การพัฒนาครูในการสร้างฐานข้อมูลแหล่งเรียนรู้และภูมิปัญญาท้องถิ่นเพื่อยกระดับคุณภาพการสอน

- ข้อมูลภูมิปัญญาท้องถิ่น-
---------------------------------------------------------------------------
ชื่อภูมิปัญญาท้องถิ่น ::
ดนตรีพื้นเมือง
ชื่อ-นามสกุล เจ้าของภูมิปัญญาท้องถิ่น ::
นายวรวิทย์ เครื่องนันตา
วัน/เดือน/ปีเกิด เจ้าของภูมิปัญญาท้องถิ่น ::
7 พฤศจิกายน 2511
เบอร์โทรศัพท์ ::
086-9107658
ชื่อ-นามสกุล ผู้เก็บข้อมูล ::
นายสมพงษ์ ขมหวาน
ประเภทภูมิปัญญาท้องถิ่น ::
ด้านศิลปวัฒนธรรม
ที่ตั้ง / ที่อยู่ ::
26 หมู่ที่ 8 บ้านวังธาร ตำบลลวงเหนือ อำเภอ ดอยสะเก็ด จังหวัดเชียงใหม่
แผนที่ ::

การเดินทาง ::
ระยะทางห่างจากโรงเรียนประมาณ 2 กิโลเมตร การเดินทางสะดวก
ประวัติการศึกษาและการอบรม ::

ประวัติการศึกษา
- สำเร็จการศึกษาชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 โรงเรียนชลประทานผาแตก อำเภอดอยสะเก็ด 
- มัธยมศึกษาตอนปลาย โรงเรียนดอยสะเก็ดวิทยาคม  
- ระดับปริญญาตรีรัฐศาสตร์ จากมหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย วิทยาเขตล้านนา
ประวัติการฝึกอบรม
- เริ่มจากการเห็นตัวอย่างการเล่นตอนเป็นเด็ก ในงานต่าง ๆ ทำให้อยากเล่นดนตรีได้  คนที่เล่นดนตรีได้จะดูดี มีเสน่ห์ ทำให้ได้รับความสนใจเห็นบ่อย ๆ อยากเล่นเป็นจึงเริ่มดูหนังสือ เริ่มจับคอร์ดเอไมเนอร์  ในช่วงที่เรียนประถมตอนพักกลางวันวิ่งไปกลับเพื่อไปจับคอร์ดบีแฟลต
- ตอนเด็กได้รับการดูถูก เล่นได้ไม่ดี ทำให้มีความมุมานะเพื่อทำให้คนยอมรับว่า สามารถทำได้
- เล่นดนตรีตั้งแต่ชั้นประถมศึกษาปีที่ 5  โดยเล่นวงดุริยางค์ของโรงเรียนชลประทานผาแตก จากการหัดเล่นเมโลเดียน  
- ฝึกฝนและพัฒนาตัวเองทุกวัน  ทำการบ้านวันต่อวัน  โดยเพลงที่เล่นไม่ได้จะเอาโน๊ตเพลงมาเปิดเทปฟัง และฝึกเล่น
- ภาพลักษณ์เป็นนักดนตรี ดีเจ พิธีกร  ต้นแบบคือคุณปื้ด มือกีตาร์(ทำงานอยู่กองคลังดอยสะเก็ด)

ปัจจุบันดำรงตำแหน่ง ::
1. สมาชิกสภาเทศบาลตำบลลวงเหนือ อำเภอดอยสะเก็ด จังหวัดเชียงใหม่ 2. คณะกรรมการหมู่บ้านบ้านวังธาร 3. อาสาสมัครป้องกันภัยฝ่ายพลเรือน (อปพร.) 4. คณะกรรมการศิษย์เก่าโรงเรียนชลประทานผาแตก
ผลงานและความภาคภูมิใจ ::

1. ไปร่วมทำวงดนตรีที่โรงเรียนดอยสะเก็ดวิทยาคม 
2. มีอัลบั้มเป็นของตัวเอง (เป็นเพลงเกี่ยวกับชุมชน)
3. เรียบเรียงดนตรี  ให้กับ  “ยิวคนเขียนเพลง”
4. แต่งเพลงมาร์ชโรงเรียนชลประทานผาแตก  ชื่อเพลง “โรงเรียนของเรา”
5. สอบได้เป็นผู้ประกาศของกรมประชาสัมพันธ์
6. ทำดนตรีให้น้องเดียว ร้องเพลงลมหายใจปลายด้ามขวาน จำนวน  3  ชุด
7. เข้าร่วมประกวดร้องเพลงในงานฤดูหนาว ในช่วงวันที่ 27 – 28 กุมภาพันธ์  2558  เป็นตัวแทนท้องที่ (ตัวแทนกำนัน/ผู้ใหญ่บ้าน)  และท้องถิ่น(ตัวแทนเทศบาล) ของ อำเภอดอยสะเก็ด ประจำปี 2558  มีผู้เข้าแข่งขันประกวดร้องเพลง  50 กว่าคน ผลการแข่งขันติด  1  ใน  5  ได้รางวัลชมเชย ใช้เพลงดำเนินจ๋า ของสุรพล  สมบัติเจริญ ขับร้อง  ชาวบ้านหมู่ 2, 8, 9 ไปเชียร์กันเยอะมาก

 

 

 

องค์ความรู้ของภูมิปัญญา ::

     สามารถเล่นเครื่องดนตรีได้ทุกตัวทั้งดนตรีไทย และดนตรีสากล  จากการเรียนรู้ด้วยตนเอง ด้วยการดูคนอื่นเล่น แล้วมาฝึกด้วยตัวเอง

ขั้นตอนการจัดการภูมิปัญญา ::

1. มีความอยากเรียน อยากเล่นดนตรีเป็น คิดว่าการเล่นดนตรีทำให้เกิดความสนุก ได้พบปะพูดคุยกัน 
2. เริ่มเล่นดนตรีโดย ต้องจำบทเพลงให้ได้ก่อน  อาจจำเป็นเนื้อเพลง หรือเป็นโน้ต
3. จำทำนองเพลง
4. คนสอนเล่นให้ฟังก่อน สำหรับคนที่ร้องเพลงได้เวลาเล่นดนตรีจะเล่นได้เร็ว
5. ฝึกเล่น  ต้องเล่นดนตรีด้วยความตั้งใจ  

รูปภาพประกอบ ::

        

              สะล้อ หรือ ทะล้อ

 

                กลองสะบัดชัยโบราณ

                  กลองตึ่งโนง

ข้อมูลอื่นๆ เพิ่มเติม ::

    การฝึกเล่นดนตรีต้องเป็นไปด้วยความสนใจ ความสมัครใจ  มีใจรัก  มีใจชอบเป็นไปโดยธรรมชาติของแต่ละบุคคล จะเกิดผลที่เด่นชัดและประสบผลสำเร็จในตัวเองอีกทั้งยังส่งผลดีอันนี้แก่สังคม วัฒนธรรมความเป็นอยู่ในชีวิตประจำวัน
สะล้อหรือ ทะล้อ
     สะล้อ เป็นเครื่องสี ลักษณะคลายซออู้ แต่ทำไม่ค่อยประณีตนัก คันทวนยาวประมาณ 64 ซม. กะโหลกซอทำด้วยกะลามะพร้าว ใช้แผ่นไม้บาง ๆ ปิดหน้า กระโหลกแทนการใช้หนัง ลูกบิดมี 2 อัน เจาะเสียบทแยงกัน มีสายเป็นสายลวดทั้ง 2 สาย คันชักแยกต่างหากจากตัวซอ สะล้อใช้เล่นผสมกับซึง และปี่ซอ ประกอบ การขับร้อง เพลงพื้นเมืองทางเหนือ 
     สะล้อหรือ ทะล้อ เป็นเครื่องสายบรรเลงด้วยการสี ใช้คัน ชักอิสระ ตัวสะล้อที่เป็นแหล่งกำเนิด เสียง ทำด้วยกะลามะพร้าว ตัดและปิดหน้าด้วยไม้บาง ๆ มีช่องเสียงอยู่ด้านหลัง คันสะล้อทำด้วย ไม้สัก หรือไม้เนื้อแข็งอื่น ๆ โดยปกติจะ ยาวประมาณ 60 เซนติเมตร ลูกบิดอยู่ด้านหน้านิยม ทำเป็นสองสาย แต่ที่ทำเป็นสามสายก็ มีสาย ทำด้วยลวด(เดิมใช้สายไหมฟั่น) สะล้อมี 3 ขนาด คือ สะล้อเล็ก สะล้อกลาง และสะล้อใหญ่ 3 สาย
     ประวัติความเป็นดนตรีพื้นบ้านภาคเหนือ
ดนตรีพื้นบ้านเป็นดนตรีชาวบ้านสร้างสรรค์ขึ้นด้วนการร้องหรือบรรเลงโดยชาว บ้านและชาวบ้านด้วนกันเป็นผู้ฟัง ดนตรีพื้นบ้านมีลักษณะดังนี้ 
     1. เป็นดนตรีของชาวบ้าน ส่วนมากเกิดขึ้นและพัฒนาในสังคมเกษตรกรรม มีลักษณะที่ไม่มีระบบกฎเกณฑ์ชัดเจนตายตัว ประกอบกับใช้วิธีถ่ายทอดด้วนปากและการจดจำ จึงเป็นเหตุให้ไม่มีใครเอาใจใส่ศึกษาหรือจดบันทึกไว้เป็นหลักฐานดังเช่น ดนตรีสากล 
     2. เป็นดนตรีที่มีเอกลักษณ์เฉพาะถิ่น แต่ละท้องถิ่นจะมีดนตรีที่มีสำเนียง ทำนอง และจังหวะลีลาของตนเอง ดนตรีพื้นบ้านส่วนใหญ่มีทำนองที่ประดิษฐ์ดัดแปลงมาจากทำนองของเสียงธรรมชาติ ตัวอย่างเช่น ซอของดนตรีภาคเหนือ คือ เพลงจะปุ มีทำนองอ่อนหวานตามสำเนียงพูดของคนไทยชาวเมืองจะปุในแคว้นสิบสองปันนาหรือ ซอล่องน่าน ของจังหวัดน่านมีทำนองเหมือนกระแสน้ำไหล 
      ลักษณะการบรรเลงพื้นบ้านภาคเหนือ
     ชาวบ้านล้านนาในอดีต มักนิยมใช้เวลาว่างในตอนกลางคืนให้เป็นประโยชน์ โดยเฉพาะผู้หญิงสาว ภารกิจที่เป็นประโยชน์มักจะได้แก่ การคัดเลือกเมล็ดพันธุ์พืชเพื่อเตรียมไปเพาะปลูกในวันรุ่งขึ้น บางทีก็ “ ไซ้(เลือก)” พืชผลทางการเกษตรที่ผลิตออกมาเพื่อจำหน่าย จึงกลายเป็นจุดศูนย์กลางและการดึงดูดความสนใจของหนุ่ม และกลายเป็นศูนย์รวม “นักแอ่วสาว” ทั้งหลายและดนตรีคู่กายชายหนุ่มย่อมนำมาใช้ตามความถนัด สันนิฐานว่าคงมีการนัดหมายเพื่อให้มาบรรเลง แนวเดียวกัน จึงเป็นการพัฒนาการขั้นแรกของการผสมวงดนตรี กลุ่มนักแอ่วสาวตามลานบ้านประกอบด้วยเครื่องดนตรี เปี๊ยะ สะล้อ ซึง ขลุ่ย ปี่ กลองพื้นเมือง (กลองโป่งป้ง) จึงกลายเป็นดนตรีพื้นบ้านภาคเหนือโดยปริยาย นิยมเรียกตามชนิดของเครื่องดนตรีที่นำมาผสมเป็นวงว่า “วงสะล้อซอซึง”
     ลักษณะเด่นของดนตรีพื้นบ้าน
     ดนตรีเป็นเครื่องมือสื่อสารและสื่อความหมายอย่างดียิ่งประเภทหนึ่ง รองลงมาจากภาษา ทุกท้องถิ่นทั่วโลกจึงมีดนตรีและภาษาเป็นของตนเอง หากเราได้มีโอกาสศึกษาอย่างถ่องแท้ จะทราบได้ว่า ทั้งภาษาและดนตรีมีแหล่งกำนิดจากที่เดียวกัน เมื่อแพร่หลายกว้างขวางออกไปมากยิ่งขึ้น จึงเริ่มเกิดความแตกต่างเป็นดนตรีเฉพาะถิ่นหรือภาษาถิ่น
     วงดนตรีพื้นเมืองและนักดนตรีพื้นเมืองแต่ละท้องถิ่นนั้น นิยมบรรเลงกันตามท้องถิ่น และยึดเป็น “อาชีพรอง”ยังคงเล่นดนตรีแบบดั่งเดิม ทำนองเพลง ระเบียบวินัย และวิธีการเล่น จึงไม่ตรงตามหลักสากล จุดบกพร่องเหล่านี้ถือเป็นเอกลักษณ์ท้องถิ่นที่น่าศึกษา
     แนวทางในการอนุรักษ์และฟื้นฟู และมีวิธีการสืบทอดภูมิปัญญาสู่ชนรุ่นหลัง
     ดนตรีไทยพื้นบ้านภาคกลางและภาคเหนือ ต่างมีแนวทางการอนุรักษ์ในรูปแบบเดียวกันคือวิทยาลัยนาฏศิลป วิทยาลัยนาฏ-ศิลปเชียงใหม่ ได้จัดทำเป็นหลักสูตรการศึกษาภาคบังคับ สำหรับภาคดนตรีไทย เปิดโอกาสให้นักเรียนที่สนใจเข้าศึกษาในระบบ 
แนวโน้มของการสูญหายไม่มีโอกาสเป็นไปได้ เนื่องจากวิทยาลัยนาฏศิลป  และวิทยาลัยนาฏ-ศิลปเชียงใหม่ ได้มีการผลิตบุคลากรทางด้านดนตรีทั้งสองชนิดอย่างต่อเนื่อง 
“ การอนุรักษ์ดนตรีพื้นบ้านเป็นสิ่งที่สำคัญเพราะแนวโน้มการศูนย์หายของดนตรี พื้นบ้านมีมากขึ้น นักเรียนและคนรุ่นใหม่ไม่ค่อยนิยม แต่ถ้าหน่วยงานภาครัฐบาลสร้างความเข้มแข็งให้กับชุมชนรวมทั้งจัดงบประมาณใน การจัดซื้อหรือตั้งหน่วยงานสอนทำเครื่องดนตรีพื้นบ้านก็เป็นการอนุรักษ์อีก ทาง”(ศิวาไลย์ ศรีสุดดี  และประชา คชเดช,  https://sites.google.com, 24 ก.พ. 58, 11.32 น.)

 

 

ไฟล์เพิ่มเติม::
 Download ไฟล์เอกสารผลงานวิชาการ   

Untitled Document
สงวนลิขสิทธิ์โดย มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่ และโรงเรียนชลประทานผาแตก
เว็บไซต์นี้เหมาะสำหรับการใช้งาน Internet Explorer เวอร์ชั่น 8 ขนาดหน้าจอ 1024 x 768 pixels