การพัฒนาครูในการสร้างฐานข้อมูลแหล่งเรียนรู้และภูมิปัญญาท้องถิ่นเพื่อยกระดับคุณภาพการสอน

- ข้อมูลภูมิปัญญาท้องถิ่น-
---------------------------------------------------------------------------
ชื่อภูมิปัญญาท้องถิ่น ::
ค่าวจ้อย
ชื่อ-นามสกุล เจ้าของภูมิปัญญาท้องถิ่น ::
แม่ทองดี บัวดอกปุ๊ด
วัน/เดือน/ปีเกิด เจ้าของภูมิปัญญาท้องถิ่น ::
กรกฎาคม 2484
เบอร์โทรศัพท์ ::
053 – 291585
ชื่อ-นามสกุล ผู้เก็บข้อมูล ::
นางเกศรินทร์ ลอรักษา,นางเกศรินทร์ ลอรักษา
ประเภทภูมิปัญญาท้องถิ่น ::
ด้านศิลปวัฒนธรรม
ที่ตั้ง / ที่อยู่ ::
136/2 หมู่ที่ 9 บ้านใหม่ริมคลอง ตำบลลวงเหนือ อำเภอดอยสะเก็ด จังหวัดเชียงใหม่
แผนที่ ::

การเดินทาง ::
ระยะทางจากโรงเรียนประมาณ 1 กิโลเมตร การเดินทางสะดวก
ประวัติการศึกษาและการอบรม ::

การศึกษา
- จบชั้นประถมศึกษาปีที่ 4  โรงเรียนทุ่งป่าแกจังหวัดลำพูน
การอบรม
- ช่วงอายุ 12-13 ปี เป็นศิษย์พ่ออุ้ยหนานอ้าย จอมแปงที่มีความสามารถในการเล่า ค่าวจ๊อย ในพิธีกรรมทางศาสนา เช่น การเล่าค่าวในงานศพ  และได้ฝึกฝนเรื่อยมา จนถึงปัจจุบัน

ปัจจุบันดำรงตำแหน่ง ::
ผลงานและความภาคภูมิใจ ::

1. ร่วมการประกวดการเล่าค่าว ได้รับรางวัลชมเชยประกวดจ๊อยของชมรมผู้สูงอายุ อำเภอดอยสะเก็ด
2.ได้ไปเล่าค่าว ที่งานตานสิงห์  ที่วัดศรีมุงเมือง  ตำบลลวงเหนือ  อำเภอดอยสะเก็ด จังหวัดเชียงใหม่ และเล่าค่าวซะป๊ะของดีอำเภอดอยสะเก็ด
3. เล่าค่าวในประเพณีปีใหม่เมือง (วันผู้สูงอายุ) ที่เทศบาลลวงเหนือ อำเภอดอยสะเก็ด จังหวัดเชียงใหม่
4.ให้ความรู้ และสอนการเล่าค่าวแก่นักเรียนที่โรงเรียนชลประทานผาแตก ตำบล   ลวงเหนือ  อำเภอดอยสะเก็ด จังหวัดเชียงใหม่

องค์ความรู้ของภูมิปัญญา ::

     การเล่าค่าวจ๊อย เป็นวิธีขับลำนำโดยใช้ค่าวเป็นเนื้อหาหลัก บางทีเรียกว่า จ๊อยค่าว วิธีขับจ๊อยมักจะดำเนินท่วงทำนองไปอย่างช้าๆ มีการเอื้อน อาจมีเครื่องดนตรี บรรเลงคลอประกอบหรือไม่ก็ได้ ลีลาและทำนองจ๊อยที่นิยมใช้ ได้แก่ โก่งเฮียวบ่ง ม้าย่ำไฟ และทำนองวิงวอน
     จ๊อย  มีมานานตั้งแต่สมัยโบราณ   ปัจจุบันไม่มีคนสืบทอด  เด็ก ๆ คนรุ่นใหม่ไม่ค่อยรู้จัก  หาฟังได้ยาก ค่าวตอนแม่ทองดีที่ชอบและร้องได้เลยคือ ค่าวบัวระวงศ์  ตอน 2 พี่น้องหลงป่า  จากนิทาน 4 เรื่อง  แล้วนำเรื่องเหล่านั้นมาเรียบเรียงเป็นจ๊อย ประกอบด้วย
     1. หงส์หิน 
     2. วงศ์สวรรค์ 
     3. วรรณพราหมณ์ 
     4. บัวระวงศ์

ขั้นตอนการจัดการภูมิปัญญา ::

1. ก่อนที่จะเล่าค่าวจ๊อย จะต้องมีแต่งค่าวขึ้นมาก่อน โดยผู้แต่งค่าวให้แม่ทองดีเล่าได้แก่ พ่อหนานบัติ  ลุ่มน้ำกวง จะแต่งค่าวออกมาตามงานที่จะไปเล่า ให้เหมาะสมกับโอกาสนั้น ๆ และนำมาให้แม่ทองดีไปเป็นผู้เล่า
2. ก่อนที่จะร้องค่าวในแต่ละครั้งนั้น จะเริ่มร้องขึ้นตามเนื้อหาที่ได้จากการแต่งขึ้นมา โดยมีการแบ่งวรรคในการร้อง มีการเอื้อนลูกคอ เพื่อให้เนื้อร้องมีความน่าสนใจ

                                

รูปภาพประกอบ ::
ข้อมูลอื่นๆ เพิ่มเติม ::

ประวัติความเป็นมา
     “ค่าว” หมายถึง คำประพันธ์ที่มีลักษณะร้อยสัมผัสสอดเกี่ยวกันไป(แบบร่าย) และจบลงด้วยโคลงสองหรือโคลงสามสุภาพ มีหลายชนิด เช่น
      - เรื่องที่ปรากฏในเทศนาธรรมเรียกว่า “ค่าวธรรม” 
      - แต่งเป็นจดหมายรักเรียกว่า”ค่าวใช้” 
       - นำไปอ่านเป็นทำนองเสนาะเรียกว่า “ค่าวซอ” หรือ “เล่าค่าว” 
      - เป็นการขับลำนำตอนไปแอ่วสาว เรียกว่า “จ๊อย” 
     ศิริพงศ์ วงศ์ไชย ได้กล่าวถึง ค่าว หรือ ค่าวฮ่ำ ไว้ว่า ค่าวเป็นร้อยกรองชนิดหนึ่งของล้านนาไทย ถือเป็นวรรณกรรมของชาวล้านนาในสมัยโบราณ ชาวล้านาสมัยโบราณโดยเฉพาะหนุ่ม สาว นิยมพูดจาหยอกล้อ กระเซ้าเย้าแหย่กัน พูดจาโต้ตอบหรือจีบกัน ด้วย ค่าวฮ่ำ หรือกำค่าว กำเครือ ถ้าเป็นหนุ่มก็จะเป็นที่ชื่นชอบของสาว ๆ เพราะถือว่าเก่ง มีความรู้ ความสามารถเชิงกวี 
     ผู้ที่มีชื่อเสียงในการแต่งค่าวในสมัยก่อน ได้แก่พระยาพรหมโวหาร ซึ่งมีผลงานเป็นที่รู้จัก คือ ค่าวพระยาพรหม “ สามตัวเหลียว เจ็ดตัวเทียว บาทหลังบาทหน้า” คือ กลอนตัวต้นมี 3 ตัว วรรคถัดไปมี 4 ตัว รวมเป็น 7 ตัวและเหลียวมาสัมผัสตัวหน้าในวรรคต่อไป
     อาจารย์สิงฆะ วรรณสัย อ้างใน มณี พยอมยงค์ (25..,หน้า 1) กล่าวไว้ในหนังสือปริทัศน์วรรณคดีล้านนาว่า คร่าว(ค่าว) คือเรื่องราวที่แต่งขึ้นเพื่อพรรณนาเรื่องราวต่าง ๆ ให้ผู้อ่าน ผู้ฟังได้รับความเพลิดเพลินใจ แบ่งออกเป็น 4 ประเภทคือ 
     1) คร่าวธรรม หรือธรรมค่าว ได้แก่ คัมภีร์ชาดก เช่น ปัญญาชาดก ซึ่งพระสงฆ์นิยมใช้เทศนาให้อุบาสกอุบาสิกาฟังในเทศกาลเข้าพรรษา เพราะประชาชนนิยมเข้าวัดฟังธรรมในวันธรรมสวนะตลอดพรรษา 
     2) คร่าวซอ เกิดจากการนำเอาคร่าวธรรมหรือชาดมาแต่งเป็นกลอนคร่าวเพิ่มเติมเนื้อหาเกี่ยวกับเรื่องของชาวบ้านเข้าไปเพื่อให้คนหนุ่มสาวในล้านนาได้อ่าน ฟังกัน ทำให้เกิดวรรณกรรมสำคัญหลายเรื่องเช่น คร่าวหงส์หิน คร่าวสุวัตร เป็นต้น 
     3) คร่าวใช้ หมายถึง จดหมายรักหรือเพลงยาวที่แต่งเป็นฉันทลักษณ์คร่าว ซึ่งชายหนุ่มส่งให้หญิงสาว แล้วหญิงสาวตอบจดหมายเรียกว่า คร่าวใช้ คือชดใช้ที่หนุ่มเขียนจดหมายถึงตน โดยมากจะไปขอให้พวกกวีเขียนให้ จึงมีสำนวนไพเราะและกินใจ 
     4) คร่าวร่ำ หรือ คร่าวฮ่ำ ได้แก่วรรณกรรมที่แต่งด้วยฉันทลักษณ์คร่าวพรรณนาเหตุการณ์ทั้งหลายที่กวีได้พบเห็น แล้วนำมาแต่งเป็นการรำพัน หรือร่ำพรรณนา จึงเรียกว่า คร่าวร่ำ

     “จ๊อย” เป็นการขับลำนำอย่างหนึ่งของภาคเหนือ เป็นถ้อยคำที่กล่าวออกมาโดยมีสัมผัสคล้องจองกันเป็นภาษาพื้นเมือง ออกเสียงสูง ๆ ต่ำ ๆ เป็นทำนองเสนาะ ฟังแล้วจะเกิดความไพเราะ สนุกสนานไปตามท่วงทำนองจ๊อย จัดอยู่ในวรรณกรรมประเภท “ค่าว” และ      “ซอ” โดยทั่วไป “จ๊อย” จะเป็นการขับลำนำที่หนุ่มชาวเหนือขับร้องเพื่อ จะได้มีเสียงร้อง เป็นเพื่อนขณะเดินทางไปแอ่วสาวในเวลากลางคืน การจ๊อยไม่จำเป็นต้องมีเครื่องดนตรีประกอบเหมือนอย่างซอ แต่บางครั้งบ่าวอาจจะดีดซึง ดีดเปี๊ยะหรือสีสะล้อคลอไปด้วยก็ได้ ในอดีตการที่หนุ่มสาวจะตกลงปลงใจยินยอมมาใช้ชีวิตร่วมกันฉันท์สามีภรรยานั้น จะต้องเริ่มต้นมาจากการได้พบประพูดจา ดูอุปนิสัยซึ่งกันและกันนานพอสมควร เมื่อเห็นว่ามีอุปนิสัยที่คล้ายคลึงกัน หรือมีความพอใจซึ่งกันและกัน ก็จะมีการหมั้นหมายแต่งงานกัน
ตัวอย่าง 
     “สาวเหยสาว อ้ายคนบ่เหมาะ ขอเปาะสักเกิ่ง อ้ายคนบ่เปิง เปาะนี่สักผาก นั่งต๋ามหัวต๋ง หัวแป้น หัวฟาก ก็หล้างบ่เป๋นหยังก้าหา”
คำแปล
     น้องสาวจ๊ะ พี่คนต่ำต้อยขอขึ้นไปนั่งบนบ้านสักนิดจะได้ไหม จะขอนั่งตรงหัวบันไดนี่แหละ เจ้าของบ้านคงจะไม่ว่าอะไร  ฝ่ายหญิงสาวก็จะเชื้อเชิญด้วย “กำค่าว กำเครือ” เช่นกัน

              

ไฟล์เพิ่มเติม::
 Download ไฟล์เอกสารผลงานวิชาการ   

Untitled Document
สงวนลิขสิทธิ์โดย มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่ และโรงเรียนชลประทานผาแตก
เว็บไซต์นี้เหมาะสำหรับการใช้งาน Internet Explorer เวอร์ชั่น 8 ขนาดหน้าจอ 1024 x 768 pixels