การพัฒนาครูในการสร้างฐานข้อมูลแหล่งเรียนรู้และภูมิปัญญาท้องถิ่นเพื่อยกระดับคุณภาพการสอน

- ข้อมูลภูมิปัญญาท้องถิ่น-
---------------------------------------------------------------------------
ชื่อภูมิปัญญาท้องถิ่น ::
พิธีกรรมทางศาสนาและพิธีกรรมพื้นบ้าน
ชื่อ-นามสกุล เจ้าของภูมิปัญญาท้องถิ่น ::
พ่อหนานฤทธิ์ชัย ชัยลังกา
วัน/เดือน/ปีเกิด เจ้าของภูมิปัญญาท้องถิ่น ::
2 กันยายน 2504
เบอร์โทรศัพท์ ::
084-3657571
ชื่อ-นามสกุล ผู้เก็บข้อมูล ::
นายอรุณ นำโชคชัยเจริญกุล,นายณัฐพงษ์ เตจ๊ะนัง,นางสาวปัทมา แสนชัย
ประเภทภูมิปัญญาท้องถิ่น ::
ด้านศิลปวัฒนธรรม
ที่ตั้ง / ที่อยู่ ::
88/5 หมู่ที่7 บ้านข้างน้ำ ตำบลลวงเหนือ อำเภอดอยสะเก็ด จังหวัดเชียงใหม่
แผนที่ ::

การเดินทาง ::
ระยะทางห่างจากโรงเรียนประมาณ 100 เมตร การเดินทางสะดวก
ประวัติการศึกษาและการอบรม ::

ประวัติการศึกษา
- จบชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 จากโรงเรียนบ้านแม่งอนขี้เหล็ก ตำบลแม่งอน       อำเภอฝาก จังหวัดเชียงใหม่
- บวชเป็นสามเณร ณ วัดพรหมจริยาวาส ตำบลแม่งอน อำเภอฝาก จังหวัดเชียงใหม่ 
- จบนักธรรมเอก ณ วัดพรหมจริยาวาส ตำบลแม่งอน อำเภอฝาก จังหวัดเชียงใหม่
ประวัติการอบรม
- เข้ารับการอบรมการเทศมหาชาติ

 

ปัจจุบันดำรงตำแหน่ง ::
- มรรคนายกวัดสุขวิเวการาม(วัดสันทราย) ตำบลลวงเหนือ อำเภอดอยสะเก็ด จังหวัดเชียงใหม่
ผลงานและความภาคภูมิใจ ::

     เป็นมรรคนายก (อาจารย์วัด) มาเป็นระยะเวลา 12 ปี ซึ่งส่วนใหญ่จะเป็นผู้นำในการประกอบพิธีกรรมทางศาสนาวันสำคัญในศาสนาและประเพณีสำคัญพื้นบ้านล้านนาที่เกี่ยวข้องกับพระพุทธศาสนา เช่นงานมงคล  งานอวมงคล ทอดผ้าป่า ทอดกฐิน งานยี่เป็ง และกิจกรรมต่าง ๆ ภายในวัดที่จัดขึ้นทุกปี

องค์ความรู้ของภูมิปัญญา ::

     พิธีสืบชะตา แต่เดิมคงเป็นพิธีต่ออายุให้เฉพาะคนเท่านั้น ส่วนบ้านหรือเมือง และสิ่งอื่น เรียกชื่อพิธีอีกอย่างหนึ่งว่าส่งเคราะห์บ้าน ส่งเคราะห์เมือง บูชาเสื้อบ้าน บูชาเสื้อเมือง คือพิธีบูชา เทวดาอารักษ์ประจำเมืองนั่นเอง


     ต่อมาสมัยหลังเรียกพิธีส่งและพิธีบูชาเหล่านั้นว่า “พิธีบูชาสืบชะตาเมือง” (ยังมีคำว่า บูชาเหลืออยู่ ต่อมาคำว่าบูชาหายไป) พิธีส่งหรือสืบชะตาเมืองก็ดีพิธีสืบชะตาบ้านก็ดีแต่เดิม ฆราวาสที่มีความรู้ เป็นที่เคารพของคนทั่วไป ถ้าในท้องถิ่นก็มีหมอประจำหมู่บ้านหรืออาจารย์วัด เป็นผู้กระทำ พระสงฆ์ไม่ได้เข้ามาเกี่ยวข้องด้วย เพราะถือว่าไม่ใช่พิธีในพระพุทธศาสนา
     ต่อมาพระสงฆ์เข้ามามีบทบาทในพิธีกรรมต่าง ๆ มากขึ้น และชาวบ้านชาวเมืองก็เห็นว่า พระสงฆ์จำนวนหลายรูปร่วมกันประกอบพิธีดูขลังและเกิดศรัทธามากกว่าผู้ประกอบพิธีที่เป็นฆราวาส จึงยกให้พระสงฆ์เป็นผู้กระทำพิธี
     หลังจากที่พระสงฆ์เป็นผู้รับประกอบพิธีสืบชะตา เครื่องครูหรือขันครูก็ยังมีอยู่ ต่อมา ภายหลังเครื่องครูนั้นคงไม่จำเป็นสำหรับพระสงฆ์ แต่คนที่แต่งเครื่องสืบชะตาก็ยังคงแต่งดาขันครู ไว้เหมือนเดิม แต่แยกได้ว่าสิ่งใดเป็นเครื่องของขันครู สิ่งใดเป็นเครื่องสืบชะตา จึงเอาเครื่องครู มารวมกับเครื่องสืบชะตา เช่น เสื่อใหม่  หม้อใหม่ เป็นต้น


 ความหมาย และความสำคัญ
     การสืบชะตาเป็นพิธีกรรมที่ล้านนานิยมทำในโอกาสต่าง ๆ เพื่อต่อดวงชะตาให้ยืนยาว สืบไป พิธีสืบชะตาเป็นพิธีใหญ่ต้องอาศัยคนและเครื่องประกอบพิธีมากที่สุดพิธีหนึ่ง ชาวบ้านอาจจะ จัดพิธีนี้โดยเฉพาะหรือจัดร่วมกับพิธีอื่น ๆ ก็ได้และอาจจะจัดขึ้นเพื่อสืบชะตาให้แก่คนที่เป็น ทั้งฆราวาสและภิกษุ หรืออาจจะสืบชะตาให้แก่หมู่บ้าน ให้แก่เมืองก็ได้แต่จะต้องจัดขึ้นเพื่อสืบชะตา ให้แก่สิ่งใดสิ่งหนึ่งเพียงสิ่งเดียว ทั้งนี้เพราะการสืบชะตาให้แต่ละสิ่งจะมีพิธีกรรมแตกต่างกันออกไป เพราะเนื้อหาและโครงสร้างของพิธีการสืบชะตาแสดงให้เห็นถึงการรวมตัวของศาสนาพุทธ ฮินดู ศาสนาพราหมณ์ และลัทธิผีสางเทวดาที่สามารถรวมตัวกันได้อย่างสนิทแนบเนียน และอย่างประนีประนอม เครื่องประกอบพิธีและการประกอบพิธีสืบชะตานี้เต็มไปด้วยสิ่งอันเป็น สัญลักษณ์ที่ช่วยให้เราเข้าถึงวิธีการคิด วิธีการเปรียบเทียบของคนในสังคมได้เป็นอย่างดี
     การสืบชะตาถือเป็นพิธีสำคัญอย่างยิ่ง ชาวล้านนานิยมทำกันหลายโอกาส เช่น วันเกิด วันได้รับยศศักดิ์ตำแหน่ง ขึ้นบ้านใหม่ กุฏิใหม่ หรือไปอยู่ที่ใหม่ บางครั้งเกิดเจ็บป่วย หรือหมอดูทำนาย ทายทักว่าชะตาไม่ดีควรทำพิธีสะเดาะเคราะห์หรือสืบชะตาต่ออายุแล้วจะทำให้คลาดแคล้วจาก โรคภัยและอยู่ด้วยความสวัสดิ์
เครื่องประกอบพิธี


1. กระบอกน้ำ 108 หรือเท่าอายุ


2. กระบอกทราย 108 หรือเท่าอายุ
3. บันไดชะตา 3 อัน
4. ลวดเงิน 4 เส้น
5. ลวดทอง 4 เส้น


6. หมากพลูผูกติดกับเส้นด้ายในลวดเงินลวดทอง 108


7. ไม้ค้ำ 3 อัน (บางแห่งใช้ไม้ค้ำ 1 อัน) เสาหนึ่งเป็นไม้ค้ำ เสาหนึ่งเป็นสะพาน เสาหนึ่ง เป็นกระบอกน้ำ/ทราย
8. ขัวไต่ (สะพานข้ามน้ำขนาดยาว 1 วา) 1 อัน
9. ช่อขนาดเล็ก 108
10. ฝ้ายเท่าคิง (ด้ายเท่าตัวคนที่จะเข้าพิธีสืบชะตา) จุดน้ำมัน 1 เส้น

     
11. กล้ากล้วย กล้ามะพร้าว อย่างละ 1 ต้น


12. กล้วยดิบ 1 เครือ

            

13. เสื่อ 1 ผืน 
14. หมอน 1 ใบ
15. หม้อใหม่ 2 ใบ (หม้อเงิน หม้อทอง)

16. มะพร้าว 1 ทะลาย

17. ตุงเท่าคิง (ธงยาวเท่าตัว)

18. เทียนเล่มบาท 1 เล่ม

19. ด้ายสายสิญจน์ล้อมรอบตัวผู้สืบชะตา 1 ไจ

20. บาตรน้ำมนต์ 1 ลูก
21. ปลาสำหรับปล่อย เท่าอายุผู้สืบชะตา
22. นก หอย

23. พานบายศรีนมแมว 1 สำรับ

 

ขั้นตอนการจัดการภูมิปัญญา ::

เครื่องบูชาครู
1. เบี้ย 1,300
2. หมาก 1,300
3. ผ้าขาว 1 ฮำ (ประมาณ 1 วา)
4. ผ้าแดง 1 ฮำ
5. เทียนเล่มบาท 1 คู่ (ใช้ขี้ผึ้งมีน้ำหนัก 1 บาท)
6. ข้าวสาร 1,000 (1,000 น้ำหนักประมาณ 1 กิโลกรัม) 
7. ข้าวเปลือก 10,000 (10,000 น้ำหนักเท่ากับ 10 กิโลกรัม)
8. พลู 4 สวย
9. หมาก 4 ขด 4 ก้อม
10. เงินค่าครู12 บาท
11. สาดใหม่
12. หม้อใหม่
13. ดอกไม้ธูปเทียน 4 สวย

            

ขั้นตอนพิธีกรรม
วันก่อนทำพิธีจะต้องจัดเตรียมเครื่องประกอบพิธีต่าง ๆ ดังนี้
1. เตรียมขันครูสำหรับให้พระสงฆ์ผู้เป็นหัวหน้าในการทำพิธีมีลักษณะเป็นเครื่องบูชา สำหรับให้ผู้ประกอบพิธีไหว้ครูประกอบด้วย
1.1 สวยใบตอง 12 สวย สำหรับใส่ดอกไม้ธูปเทียนสวยละ 1 คู่
1.2 ข้าวเปลือกและข้าวสาร อย่างละ 1 แครง ในกระทงใบตอง
1.3 ผ้าขาวและผ้าแดง อย่างละ 1 ฮำ
1.4 สวยใบตองบรรจุหมากพลูที่เป็นคำ ๆ 12 สวย รวมทั้งเมี่ยง บุหรี่
1.5 หมากแห้ง 1 หัว 4 ขด
1.6 กล้วยขนาดกำลังสุก 1 เครือ
1.7 มะพร้าวอ่อน 1 ทะลาย (คะแนง)
1.8 เทียนขี้ผึ้งหนักเล่มละ 1 บาท 1 คู่
1.9 เทียนขี้ผึ้งหนักเล่มละ 1 เฟื้อง 1 คู่
1.10 เงินไม่จำกัดจำนวน โดยทั่วไปนิยม 32 บาท
1.11 น้ำขมิ้นส้มป่อย 1 ถัง สำหรับทำน้ำมนต์
2. ขันแก้วทั้ง 3 สำหรับไหว้พระ
3. ขันศีล
4. เครื่องบูชาเจ้าชะตา นิยมอาหารคาวหวาน และมีหมาก เมี่ยง บุหรี่ ข้าวต้ม ส้ม กล้วย อ้อย มะพร้าว ข้าวสุก กับข้าวที่ไม่มีเนื้อสัตว์ จัดทำเป็นชิ้นหรือคำเล็ก ๆ นิยมให้มีจำนวนมากกว่า อายุของผู้สืบชะตา
5. เครื่องประกอบพิธีตามความเชื่อกล่าวคือ การใช้ผ้าขาว ผ้าแดง ถือเป็นสีเครื่องนุ่งห่ม ของพราหมณ์ เฉลวและหญ้าคาหรือ “ตาแหลวคาเขียว” ทำด้วยตอก 6 เส้น สานขัดกัน เป็นตา 7 ตา ตุงธงสีขาวใหญ่หมายถึงตัวของผู้ทำพิธีช่อสีขาวเล็กหมายถึงอายุและวิญญาณ หญ้าคาสดฟั่นเกลียวเป็นเชือกใช้ร่วมกับตาแหลว หมายถึงความแข็งแรงและเป็นอมตะ ต้นกล้าไม้    ต่าง ๆ เป็นสัญลักษณ์ของความพร้อมที่จะเจริญงอกงาม หม้อดินถือเป็นที่อยู่ของวิญญาณ เสื่อและหมอน เป็นสัญลักษณ์ของความสบาย เส้นด้ายชุบน้ำมันและเทียนขาวเท่าคิงสำหรับจุดไฟเป็นสัญลักษณ์ ของการให้กำลังและความสว่างแก่ชีวิต ไม้ค้ำเป็นสัญลักษณ์ของความยั่งยืนมั่นคงคอยพยุงไว้ไม่ให้ล้ม ไม้สะพานหมายถึงสิ่งที่ช่วยให้เดินทางต่อไป เส้นลวดเงิน ลวดทอง ลวดเบี้ย และลวดหมาก เมี่ยง บุหรี่ เป็นสัญลักษณ์ของความเหนียวความมีคุณค่าและความอุดมสมบูรณ์ที่ไหลหลั่งมาหาเจ้าชะตา กระบอกน้ำ กระบอกทราย กระบอกข้าวเปลือก และกระบอกข้าวสารหมายถึงธาตุทั้งสี่

 

 

รูปภาพประกอบ ::

                

                 

            

ข้อมูลอื่นๆ เพิ่มเติม ::

นอกจากพ่อหนานฤทธิ์ชัย ชัยลังกาจะมีองค์ความรู้ในเรื่อง พิธีสืบชะตาแล้วยังมีความรู้ในเรื่องต่ไปนี้
     1. วิชาหมอเมือง  ซึ่งเป็นภูมิปัญญาของท่านผู้รู้และได้ถ่ายทอดให้ลูกหลานและผู้ที่สนใจได้ใช้และสืบต่อมาจนทุกวันนี้ เช่น หมอแหก – เช็ด – พ่นน้ำ – เป่าคาถา     รดน้ำมนต์ – ส่งเคราะห์ – ส่งจน เป็นต้น
     2. ภาษาล้านนา(ตั๋วเมือง)พ่อหนานฤทธิ์ชัย ชัยลังกา ได้รับหนังสือ(ปั๊บสา)เป็นมรดกสืบทอด และได้เขียนเพิ่มเติมขึ้นมาด้วยตัวเองดังภาพ 

ไฟล์เพิ่มเติม::
 Download ไฟล์เอกสารผลงานวิชาการ   

Untitled Document
สงวนลิขสิทธิ์โดย มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่ และโรงเรียนชลประทานผาแตก
เว็บไซต์นี้เหมาะสำหรับการใช้งาน Internet Explorer เวอร์ชั่น 8 ขนาดหน้าจอ 1024 x 768 pixels