การพัฒนาครูในการสร้างฐานข้อมูลแหล่งเรียนรู้และภูมิปัญญาท้องถิ่นเพื่อยกระดับคุณภาพการสอน

- ข้อมูลภูมิปัญญาท้องถิ่น-
---------------------------------------------------------------------------
ชื่อภูมิปัญญาท้องถิ่น ::
ตั๋วเมือง
ชื่อ-นามสกุล เจ้าของภูมิปัญญาท้องถิ่น ::
นายสมบัติ โอบเชย
วัน/เดือน/ปีเกิด เจ้าของภูมิปัญญาท้องถิ่น ::
13 พฤษภาคม 2498
เบอร์โทรศัพท์ ::
089-9564375
ชื่อ-นามสกุล ผู้เก็บข้อมูล ::
นายกฤษณวัฒน์ ดาวแสง,นางสาวอรวรรณ สามสี,เด็กชายนพรัตน์ ปัญญาดี,เด็กชายสิรวิชญ์ มะลิทา
ประเภทภูมิปัญญาท้องถิ่น ::
ด้านศิลปวัฒนธรรม
ที่ตั้ง / ที่อยู่ ::
211/4 บ้านกาดใหม่ หมู่ที่ 2 ตำบลลวงเหนือ อำเภอดอยสะเก็ด จังหวัดเชียงใหม่
แผนที่ ::

การเดินทาง ::
ระยะทางจากโรงเรียนประมาณ 500 เมตร
ประวัติการศึกษาและการอบรม ::

ประวัติการศึกษา
- ชั้น ป.1 – ป.4  โรงเรียนบ้านสะแกง  ตำบลหนองล่อง  อำเภอเวียงหนองล่อง
- ชั้น ป.5 – ป.7  โรงเรียนธรรมราชศึกษา วัดพระสิงห์
- ชั้น มศ.1 – มศ.5  โรงเรียนเมธีวุฒิกร  จังหวัดลำพูน
- พ.ศ.  2537  ปริญญาตรี  (นิติศาสตร์) ณ มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช 
ประวัติการอบรม  
- บวชเป็นสามเณรศึกษาทางโลกและธรรม  ปีพ.ศ. 2510 – 2521

 

ปัจจุบันดำรงตำแหน่ง ::
- รับราชการเป็นลูกจ้างประจำตำแหน่งแผนกช่างฝีมือสนาม กรมชลประทานแม่กวง อำเภอดอยสะเก็ด จังหวัดเชียงใหม่
ผลงานและความภาคภูมิใจ ::

-  ได้รับการยกย่องเป็นครูภูมิปัญญาท้องถิ่นด้านภาษาล้านนา(ตั๋วเมือง)
-  การเขียนค่าว จ๊อย  และบทกวีด้านภาษาร่วมสมัยของชุมชน
-  เป็นวิทยากรการบรรยายประวัติ ค่าวจ๊อย ในการกิจกรรมงานของชุมชน เช่น       
    วัด  ชุมชน  งานพิธีกรรมทางศาสนา งานศพ เป็นต้น

 

องค์ความรู้ของภูมิปัญญา ::

     พ่อสมบัติ   โอชเชย   บ้านเดิมอยู่ที่หมู่บ้านวังสะแกง   ตำบลหนองล่อง  อำเภอเวียงหนองล่อง  จังหวัดลำพูน  มีโอกาสได้บวชเรียนมาตั้งแต่สมัยเป็นเด็ก ซึ่งได้มีโอกาสมาเรียนที่วัดพระสิงห์ โรงเรียนธรรมราชศึกษาในจังหวัดเชียงใหม่ และโรงเรียนเมธีวุฒิกร  จังหวัดลำพูน ได้ลาสึกขามาเรียนต่อเพิ่มเติม และเข้ารับราชการโครงการส่งน้ำและบำรุงเขื่อนแม่กวงอุดมธารา และมีครอบครัวอยู่ ณ อำเภอดอยสะเก็ด จังหวัดเชียงใหม่ ปัจจุบันอายุ 60 ปี ซึ่งจะเกษียณในเดือนกันยายน 2558 ในปีนี้ ซึ่งความสำเร็จในการทำงานนั้น พ่อสมบัติได้เล่าว่า ตนเองได้บวชเรียนเขียนอ่าน และได้ศึกษาด้านภาษาล้านนา(ตั๋วเมือง) และค่าวจ๊อย มาพอสมควร และได้แต่งบท ค่าวจ๊อยในงานพิธีต่าง ๆ ในชุมชน เล่าถึงประวัติความเป็นมาของสถานที่ต่าง ๆ ในชุมชนตั้งแต่ต้นมาจนถึงปัจจุบัน โดยการแต่งเนื้อ เป็นทำนอง ค่าวบาง และจ๊อยบาง ซึ่งบางครั้งก็ได้นำไปเป็นบทเพลงให้กับแม่ครูเพลงท่านอื่น ๆ ที่ต้องการ เพราะท่านไม่ได้รวบรวมเป็นเอกสาร หรือตีพิมพ์ โดยเฉพาะได้แต่งบทกลอน ค่าว จ๊อยในเหตุการณ์ปัจจุบัน เพื่อให้เป็นที่ระลึกนึกถึงของคนที่ได้อ่าน 
     พ่อสมบัติ ได้เข้ารับราชการ ตำแหน่ง ลูกจ้างประจำ ของเขื่อนแม่กวงอดุมธารา ซึ่งในฐานะที่เป็นหน่วยงานด้านน้ำ จึงทำคุณประโยชน์มากมายด้านเกษตรกรรม การอนุรักษ์รักษาต้นน้ำ และการดูแลรักษาเขื่อน เพื่อเป็นสมบัติทางธรรมและสิ่งแวดล้อมให้ชนรุ่นหลังต่อไป

ขั้นตอนการสอนตัวเมืองให้แก่เด็กนักเรียน
-  ด้านการแต่งค่าว  จ๊อย  ซอ   บทกลอน ด้านประเพณี เหตุการณ์  ฯ
-  ด้านภาษาล้านนา  การเขียน  การอ่าน  การเขียนยันต์เทียน  ตำราพืชสมุนไพรฯ

 

ขั้นตอนการจัดการภูมิปัญญา ::
รูปภาพประกอบ ::
ข้อมูลอื่นๆ เพิ่มเติม ::
ไฟล์เพิ่มเติม::
 Download ไฟล์เอกสารผลงานวิชาการ   

Untitled Document
สงวนลิขสิทธิ์โดย มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่ และโรงเรียนชลประทานผาแตก
เว็บไซต์นี้เหมาะสำหรับการใช้งาน Internet Explorer เวอร์ชั่น 8 ขนาดหน้าจอ 1024 x 768 pixels