อประมาณ 100 ปีก่อน ป่าบ้านวังธารเป็นป่าที่อุดมสมบูรณ์มีแมกไม้หนาแน่นและมีสายน้ำที่ไหลเป็นธารที่กว้างใหญ่ไหลตลอดฤดูกาล มีวังน้ำที่ลึกและกว้าง เต็มไปด้วยสัตว์มากมายหลายชนิด ปัจจุบันสภาพความอุดมสมบูรณ์ของป่าได้ถูกทำลายไปบางส่วน

          พ.ศ.2518 ทางรัฐบาล ได้สำรวจพื้นที่และมีมติให้สร้างเขื่อนแม่กวงอุดมธารา โดยมีสันเขื่อนอยู่บริเวณป่าเหนือหมู่บ้านวังธารทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงของระบบนิเวศในป่า เป็นไปอย่างรวดเร็ว สัตว์ป่าและป่าไม้ได้ถูกทำลาย ทำให้ลำธารที่เคยลึกและกว้างถูกทับถมจนตื้นเขิน  สัตว์น้ำก็ลดน้อยลง สำหรับคำว่า “วังธาร” คำว่า “วัง” หมายถึง “วังวนของน้ำ” ลักษณะลึกและกว้างที่เวียนวนอยู่ตลอด คำว่า “ธาร” หมายถึง “โขดหิน” ลักษณะเหมือน “ศิลาแลง” คำว่า “ธาร” หมายถึง สายน้ำ ทั้ง “วัง” และ “ธาร” รวมกันเป็น “วังธาร” หมายถึง สายน้ำที่เป็นวังวนของน้ำที่ลึกและกว้างขวาง อันอุดมสมบูรณ์ด้วยสัตว์น้ำนานาพันธุ์ ลำธารหรือวังธารนี้ ถือเป็นแหล่งน้ำสำคัญสำหรับคนในท้องถิ่นและเหมาะสมกับภูมิศาสตร์ด้านการเกษตรด้วย จึงมีผู้คนทยอยอพยพมาอยู่ เริ่มก่อร่างสร้างเรือนกัน โดยมีผู้นำชุมชนเป็นผู้ตัดสินใจและตัดสินความในเรื่องราวต่างๆ ที่เกิดขึ้นกับคนในท้องถิ่น ตลอดถึงประกอบพิธีกรรมทางความเชื่อต่างๆ ด้วย หลังจากนั้นท้องถิ่นนี้ ถูกเรียกว่า “วังธาร”

          พ.ศ. 2490 มีผู้มาอยู่อาศัยบ้านวังธารประมาณ 40  หลังคาเรือน มีความเลื่อมใสศรัทธาพระพุทธศาสนา คนในชุมชนมักจะไปร่วมกิจกรรมวันสำคัญทางพระพุทธศาสนาที่วัดพระธาตุดอยสะเก็ดซึ่งยากลำบากในการเดินทาง

            พ.ศ. 2491  มีราษฎรหมู่บ้านผาแตก และหมู่บ้านวังธารได้ร่วมแรงกายแรงใจสร้างวิหารขึ้นมาหลังหนึ่ง นำโดย พ่ออุ้ยหน้อย แม่อุ้ยทา สุปินตา ปลูกสร้างด้วยไม้มุงด้วยหญ้าคากว้าง 5 เมตร ยาว 10 เมตร อยู่ทางทิศตะวันตกของดอยลองแล้วได้ไปกราบนิมนต์หลวงพ่อทา(ฉายาไม่ได้ปรากฏ)และหลวงพ่อพรหม พรหมจาโรทั้งสองท่านเป็นสหธรรมิกกัน จากสำนัก   วัดโพธิ์ทองเจริญ(ป่าตึง) มาจำพรรษาที่วัดดอยลองเป็นเวลา 1 ปี

          พ.ศ. 2492  ได้ย้ายมาปลูกสร้างใหม่อีกครั้งอยู่ทางทิศใต้ของดอยลอง เหตุที่ย้ายมาก็เพื่อให้วัดตั้งอยู่ศูนย์กลางระหว่างหมู่บ้านผาแตกและบ้านวังธารเพราะทั้งสองหมู่บ้านยังไม่มีวัดที่ประกอบพิธีกรรมทางพระพุทธศาสนา

          พ.ศ. 2495 หลวงพ่อทาได้มรณภาพ เหลือแต่หลวงพ่อพรหม พรหมจาโรจำพรรษาเพียงลำพัง และในปีเดียวกันพ่อแสง  ก้อนยะ พ่อสม  คำยอดใจ และพ่อน้อยนวล  สุนันตา ได้ทำเรื่องถึงพระครูสังฆกิจจารักษ์ รักษาการเจ้าคณะอำเภอดอยสะเก็ดขอย้ายวัดดอยลอง มาตั้งอยู่ในหมู่บ้านวังธารแห่งนี้ สาเหตุการย้ายเนื่องจากขาดแคลนน้ำอุปโภค บริโภค เพราะตั้งอยู่บนเนินสูง ต่อมาพระครูสังฆกิจจารักษ์ได้เดินทางมาสำรวจยังพื้นที่ที่จะตั้งวัด ท่านเห็นว่าเหมาะสมแก่การสร้างวัด และมีผู้ถวายที่ดินที่จะสร้างวัดด้วยความศรัทธาอันแรงกล้า คือ พ่อแสง ก้อนยะ พ่อสม คำยอดใจ พ่อหลวงมูล สหัสแปง พ่อคำ ชัยศรยิ่ง พ่อสาม เครื่องคำ พ่อน้อยศรีนวล สุนันตา  พ่อเสาร์ เครื่องคำ พ่อดี สุดาจันทร์ พ่อก๋องแก้ว  คำอดทน และพ่อน้อยทา ครินท์ชัย ต่อมาพระครูสังฆกิจจารักษ์อนุญาตให้ตั้งเป็นสำนักสงฆ์และท่านก็ได้รายงานไปยังกรมการศาสนา สำนักสงฆ์แห่งนี้ได้เชื่อว่า “สำนักสงฆ์วังธาร” โดยมีหลวงพ่อพรหม  พรหมจาโร เป็นเจ้าสำนักสงฆ์และได้ขึ้นอยู่กับกองทะเบียนกรมการศาสนาในปี พ.ศ. 2496 เป็นต้นมา

            พ.ศ. 2500 หลวงพ่อพรหม พรหมจาโร ขอย้ายไปอำเภอเวียงป่าเป้า จังหวัดเชียงราย และในปีเดียวกันนั้น พ่อแสง ก้อนยะ ได้ร่วมกับคณะศรัทธาได้สร้างวิหารขึ้นหลังหนึ่ง

            พ.ศ.2502 ได้นิมนต์พระอธิการหมื่น  ญาณรสี มาเป็นเจ้าสำนักสงฆ์

            พ.ศ.2510 ทางกรมการศาสนาได้ยกวัดที่เป็นสำนักสงฆ์ให้เป็นวัดราษฎร์

            พ.ศ.2512 หลวงพ่อหมื่น ญาณรังสี ได้ขอย้ายไปอยู่ยังวัดน้อยสันกำแพง ทำให้ตำแหน่งเจ้าอาวาสวัดวังธารว่างไปจนถึงปี พ.ศ.2521

            พ.ศ.2521 เจ้าคณะได้แต่งตั้งพระคำปัน กิตติโสภโณ เป็นผู้รักษาเจ้าอาวาส

            พ.ศ.2525 ได้รับพระราชทานวิสุงคามสีมา

            พ.ศ.2528 สร้างอุโบสถหลังหนึ่ง โดยคุณอำไพ  บัวเย็น เป็นเจ้าภาพ

            พ.ศ.2535 คณะศรัทธาได้ร่วมกันสร้างกุฎิหลังหนึ่ง แล้วเสร็จในปี พ.ศ.2538 โดยใช้ชื่อกุฎิว่า “กิตติโสภโณ” เพราะเป็นปีเดียวกันที่พระคำปัน กิตติโสภโณ ได้มรณภาพลง (ด้วยโรคลมปัจจุบันหรือเส้นเลือดในสมองแตก)

            พ.ศ.2539 ได้นิมนต์พระกนิษฐ์ คนธสีโล เป็นรองเจ้าอาวาสวัดขุนยวม จังหวัดแม่ฮ่องสอน มาเป็นรักษาการแทนเจ้าอาวาส

            พ.ศ. 2541 เจ้าคณะตำบลได้แต่งตั้งให้พระกนิษฐ์ คนธสีโล เป็นเจ้าอาวาส

           พ.ศ. 2551 ได้รื้อถอนวิหารหลังเก่าที่ชำรุดทรุดโทรม แล้ววางศิลาฤกษ์

           ปัจจุบันวัดวังธารตั้งอยู่ เลขที่ 153 หมู่ 8  ตำบลลวงเหนือ อำเภอดอยสะเก็ด จังหวัดเชียงใหม่      มีพื้นที่ทั้งหมด 11 ไร่ 3 งาน (น.ส.3ก เลขที่ 791 ) และมีที่ธรณีสงฆ์อีกจำนวน 1 แปลงมีเนื้อที่ 15 ไร่ 2 งาน (น.ส.4จ เลขที่ดิน 307) และมีพระสงฆ์ดำรงตำแหน่งเจ้าอาวาสตามลำดับดังนี้

  1. พระครูบาพรหม   พรหมจาโร       ผู้ก่อตั้งวัด  พ.ศ. 2496
  2. พระอธิการหมื่น   ญาณรสี           พ.ศ. 2502 – 2512
  3. พระอธิการคำปัน  กิตติโสภโณ      พ.ศ. 2521 – 2538
  4. พระอธิการกนิษฐ์  คนธสีโล          พ.ศ. 2539 – 2542
  5. พระอธิการอุทัย    อุทโย              พ.ศ. 2543 – 2552
  6. พระการุณย์         จารุโภ             พ.ศ. 2553 - 2554
  7. พระอธิการบุญทอง  วิชรญาณพาที พ.ศ. 2554 – ปัจจุปัน
ชื่อ-นามสกุล ผู้รับผิดชอบ/ผู้ดูแล ::
พระอธิการบุญทอง วิชรญาณพาที
ข้อมูลบุคลากร ::

พระอธิการบุญทอง  วิชรญาณพาที ดำรงตำแหน่งเจ้าอาวาส เมื่อปีพ.ศ. 2554 – ปัจจุปัน

ความสำคัญหรือจุดเด่น ::

          วัดวังธารเป็นศูนย์รวมที่ยึดเหนี่ยวจิตใจของชาวบ้านวังธารและชาวบ้านผาแตก มาช้านานเป็นสถานที่ที่ให้ประโยชน์แก่ชุมชนเป็นอย่างมากทั้งทางด้านศาสนาและ ด้านการศึกษาด้วย เป็นแหล่งศึกษาธรรมะและยังมีศูนย์คอมพิวเตอร์เปิดให้เยาวชนได้เข้ามาศึกษาหา ความรู้ เป็นจุดศูนย์กลางแหล่งเรียนรู้ชุมชน ที่ตระหนักถึงความรู้ ความประพฤติ ให้แก่คนในชุมชนมีทั้งบรูณาการการรณรงค์ ป้องกัน รักษา และพื้นฟูเพื่อให้เกิดองค์ความรู้ชุมชนการขับเคลื่อนโครงการต่าง ๆ ประกอบด้วย

  1. พระสงฆ์
  2. ผู้นำชุมชน
  3. หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง

           นอกจากนั้นในบริเวณวัดยังสะอาดร่มรื่นมีห้องน้ำที่สร้างขึ้นใหม่และได้องค์กรนักศึกษาจากคณะสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชมงคลล้านนา ได้เข้ามาช่วยจัดสวนหย่อมเพื่อเป็นการกุศลถวายแก่วัด ทำให้บริเวณวัดดูเป็นธรรมชาติและสงบเงียบ ทางเข้าวัดยังมีแหล่งเรียนรู้ซึ่งเป็นรูปปั้นของสัตว์ประจำปีเกิด หรือ 12 นักษัตรซึ่งเป็นแหล่งเรียนรู้ได้อย่างดี

รายละเอียดของแหล่งเรียนรู้::

         วัดวังธารมีประวัติความเป็นมาที่ยาวนาน ก่อตั้งมาเป็นเวลากว่า 62 ปี จึงเป็นวัดที่เป็นแหล่งเรียนรู้ที่อยู่ในชุมชนใกล้เคียง ซึ่งในบริเวณรอบโรงเรียนยังมีวัดใหม่ชลประทานชูชาติ วัดม่อน วัดข้างน้ำ รวมทั้งหมดจำนวน 4 วัด สามารถเป็นแหล่งเรียนรู้ทางศาสนาและวัฒนธรรมได้เป็นอย่างดี

แนวทางของศูนย์การเรียนรู้วัดวังธาร

กิจกรรมเชิงรุก

  1. ครอบครัวใกล้ชิด  อาทิตย์ใกล้พระ
  2. ค่าย Dhamma  camp  (พระพุทธศาสนาและภาษาอังกฤษ)
  3. ธรรมะรอบรู้ลวงเหนือ
  4. ชมรมจักยานวัดวังธาร
  5. ปันน้ำใจ
  6. วันพระปลอดเหล้า
  7. ชุมชนต้นแบบในด้านการจัดการเครื่องดื่มแอลกอฮอส์

กิจกรรมเชิงรับ

  1. บำบัดพื้นฟูผู้ติดสุราเรื้อรัง
  2. บำบัดรักษาผู้ติดสุราแนว คริสต์
  3. กิจกรรมตามวันสำคัญ
  4. ห้องเรียนรู้ กศน. ตำบลลวงเหนือ
  5. งานศพปลอดเหล้า

ด้านการศึกษา

      1. เรียนรู้ภาอังกฤษ

      2. เรียนคอมพิวเตอร์

      3. เรียนว่ายน้ำ (สระวังธารรีสอร์ท)

      4. ศิลปะ (วาดรูป)

      5. หัตถกรรม (การ์ดอวยพร)

      6. Meditation (สมาธิสำหรับฝรั่ง)

      7. พระพุทธศาสนา

กิจกรรมเพิ่มเติม

  1. ค่ายประจำปี(คุณธรรมเชิงภาษาอังกฤษ)
  2. วันเด็กแห่งชาติ
  3. ตักบาตรวันเป็งปุ๊ด
ไฟล์เพิ่มเติม เดิม::
 Download ไฟล์เอกสารผลงานวิชาการ   

Untitled Document
สงวนลิขสิทธิ์โดย มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่ และโรงเรียนชลประทานผาแตก
เว็บไซต์นี้เหมาะสำหรับการใช้งาน Internet Explorer เวอร์ชั่น 8 ขนาดหน้าจอ 1024 x 768 pixels