การพัฒนาครูในการสร้างฐานข้อมูลแหล่งเรียนรู้และภูมิปัญญาท้องถิ่นเพื่อยกระดับคุณภาพการสอน

- ข้อมูลภูมิปัญญาท้องถิ่น-
---------------------------------------------------------------------------
ชื่อภูมิปัญญาท้องถิ่น ::
การประดิษฐ์ตะกร้าจากไม้ไผ่
ชื่อ-นามสกุล เจ้าของภูมิปัญญาท้องถิ่น ::
นางจันทร์เป็ง โสภาอินทร์
วัน/เดือน/ปีเกิด เจ้าของภูมิปัญญาท้องถิ่น ::
16 เมษายน 2495
เบอร์โทรศัพท์ ::
081-3873769
ชื่อ-นามสกุล ผู้เก็บข้อมูล ::
นางพรทิพย์ สารทะวงษ์,นางสาวขวัญเนตร ศรีทุ่งลือ,เด็กหญิงรักษิตา แซ่เถา,เด็กหญิงนิภาพร มาเยอะ,เด็กชายธวัช สนวิเศษ,เด็กชายสมชาย มาเยอะ
ประเภทภูมิปัญญาท้องถิ่น ::
ด้านอุตสาหกรรมและหัตถกรรม
ที่ตั้ง / ที่อยู่ ::
107หมู่ที่ 6 ตำบลลวงเหนือ อำเภอดอยสะเก็ด จังหวัดเชียงใหม่
แผนที่ ::

การเดินทาง ::
ระยะทางห่างจากโรงเรียนประมาณ 3 กิโลเมตร การเดินทางสะดวก
ประวัติการศึกษาและการอบรม ::

ประวัติการศึกษา 
- จบชั้นประถมศึกษาปีที่ 4  จากโรงเรียนบ้านสันทราย ตำบลลวงเหนือ    อำเภอดอยสะเก็ด จังหวัดเชียงใหม่ 
ประวัติการอบรม
- ได้รับสืบทอดองค์ความรู้ทางด้านจักสานไม้ไผ่มาจากครอบครัว

ปัจจุบันดำรงตำแหน่ง ::
เป็นหัวหน้าชมรมจักสานของหมู่บ้านสันทราย ตำบลลวงเหนือ อำเภอดอยสะเก็ด จังหวัดเชียงใหม่
ผลงานและความภาคภูมิใจ ::

- ได้รับรางวัลรองชนะเลิศอันดับที่ 1 การประกวดการจักสานในงานประเพณีปี๋ใหม่เมือง ที่หนองบัวพระเจ้าหลวง จากศูนย์การศึกษานอกโรงเรียนอำเภอดอยสะเก็ด 
- เป็นวิทยากรให้ความรู้แก่เด็กนักเรียนหรือชาวบ้านหมู่บ้านต่าง ๆ ในเรื่อง การสานตะกร้าไม้ไผ่

 

องค์ความรู้ของภูมิปัญญา ::

     การสานตะกร้าไม้ไผ่นอกจากจะได้ความรู้ ยังเป็นการฝึกสมาธิ  ความอดทน ความประณีตละเอียดอ่อน เพราะการสานทุกขั้นตอนของการวางไม้ไผ่ต้องใช้ความประณีต ใช้พลังจากมือและตาให้สัมพันธ์กันอยู่ตลอดเวลา เพื่อไม่ให้การวางไม้ไผ่ในขณะที่เรากำลังใช้เชือกสานนั้นบิดเบี้ยวไปอาจจะส่งผลให้ตะกร้าออกมามีรูปทรงที่ไม่สวยงาม ทั้งนี้ยังการสานตะกร้าผู้สานจะต้องมีเทคนิคที่แตกต่างกันออกไป
     เทคนิคในการจัดทำตะกร้าไม้ไผ่เริ่มตั้งแต่กระบวนการเลือกไม้ไผ่ โดยจะต้องคัดเลือกไม้ไผ่ที่แก่สามารถสังเกตได้จากสีของไม้ไผ่เพราะการใช้ไม้ไผ่แก่เวลาเรานำมาสานมันจะอยู่ทนทานและเหนียวแมลงไม่เจาะเหมือนกับไม้ไผ่ที่อ่อน  
     ขั้นตอนการตัดชิ้นส่วนของไม้ไผ่ที่จะนำมาประกอบเป็นตะกร้าต้องผ่านกระบวนการย้อมสี และการนำไม้มาแช่ เพื่อให้ไม้ไผ่นั้นคงทนป้องกันไม่ให้มอดเข้าไปเจาะไม้ไผ่และเพื่อให้สีนั้นสามารถซึมเข้าไปอยู่ในไม้ไผ่ได้คงทนไม่ติดมือ
     ปัจจุบันนางจันทร์เป็ง   โสภาอินทร์ ลังมีการคิดค้นรูปทรงของตัวตะกร้าขึ้นมาใหม่โดยจากเดิมที่ทำตัวตะกร้าด้วยไม้ไผ่ที่เหลาแบนๆสานติดกันจนเป็นผิวเรียบ จะดัดแปลงโดยใช้ไม้ไผ่ที่เหลากลมๆดูสวยงาม สานติดกัน ซึ่งขณะนี้อยู่ในช่วงของการทดลองทำทั้งสองแบบแล้วแต่ลักษณะของผลิตภัณฑ์และลูกค้านิยมสั่งซื้อทั้งสองแบบ

    ขั้นตอนของการประดิษฐ์ตะกร้าจากไม้ไผ่
อุปกรณ์
     1. ไม้ไผ่ดิบ (การเลือกไม้ไผ่แก่)
     2. เครื่องมือ เช่น มีด เลื่อย กรรไกร ค้อน เครื่องตัดไม้  เป็นต้น
     3. ตะปูเหล็ก 
    4. เทปขาว
    5. ฟาง
    6. สีย้อมไม้
    7. ปุ๋ยใช้ผสมสรย้อมเพื่อป้องกันแมลง
    8. ไม้อัด

 

 

 

 

ขั้นตอนการจัดการภูมิปัญญา ::

    ขั้นตอนของการประดิษฐ์ตะกร้าจากไม้ไผ่
อุปกรณ์

     1. ไม้ไผ่ดิบ (การเลือกไม้ไผ่แก่)
     2. เครื่องมือ เช่น มีด เลื่อย กรรไกร ค้อน เครื่องตัดไม้  เป็นต้น
     3. ตะปูเหล็ก 
     4. เทปขาว
     5. ฟาง
     6. สีย้อมไม้
     7. ปุ๋ยใช้ผสมสรย้อมเพื่อป้องกันแมลง
     8. ไม้อัด

                       

ขั้นตอนการทำ

รูปภาพประกอบ ::
ข้อมูลอื่นๆ เพิ่มเติม ::

1.  เกี่ยวกับภูมิปัญญา
     1.1 ในการลงทุนการสานตะกร้าจากไม้ไผ่อาจมีต้นทุนที่ค่อนข้างสูงแต่เมื่อมีผลิตภัณฑ์ออกมาจะมีคุณภาพและประสิทธิภาพมากกว่าตะกร้าที่สานมาจากไม้ไมยราบ เนื่องด้วยไม้ไมยราบอาจจะหาในท้องถิ่นได้ง่ายเหมือนกับไม้ไผ่แต่เนื้อของไมยราบจะค่อนข้างชื้นเมื่อนำมาสานตะกร้าจะสามารถทำได้ง่าย ดัดแปลงได้ง่ายกว่าไม้ไผ่แต่ไม่ทนทานจะถูกแมลงเจาะ เมื่อเปรียบเทียบแล้วการลงทุนด้วยไม้ไผ่อาจจะสูงกว่าแต่มีคุณภาพดีกว่า 
     1.2 การทำตะกร้าไม้ไผ่มีประโยชน์เพราะทุกส่วนของไม้ไผ่ที่นำมาผ่านกระบวนการทำตะกร้าไม้ไผ่แต่ละขึ้นตอนมีประโยชน์ทุกส่วน เช่น เมื่อผ่านกระบวนการเหลาไม้เพื่อทำเป็นตัวตะกร้านั้นจะมีเศษของเยื่อไม้เป็นจำนวนมากป้าจันทร์กล่าวว่าเยื่อหรือเศษไม้เหล่านี้จะสามารถนำไปเป็นฉนวนในการทำให้ไฟติดได้ง่าย  และเศษที่เหลือจากการตัดจะนำมาเหลาและดัดแปลงเป็นกล่องใส่ดินสอ ต่าง ๆ 
     1.3 ในการทำตะกร้าไม้ไผ่จะมีหลายขนาดและขายในราคาที่ค่อนข้างถูก โดยในปัจจุบันจะทำตะกร้าทั้งหมด 3 ขนาด คือขนาดใหญ่จะขายในราคา 40-50 บาท ขนาดกลางจะขายในราคา 30 บาท และขนาดเล็กจะขายในราคา 7 บาท
     1.4  ชนิดของไม้ไผ่ ในประเทศไทย เป็นพืชสารพัดประโยชน์ที่มนุษย์นำมาใช้เป็นเวลาช้านาน เพื่อเป็นอาหาร วัตถุดิบ ที่อยู่อาศัย และแม้กระทั่งยารักษาโรค ไผ่ในแถบร้อนของเอเชีย มีการกระจายพันธุ์ถึง 45 สกุล 750 ชนิด (Dransfield, 1980 อ้างใน สมยศ, 2536) ในขณะที่ไผ่ทั่วโลกเท่าที่รู้ในปัจจุบันมีประมาณ 75 สกุล 1,250 ชนิด (Sharma, 1980 อ้างใน สมยศ, 2536) ส่วนที่พบในประเทศไทยมีประมาณ 13 สกุล 60 ชนิด (กรมป่าไม้, 2531 อ้างใน สมยศ, 2536) แต่วนิดา (2539) กล่าวว่าไผ่เป็นพืชใบเลี้ยงเดี่ยวมีทั้งหมด 1,250 ชนิด 65 สกุลในโลก ในประเทศไทยมีไผ่ 55 ชนิด 13 สกุล ชนิดไผ่ที่นิยมนำมาใช้ประโยชน์จากป่ามีดังนี้ คือ ไผ่ตง ไผ่รวก ไผ่สีสุก ไผ่เลี้ยง ไผ่ซาง (ไผ่นวล ไผ่ปล้อง หรือไผ่สีนวล) ไผ่บงหวาน ไผ่ข้าวหลาม ไผ่ไร่ ไผ่รวกดำ และไผ่ป่า (ไผ่หนาม) (บุญชุบ และ สกลศักดิ์, 2532 อ้างใน วนิดา, 2539)
     ในปี 2535 มีการจำแนกสภาพป่าจากภาพถ่ายดาวเทียมและการตรวจสอบภาคพื้นดินในพื้นที่ศึกษาเขตภาคเหนือ พบ ไผ่ไร่ ไผ่ซางนวล ไผ่บง และไผ่รวก เป็นส่วนใหญ่ซึ่งขึ้นกระจายอยู่ทั่วไปในป่าเบญจพรรณ นอกจากนี้ยังพบไผ่อื่นๆ  อีก ได้แก่ ไผ่ข้าวหลาม ไผ่เขียว ไผ่ไล่ลอ เป็นต้น แต่มีปริมาณน้อยกว่าไผ่ทั้ง 4 ชนิดแรก โดยจังหวัดเชียงใหม่และลำพูนมีป่าเบญจพรรณที่ไผ่ขึ้นอยู่ จำนวน 5,104,687 ไร่ และ 666,563 ไร่ (สมยศ, 2536)  ชนิดไผ่ที่พบมากในภาคเหนือมี 28 ชนิด ได้แก่ ไผ่บง ไผ่ป่า ไผ่ลำมะลอก ไผ่เหลือง ไผ่หอบ ไผ่เลี้ยง ไผ่สีสุก ไผ่น้ำเต้า ไผ่ผิว ไผ่บง ไผ่ไล่ลอ ไผ่ข้าวหลาม ไผ่เฮียะ ไผ่ซาง ไผ่เซิม ไผ่หก ไผ่เป๊าะ ไผ่ซางดำ ไผ่ซางนวล ไผ่บงใหญ่ ไผ่ไร่ ไผ่ผากมัน ไผ่บงคาย ไผ่หางช้าง ไผ่เกรียบ ไผ่บงเลื้อย และ ไผ่รวกดำ (กรมป่าไม้, 2531 อ้างใน สมยศ, 2536)
2. ความรู้เกี่ยวกับไม้ไผ่
     2.1  องค์ประกอบของป่าไผ่
    ไผ่เป็นองค์ประกอบที่สำคัญในป่าดิบชื้น ป่าเบญจพรรณชื้น ป่าเบญจพรรณแล้ง ป่าดิบแล้งทั่วไป โดยเฉพาะเมื่อเกิดมีการแผ้วถางหรือไฟไหม้ ไผ่จะแพร่พันธุ์อย่างรวดเร็วและปกคลุมพื้นที่อย่างกว้างขวาง หากมีไฟไหม้รบกวนทำอันตรายอยู่เป็นนิจ จะทำให้เกิดป่าไผ่ขึ้นอย่างถาวร เช่น ป่าไผ่ในท้องที่จังหวัดกาญจนบุรี จึงกล่าวได้ว่าไผ่เป็นสัญลักษณ์ของพื้นที่ที่เคยเกิดไฟไหม้ (เต็ม และ ชุมศรี, 2512 อ้างใน สมยศ, 2536)
     การขึ้นอยู่ของไผ่แต่ละชนิดพันธุ์ในท้องที่ต่างๆ กันนั้นเกี่ยวข้องกับปัจจัยต่างๆ ดังนี้(สมยศ, 2536)
       1)ลักษณะภูมิประเทศ ไผ่แต่ละชนิดจะขึ้นอยู่ในที่มีอุณหภูมิช่วงต่างๆ กัน โดยมีช่วงระหว่าง 8.8-36.0 องศาเซลเซียส ไผ่ที่มีลำขนาดใหญ่จะต้องการที่ซึ่งมีอุณหภูมิผันแปรน้อยกว่าชนิดที่มีลำเล็ก ไผ่ที่มีลำใหญ่มักขึ้นปะปนกับไม้ใหญ่ ส่วนไผ่ลำเล็กอาจขึ้นกลางแจ้งได้ดี (สมาน และ นิตยา, ไม่ปรากฏปีที่พิมพ์) ปริมาณน้ำฝนน้อยที่สุดที่ไผ่ต้องการประมาณ 40 นิ้ว (1,020 มิลลิเมตร) ต่อปี (Ahmed, 1957) ส่วนปริมาณน้ำฝนสูงสุดไม่แน่นอน ในที่ยังมีฝนตก คือ 250 นิ้ว (6,350 มิลลิเมตร) ต่อปี ก็พบว่ามีไผ่ขึ้นอยู่ การกระจายของไผ่ชนิดต่างๆ จึงมักถูกจำกัดโดยความชื้นทั่วๆ ไป เนื่องจากความชื้นไม่เพียงพอ เช่น ไผ่ฮก จะพบเฉพาะในที่ซึ่งมีความชื้นมากพอสมควร จึงมักจะเจริญได้ไม่ค่อยงามในป่าเบญจพรรณแล้ง ไผ่รวกพวกที่ขึ้นอยู่บริเวณที่มีอากาศแห้งแล้งความชื้นน้อยในฤดูแล้งจะมีลักษณะไม่สวยงามเหมือนที่ขึ้นอยู่ตามริมลำธาร ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับความสามารถในการปรับตัวให้เข้ากับสภาพความชื้นในดินและในอากาศ ไผ่บางชนิดจะเจริญเติบโตได้ดีในท้องที่ที่มีความชื้นอยู่สม่ำเสมอตามบริเวณลำธารและลำน้ำ เช่น ป่าไผ่รวกที่จังหวัดกาญจนบุรีจะพบไผ่ป่า ไผ่ลำมะลอกขึ้นเต็มไปหมด และตามที่แห้งแล้งในจังหวัดชัยนาทและอุทัยธานีจะพบไผ่รวกชนิดเดียวกันขึ้นอยู่ในเนื้อที่จำกัดและมีขนาดเล็กกว่าธรรมดามาก (บรรเทา, 2513)
       2)ลักษณะดิน  มักจะพบไผ่ขึ้นอยู่บนดิน sandy loam หรือ clay loam (สมาน และนิตยา, ไม่ปรากฏปีที่พิมพ์) ไผ่แต่ละชนิดมีความต้องการดินที่แตกต่างกันออกไป จึงอาจใช้ชนิดของไผ่เป็นตัวชี้สภาพของป่าที่แตกต่างกันได้ โดยทั่วไปไผ่ที่มีลำใหญ่ต้องการดินที่มีความอุดมสมบูรณ์มากกว่าไผ่ชนิดที่มีลำเล็ก เพราะต้องการธาตุอาหารไปใช้ในขบวนการสร้างมากกว่า ในทางด้านป่าไม้ลักษณะและชนิดของไผ่ที่ขึ้นอยู่สามารถชี้ถึงคุณภาพของดินโดยคร่าวๆ ได้ เช่น ที่ใดมีไผ่ขึ้นนับว่าเป็นดินร่วนปนทราย มีความอุดมสมบูรณ์ดีเหมาะสมที่จะทำเป็นเนื้อที่ปลูกสวนผักได้ ถ้าเป็นไผ่รวกดินจะเหนียวและเลวลง ยิ่งเป็นป่าไผ่ซางดินมักจะเป็นหินผุและขาดความอุดมสมบูรณ์ (อำนวย, 2521)
       3)ส่วนขององค์ประกอบในป่า ปกติจะพบไผ่ขึ้นเป็นไม้ชั้นล่างของป่าดิบและป่าผลัดใบในบางแห่งพบป่าไผ่ล้วนๆ เป็นบริเวณกว้างมีต้นไม้ชนิดอื่นขึ้นปะปนเพียงเล็กน้อย ไผ่ส่วนมากจะขึ้นอยู่เป็นชนิดเดียวกัน แต่อาจมีขึ้นอยู่หลายชนิดปนกันก็ได้ ซึ่งไม่ค่อยพบมากนัก (Ahmed, 1957) นอกจากนี้ยังพบว่าไผ่ทางภาคใต้ เช่น ไผ่แนะ หรือไผ่คาย ที่ขึ้นปนอยู่กับไม้ยางพาราจะเจริญเติบโตดีกว่าพวกที่ขึ้นในที่โล่ง ทางจังหวัดกาญจนบุรีก็มีไม้ตระกูลถั่วและพวกสะแกเถาขึ้นอยู่ซึ่งจะให้ร่มและธาตุอาหารในดินโดยเฉพาะไนโตรเจนทำให้ไผ่รวกเจริญผิดปกติ ทางภาคเหนือที่พบว่าไผ่ไร่ที่ขึ้นในป่าผสมผลัดใบจะงามกว่าพวกที่ขึ้นในที่โล่ง (บรรเทา, 2513) 
       4)ความลาดชัน พบว่าด้านลาดไปทางทิศตะวันออก มักจะมีไผ่ที่มีสภาพการเจริญเติบโตดีกว่าหรือมีไผ่ที่มีลำต้นขนาดใหญ่ขึ้นอยู่ เช่น ไผ่ตัวอย่างของคณะวนศาสตร์ที่เคยทำการเก็บสถิติอยู่นั้น มีไผ่ซาง ไผ่บงเล็ก และไผ่ไร่ เจริญเติบโตอยู่ทางด้านลาดเขาทางทิศตะวันออก แต่พอข้ามเขาไปสภาพดินเปลี่ยนแปลงเป็นพวกดินลูกรังพบว่าไผ่ไร่ขึ้นอยู่อย่างแคระแกรน (บรรเทา, 2513) ทางจังหวัดกาญจนบุรีก็เช่นกันด้านลาดเขาทางทิศตะวันออกมักจะมีไผ่เจริญงอกงามดีกว่าด้านลาดเขาทิศตะวันตก 
     2.2   ลักษณะของไผ่
     ลำไผ่ (culms) อาจสูงเพียงไม่กี่เซนติเมตรจนถึง 40 เมตร ขนาดเส้นผ่าศูนย์กลางตั้งแต่ 1 มิลลิเมตรจนถึง 30 เซนติเมตร แต่ละลำไผ่มีข้อและปล้อง ที่ข้อมีใบหนึ่งใบแต่อาจมีหนึ่งหรือหลายกิ่งแขนง ในหนึ่งต้นอาจมีไผ่นับพันลำ ไผ่ไม่ได้มีลักษณะแบบเนื้อไม้ ไผ่เป็นพืชใบเลี้ยงเดียว (monocotyledons) เช่นเดียวกับพวกปาล์ม แต่ทั่วไปมักเรียกว่า ไม้ไผ่
     ไผ่หนึ่งต้นจะโตสูงสุดภายในหนึ่งปี แต่จะอยู่ได้หลายๆ ปี และเพิ่มจำนวนลำเรื่อยๆ ออกไป ด้านข้างของกอไผ่ ไผ่บางชนิดออกดอกเมื่ออายุ 10-100 ปี หรือมากกว่านี้ แล้วจะแห้งตายหลังจากดอกพัฒนาเป็นเมล็ดแล้ว (monocarpic) ยิ่งไปกว่านั้นไผ่ชนิดเดียวกันจะออกดอกพร้อมกันในอาณาบริเวณเดียวกันอีกด้วย ซึ่งไม่มีใครสามารถพยากรณ์ได้ว่าเมื่อไหร่จะเกิดเมล็ดมาทำลายไผ่ซึ่งเป็นแหล่งอาหารหนึ่งสำหรับสัตว์และมนุษย์
     ไผ่หลายชนิดนิยมปลูกเลี้ยงในสวน ในแปลงไผ่เพื่อให้ผลผลิตสูงจำเป็นต้องมีการดูแลเพื่อให้รากหรือ Rhizome สามารถขยายกระจายไปใต้ดินให้แทงหน่อใหม่ได้ ซึ่งมีอยู่สองรูปแบบ คือ Clumbing หรือ Monopodial ซึ่งขยายตัวไปใต้ดินอย่างช้าๆ และ Running หรือ Sympodial ซึ่งขยายตัวไปอย่างรวดเร็วทั้งนี้ขึ้นอยู่กับลักษณะดิน และสภาวะของบรรยากาศ บางชนิดเป็นหลายๆ เมตรในหนึ่งปี บางชนิดก็ชะงักงันเป็นช่วงเวลาที่ยาวนาน และหากขาดการดูแลไผ่ไม่สามารถแทงหน่อได้หรือถูกตัดซ้ำที่กำลังขึ้นมาอาจทำให้ระบบรากไผ่ขาดความสมบูรณ์และตายได้ในที่สุด 

              
     ดังนั้นการทำสวนไผ่ควรจะเตรียมดินโดยการไถพรวน หลุมปลูกให้ขุดลึก 60-90 
เซนติเมตร (2-3 ฟุต) และเป็นมุมขึ้นมาปากหลุมเพื่อให้รากไผ่ขยายบนผิวดินได้ ฝังรากไผ่ลึกลงไป 30 เซนติเมตร (1 ฟุต) เมื่อไผ่แทงหน่อแล้วปกติจะโต 30 เซนติเมตรในหนึ่งวัน แต่บางชนิดอาจโต 1 เมตรต่อวัน สำหรับแปลงไผ่ใหม่จะให้ผลผลิตเต็มทีต้องใช้เวลา 1-2 ปี 
     หน่อไผ่หรือหน่อไม้ใช้เป็นอาหาร โดยหั่นเป็นชิ้นบางๆ วางขายในห้างสรรพสินค้า 
บางชนิดจำเป็นต้อนล้างหรือต้มด้วยน้ำเพื่อละลายสารพิษบางอย่างทิ้งไปบ้าง นอกจากนี้หน่อไผ่อ่อน ลำไผ่ และใบยังเป็นอาหารหลักที่สำคัญของของหมีแพนด้ายักษ์ของจีน และลิงแมงมุม (spider monkey) อีกด้วย 
     ลำไผ่มีความแข็งแกร่งมากโดยเฉพาะเมื่อผ่านการอบแห้งอัดน้ำรักษาเนื้อไม้แล้ว 
สามารถนำมาสร้างบ้าน ทำรั้ว ทำสะพานเดน เครื่องเรือน ของเด็กเล่น นั่งร้านก่อสร้าง หมวก เครื่องดนตรีหลายชนิด พื้นบ้าน การใช้ลำไผ่จำเป็นต้องคัดเลือกไผ่ที่มีอายุหลายปีเพื่อให้ได้เนื้อไม้ เราสามารถดัดลำไผ่ให้เป็นเหลี่ยมได้ด้วยการครอบท่อเหลี่ยมบังคับ ซึ่งจะต้องค่อยๆ เลื่อนขึ้นไปตามลำไผ่ที่โตหรือสูงขึ้น สำหรับการทำกระดาษนั้นจีนเป็นชาติแรกที่คิดประดิษฐ์ ซึ่งทำด้วยมือมีคุณภาพสูงแต่ได้จำนวนน้อย ปัจจุบันยังคงผลิตกระดาษไหว้เจ้าจากไผ่เพื่อใช้อยู่ในสังคมจีน
     ไผ่มีอายุยืนชาวจีนจึงถือว่าไผ่เป็นสัญลักษณ์ของการมีชีวิตที่ยืนยาว ขณะที่อินเดียถือว่าไผ่เป็นสัญลักษณ์ของความเป็นเพื่อน และการออกดอกยากดังนั้นหากมีการออกดอกจะถือเป็นสัญญาณว่าความอดอยากกำลังจะมาถึงด้วย ในวัฒนธรรมของชาวเอเชียรวมถึงหมู่เกาะอันดามันเชื่อว่ามนุษย์เกิดมาจากกอไผ่ ในตำนานของชาวมาเลเซียมีชายคนหนึ่งนอนฝันเห็นหญิงสาวสวยในกอไผ่เมื่อเขาตื่นขึ้นไปค้นหาและพบหญิงนั้นในกอไผ่ ในฟิลิปปินส์ชาวนาถือว่าไผ่ไขว่กันทำให้ดูมีเสน่ห์ ในญี่ปุ่นถือว่าป่าไผ่รอบๆ Shinto จะช่วยป้องกันภูตผีปีศาจ ถือว่าเป็นไม้ที่สำคัญอันดับสองรองจากไม้สน ด้วยเหตุนี้ชาวญี่ปุ่นจึงใช้ไผ่ตกแต่งในห้องอาหารหรือห้องรับรองในโรงแรมแบบพื้นบ้าน (But, Paul Pui-Hay, et. al., 1985 อ้างใน http://encyclpedia.thefreedictionary.com/bamboo, 2005.)
     2.3  การจำแนกพันธุ์ไผ่
     การจำแนกพันธุ์ไผ่อาศัยลักษณะของการเจริญเติบโตของเหง้า รูปลักษณะของกาบหุ้มลำและส่วนต่างๆ ของดอกเป็นเกณฑ์  ที่สำคัญคือเหง้าซึ่งเป็นส่วนของลำต้นที่อยู่ใต้ดิน มีหน้าที่เก็บสะสมอาหารและส่งอาหารไปเลี้ยงลำไผ่ ตาข้ออยู่ข้างๆ เหง้าจะพัฒนาเป็นหน่อและลำไผ่ในที่สุด โดยมีการจำแนกไผ่ตามการเจริญเติบโตของเหง้า 3 ลักษณะ คือ (Ueda, 1960 อ้างใน สมยศ, 2536)
     1. ระบบเหง้ากอ (sympodial หรือ pachymorph rhizome) หน่ออ่อนจะแทงยอดออกมาจากตาเหง้าที่มีอยู่หลายตาแต่จะมีเพียงหน่อเดียวที่เจริญเติบโตต่อไป เหง้าใต้ดินจะมีขนาดใหญ่และสั้น หน่ออ่อนที่แทงออกมาจะเบียดกันด้านนอกกอที่แน่นทึบโดยมีลำแก่อยู่ข้างในกอ
     2. ระบบเหง้าลำเดี่ยว (monopodial หรือ leptomorph rhizome) ลำอ่อนแตกมาจากตาของเหง้าใต้ดินเพียงบางตา ตรงส่วนของปลายเหง้าที่เจริญออกเป็นหน่อใหญ่ เหง้ามีระยะยาว แตกออกเป็นลำใหญ่ในปีต่อไปเรื่อยๆ เหง้าและลำจึงไม่อยู่ร่วมกัน
     3. ระบบเหง้าผสม (intermediate หรือ metamorph rhizome) ในระบบนี้จะมีทั้ง 2  แบบ ดังกล่าวข้างต้น ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับสภาพความผันแปรของสิ่งแวดล้อมเป็นหลัก 

              
     2.4  ประโยชน์ของไผ่    
 ไผ่เป็นของป่าชนิดหนึ่ง ซึ่งมีให้ประโยชน์ ดังนี้  (วนิดา, 2539)
     1. เพื่อใช้เป็นอาหารพื้นบ้าน 
     2. เพื่อประโยชน์การใช้สอยในครัวเรือนในชีวิตประจำวัน 
     3. เพื่อเพิ่มรายได้ให้แก่ครอบครัวในระดับท้องถิ่น 
     4. ก่อให้เกิดการสร้างงาน ในด้านการเก็บหา การผลิต และการขนส่ง 
     5. พัฒนาเป็นสินค้าส่งออก ทำรายได้ให้แก่ประเทศ
     6. ช่วยอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม หากมีการจัดการอย่างถูกต้อง
     ไผ่มีความสำคัญในแง่เศรษฐกิจ-สังคมต่อคนไทยในชนบทมาช้านาน ไผ่ใช้ประโยชน์ได้อเนกประสงค์ทั้งทางตรงและทางอ้อม เริ่มตั้งแต่รากซึ่งเป็นระบบรากฝอยประสานกันอย่างเหนียวแน่นช่วยยึดติดตามไหล่เขาและริมห้วยไว้ไม่ให้พังทะลาย ดินขุยไผ่  มีลักษณะร่วนโปร่งเบาเหมาะกับการปลูกพืชพิเศษบางชนิด (กรมป่าไม้, 2541)
     การใช้ประโยชน์ไผ่ทางตรง อาทิเช่น รากใช้ประดิษฐ์เครื่องประดับ หน่อใช้รับประทาน ลำใช้ทำหัตถกรรมจักสาน ทำโป๊ะ ทำที่ค้างผักและผลไม้ ใช้ในงานด้านก่อสร้าง อุตสาหกรรมกระดาษ และ อุตสาหกรรมไหมเทียม ใบใช้เป็นภาชนะห่อของและมุงหลังคาเป็นต้น

           
     2.5  อุตสาหกรรมไผ่    
     ในระดับอุตสาหกรรม ไผ่ใช้ทำผลิตภัณฑ์ได้หลากหลาย ได้แก่ ไผ่อัด เป็นการผสมผสานด้านการใช้ประโยชน์ระหว่างไผ่กับกาว ทั้งนี้เพื่อเพิ่มความสวยงามและความทนทานของผลิตภัณฑ์แผ่นไผ่อัด ใช้ผลิตเครื่องเรือนต่างๆ และสำหรับการตกแต่งภายในอาคารบ้านเรือน และใช้เพื่อแทนไม้แบบก่อสร้าง ซึ่งมีสมบัติที่ดีคือเมื่อแห้งแล้วไม่ดูดน้ำทำให้สามารถนำมาใช้ทำแบบได้หลายครั้ง (6-8 ครั้ง มากกว่าไม้แบบเดิมซึ่งได้เพียง 2 ครั้ง)  
     ปี 2535 มี 4 โรงงาน คือ จังหวัดกาญจนบุรี 1 โรงงาน (หจก.อุตสาหกรรมไม้ไผ่ไทย)จังหวัดลำพูน 1 โรงงาน (หจก.นอร์เธินเอนเตอร์ไพร์สลำพูน) และที่กรุงเทพมหานครอีก 2 โรงงาน ไผ่อัดใช้ไผ่ซางนวล ไผ่ตง ซึ่งต้องมีลำไผ่ค่อนข้างโต ปล้องยาวและมีเนื้อหนา ไผ่นวลควรใช้ไผ่สดไม่มีขนตามลำต้น อายุประมาณ 2-3 ปี เส้นผ่าศูนย์กลางประมาณ 8 เซนติเมตร ความยาวประมาณ 8 เมตร ขึ้นไป ราคาประมาณ 13-15 บาทต่อลำ
     เยื่อกระดาษไผ่ ไผ่เป็นพืชที่มีเส้นใยยาวมากจึงเหมาะสมต่อการนำไปใช้ทำกระดาษให้ผลผลิตเยื่อกระดาษสูงและได้กระดาษที่มีคุณภาพดี มีโรงงานที่ จังหวัดขอนแก่น (บริษัทพินิคซ์พัลพ์แอนด์เพเพอร์ จำกัด) ใช้ไผ่รวกและไผ่ป่าจำนวน 300,000 ต้นต่อปี ต้องใช้พื้นที่ในการปลูกไผ่ไม่น้อยกว่า 150,000 ไร่ แต่ส่งเสริมการปลูกได้เพียง 6,000 ไร่เท่านั้น (2535) (นอกจากนี้ยังใช้ปอและไม้ยูคาลิปต์เป็นวัตถุดิบด้วย) จังหวัดกาญจนบุรี (บริษัทสยามคราฟท์ จำกัด)  รับซื้อไผ่ราคา 800 บาท/ตัน (นอกจากนี้ยังใช้ไม้ยูคาลิปตัสเป็นวัตถุดิบด้วย) จังหวัดพิษณุโลก  ใช้ไผ่ทำกระดาษไหว้เจ้าส่งต่างประเทศ เป็นต้น
     ไผ่รวกดัด เพื่อการส่งออกไม่มีการแปรรูปแต่อย่างใด เพียงแต่ผ่านกรรมวิธีบางอย่างเพื่อรักษาเนื้อไม้และแบ่งคุณภาพเท่านั้น โดยเสียภาษีการส่งออกเพียง 5 % ของราคาส่งออก (ไผ่ชนิดอื่น ๆ และไม้จะเสียภาษีการส่งออกถึง 40 % ของราคาส่งออก (2535)) ราคาไผ่รวกลำละ 0.70-1.50 บาท ขึ้นอยู่กับขนาดและความยาว ที่เหมาะสมควรมีอายุ 1 ปีขึ้นไปเพื่อให้การอาบน้ำยาป้องกันมอดและแมลงได้ผลดี ประเทศที่ส่งไป ได้แก่ ประเทศแถบยุโรป เช่น อิตาลี เยอรมัน ซึ่งส่วนใหญ่นำไปใช้ประโยชน์ในด้านการเกษตร ส่วนแถบตะวันออกกลางและปากีสถานนิยมนำไปใช้ประโยชน์ในด้านการสร้างบ้านเรือน เต้นท์ทหาร กระโจมที่พัก เป็นต้น
     เข่งไผ่  เป็นผลิตภัณฑ์หัตถกรรมประเภทหนึ่งในระดับอุตสาหกรรมครัวเรือน โดยนำผิวของไผ่มาจักตอกเป็นเส้นแล้วนำมาจักสานขึ้นรูป ไผ่ที่ใช้คือไผ่รวกและไผ่นวล
     ตะเกียบไผ่ ใช้ไผ่ซาง โรงงานผลิตมีที่ จังหวัดกาญจนบุรี (โรงงานเควีเอ็ม  เปเปอร์) และ จังหวัดลำปาง เป็นต้น  เครื่องจักรทำตะเกียบมีการพัฒนาส่งเสริมโดยกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม (ราคาประมาณ 8 หมื่นบาท)   ทั้งนี้เพื่อลดการนำเข้าเครื่องจักรจากไต้หวัน ญี่ปุ่น ไผ่ที่ใช้คือไผ่นวล ที่มีอายุ 2-3 ปีขึ้นไป และเป็นลำใหญ่มีเส้นผ่าศูนย์กลางตั้งแต่ 8 เซนติเมตรขึ้นไป (จังหวัดกาญจนบุรี มีการนำไผ่จากพม่ามาใช้ด้วย)
     ไม้จิ้มฟัน เป็นอุตสาหกรรมขนาดเล็ก ใช้ไผ่ซาง มีการผลิตที่ จังหวัดเชียงใหม่ จังหวัดลำพูน จังหวัดชัยนาท เป็นต้น (ไม้จิ้มฟันที่ผลิตมาจากไม้ปอ ไม้งิ้ว และยางพารา มีข้อเสียคือเปราะและหักง่าย)
     ไม้ซีก เป็นการผ่าไผ่เป็นซีก ใช้ทำคอกสัตว์ หรือส่งโรงงานทำไม้จิ้มฟัน ตะเกียบ ไม้เสียบลูกชิ้น ไม้เสียบไก่ย่าง ไม้เสียบดอกไม้ เป็นต้น ไม้ซีกมี 2 ลักษณะ คือ ไผ่ผ่าซีก (จังหวัดลำปาง เรียกว่าไม้สะลาบ) โดยนำไผ่มาซอยตามยาวและตัดเป็นซีก แต่ละลำซอยได้ประมาณ 8-10 ซีก ตัดเป็นท่อน ยาวประมาณ 1-2.5 เมตร ขึ้นไป มัดหนึ่งมีไผ่ 50 ซีก โดยปกติไม้ซีก 1 มัด ใช้ไผ่ 2 ลำ ไม้ซีกอีกลักษณะหนึ่ง คือ ไม้ตะเกียบ เป็นไม้ซีกขนาดเล็ก ความยาวตั้งแต่ 30 เซนติเมตร ขึ้นไป ไผ่แทบทุกชนิดสามารถทำเป็นไม้ซีกได้ ส่วนใหญ่นิยมไผ่นวล
     หัตถกรรมจักสานอื่นๆ ไผ่หลายชนิดใช้ทำหัตถกรรมเครื่องจักสานได้ ถือเป็นศิลปะพื้นบ้าน เพื่อใช้สอยในครัวเรือนของชีวิตประจำวัน เช่น กระด้งฝัดข้าว ตะแกรงร่อนข้าว ฝาชี กระบุง ตะกร้า กระจาด กระเป๋า ครุ เป็นต้น ไผ่สีสุก เป็นไผ่ที่นิยมใช้จักสานมากที่สุด โดยเลือกอายุ 2-3 ปี ซึ่งจักตอกได้ง่าย (ถ้าอ่อนเกินไปจะไม่ทนทาน ถ้าแก่เกินไปเส้นตอกจะหักง่าย) หัตถกรรมไผ่ที่ส่งออก เช่น มู่ลี่ กันแดด ที่ จังหวัดกาญจนบุรี หัตถกรรมไผ่ที่มีฝีมือประณีต ที่ อำเภอพนัสนิคม จังหวัดชลบุรี ใช้ไผ่นวล ซึ่งลำปล้องยาวถึง 1 เมตร มีเนื้อเหนียว หักยาก

             
     2.6  การขยายพันธุ์ไผ่
     โดยทั่วไปการขยายพันธุ์ไผ่นอกจากการเพาะจากเมล็ดไผ่แล้ว จะทำการขยายพันธุ์โดยการแยกลำพร้อมเหง้า การปักชำส่วนของลำ การปักชำกิ่ง การแยกกอขนาดเล็ก และการตอนกิ่ง (โกวิทย์ และคณะ, ไม่ปรากฏปีที่พิมพ์)
     ไผ่สามารถขยายพันธุ์ได้ 5 วิธี (กิสณะ และสุพล, 2548) คือ การขยายพันธุ์ด้วยการเพาะเมล็ด เพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อ แยกเหง้า ชำปล้อง และการขยายพันธุ์โดยการปักชำแขนง ซึ่งมีวิธีทำดังนี้ 
       1) การเพาะเมล็ด
     ไผ่เมื่อหมดอายุขัยจะออกดอกและตาย สามารถนำเมล็ดไผ่ที่ได้ไปทำการเพาะต่อไป 
       2) การเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อ
     เราสามารถใช้ต้นกล้าไผ่ที่ได้จากการเพาะเมล็ดมาเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อ ซึ่งเป็นการนำต้นกล้ามาขยายพันธุ์ให้ได้ปริมาณมาก ๆ เพื่อแก้ปัญหาการขาดแคลนต้นพันธุ์ ตลอดจนการแก้ไขปัญหาต้นพันธุ์ที่มาจากการเพาะชำกิ่งแขนงออกดอกและตาย เพราะกิ่งแขนงที่นำมาจากต้นแม่ที่มีอายุมากพร้อมที่จะออกดอกกิ่งแขนงนั้นจะมีอายุเท่ากับต้นแม่ ฉะนั้นเมื่อต้นแม่ออกดอก กิ่งแขนงที่นำไปปลูกจะออกดอกตายด้วยเช่นกัน 
       3) การขยายพันธุ์โดยการแยกกอ เหง้า
     การขยายพันธุ์วิธีนี้จะต้องคัดเลือกเหง้าที่มีอยู่ 1-2 ปี จะตัดให้ตอสูงประมาณ 50-80 เซนติเมตร แล้วทำการขุดเหง้ากับตอออกจากกอแม่เดิม โดยระวังอย่าให้ตาที่คอเหง้าแตกเสียหายได้ เพราะตานี้จะแตกเป็นหน่อต่อไป ส่วนหน่อขนาดเล็กที่ขุดขึ้นมา สามารถแยกกอไปปลูกได้เช่นกัน การขยายพันธุ์วิธีนี้จะได้เหง้าแม่ที่สะสมอาหารอยู่มากจึงมีอัตราการอดตายสูงทำให้หน่อแข็งแรงและได้หน่อเร็วกว่าวิธีขยายพันธุ์โดยการใช้กิ่งแขนงหรือลำ ได้พันธุ์ตรงกับสายพันธุ์เดิม
       4) การขยายพันธุ์โดยใช้ลำ
     การขยายพันธุ์วิธีนี้จะต้องทำการคัดเลือกลำที่มีอายุประมาณ 1 ปี แล้วนำมาตัดเป็นท่อนๆ โดยให้แต่ละท่อนมี 1 ข้อ ซึ่งการใช้ท่อนตัด 1 ข้อ จะต้องตัดตรงกลางและให้รอยตัดทั้งสองห่างจากข้อประมาณ 1 คืบ และควรเป็นลำที่มีแขนงติดอยู่โดยจะต้องตัดให้แขนงเหลือยาวประมาณ 1 คืบด้วย จากนั้นจึงนำไปชำในแปลงเพาะชำ โดยวางให้ข้ออยู่ระดับดินและให้ตาหงายขึ้น ระวังอย่าให้ตาได้รับอันตราย แล้วใส่น้ำลงในปล้องไผ่ให้เต็ม และคอยเติมน้ำให้อยู่เต็มอยู่เสมอ
การเพาะวิธีนี้จะต้องหมั่นดูแลรดน้ำให้ความชุ่มชื่นอยู่เสมอหลังจากนั้นประมาณ 2-4 สัปดาห์จะพบหน่อและรากแตกออกมา เมื่อหน่อแทงรากแข็งแรงเต็มที่ ประมาณ 6-12 เดือน จึงทำการย้ายปลูกได้ 
       5) การขยายพันธุ์โดยใช้กิ่งแขนงปักชำ
     กิ่งแขนง คือ กิ่งที่แยกออกจากลำต้นไผ่ตรงบริเวณข้อ ซึ่งโคนกิ่งแขนงจะมีรากงอกเห็นได้เด่นชัด โดยมีการคัดเลือกดังนี้
-ให้เลือกรากของกิ่งแขนงที่มีสีน้ำตาลหรือน้ำตาลอมเหลืองและมีรากฝอยแตกจากรากแขนงแล้ว
-ให้เลือกกิ่งแขนงที่ใบยอดคลี่แล้ว และกาบหุ้มตาหลุดหมดแล้วเช่นกัน
-ให้เลือกกิ่งแขนงที่มีอายุ 4-6 เดือน ถ้าเป็นกิ่งค้างปียิ่งดี
     2.7  การเก็บหาไผ่ในป่า
     พวกไผ่ หน่อไม้ เห็ด กลอย และมัน หากจะตัดหรือเก็บหาเพื่อใช้สอยในครัวเรือนในป่าที่มิใช่ป่าสงวนแห่งชาติ อุทยานแห่งชาติ หรือเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่า สามารถกระทำได้โดยไม่ต้องขออนุญาต เพราะไผ่ หน่อไม้ เห็ด กลอย และมัน มิใช่ไม้หรือของป่าหวงห้าม แต่ถ้าเป็นการตัดหรือเก็บหาในเขตป่าสงวนแห่งชาติ ต้องตรวจสอบประกาศของผู้ว่าราชการจังหวัดท้องที่ก่อน ว่ามีประกาศของผู้ว่าราชการจังหวัดประกาศอนุญาตให้ทำหรือเก็บหาได้หรือไม่ ถ้ามี ก็มีสิทธิทำหรือเก็บหาได้โดยไม่ต้องขออนุญาตอีก (กรมป่าไม้, 2534)

เอกสารอ้างอิง
1.กรมป่าไม้. 2541. การใช้ประโยชน์ไม้ขั้นพื้นฐาน. 168 น.
2.กรมป่าไม้. 2534. ความรู้สำหรับประชาชนเกี่ยวกับกฎหมายป่าไม้. 24 น.    
3.กิสณะ ตันเจริญ และสุพล ธนูรักษ์. 2548. ไผ่ตง. http://web.ku.ac.th/agri/paitong/ topic3.htm.
4.โกวิทย์ สมบุญ และคณะ. (ไม่ปรากฏปีที่พิมพ์). การปลูกและการจัดการไผ่. กรมป่าไม้, กรุงเทพฯ. 56 น
5.ปกรณ์ จริงสูงเนิน, เสมอ ลิ้มชูวงศ์ และ ชัยรัตน์ จงก้องเกียรติ. 2539. การจัดทำแผนงานพัฒนาป่าชุมชนแนวใหม่ ภาคเหนือำเภอ (ไม่ปรากฏสถานที่พิมพ์). 27 น.
6.วนิดา สุบรรณเสณี. 2539. ของป่าในประเทศไทย. กรมป่าไม้, กรุงเทพฯ. 188 น.
7.สมยศ แสงนิล. 2536. การใช้ข้อมูลภาพถ่ายดาวเทียมในการประมาณหาผลผลิตของไม้ไผ่ในภาคเหนือและภาคตะวันตกของประเทศไทย. วิทยานิพนธ์ปริญญาโท. มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์, 
8.กรุงเทพฯwww.encyclpedia.thefreedictionary.com/bamboo. 2005. 
9.www.thai-folksy.com/ELearning/Research/Way/06-PAR.html.

     3. สีย้อมเนื้อไม้ 
     สีย้อมเนื้อไม้จะใส โปร่งแสง มีเฉดสีเลียนแบบสีของเนื้อไม้ธรรมชาติ แต่ยังคงเห็นลายไม้เหมือนเดิม มีทั้งชนิดใส เงา และกึ่งเงา เหมาะสำหรับการพ่นและทางานตกแต่งพื้นผิวไม้ทุกชนิดทั้งงานไม้ภายนอกและภายใน เช่น วงกบ เชิงชาย รั้ว หน้าจั่วบ้าน ฝ้าเพดาน ประตู รางระเบียง และเฟอร์นิเจอร์ 
     3.1 สีย้อมไม้ที่นิยมใช้ ได้แก่ 
1)  น้ำยาวู๊ดสเตน เพื่อป้องกันแสงแดด และน้ำซึมเข้าเนื้อไม้หรือชิ้นงาน 
2) วาร์นิชหรือน้ำมันชักเงา เพื่อให้เกิดเงางาม ใส สวยงาม มักใช้กับเฟอร์นิเจอร์ เครื่องเรือน 
3) แลกเกอร์ มีทั้งชนิดเงาและด้าน เพื่อให้ไม้หรือชิ้นงานทนต่อสภาพภูมิอากาศ และการขูดขีด 
4) เชลแล็ก เพื่อให้ไม้หรือชิ้นงานมีความความสวยงาม ทนทาน และขับลายไม้ 
     3.2 การทาย้อมสีไม้และตกแต่งผิว 
     3.2.1 การเตรียมพื้นผิว 

  ก่อนจะทาหรือย้อมสีไม้ ต้องเตรียมพื้นผิวให้เรียบ สะอาด และปราศจากรอย วัสดุที่ใช้ ได้แก่ 
1) ดินสอพอง ใช้อุดร่องเสี้ยน หรือลงพื้น 
2) สารกันซึมหรือซีลเลอร์ ใช้เคลือบรองพื้นวัสดุที่มีรูพรุน หรือใช้เคลือบวัสดุที่อาจปล่อยสารบางประเภท ออกมาทำให้ฟิล์มของวัสดุเคลือบเสียหาย 
3) ฟิลเลอร์ ท าหน้าที่คล้ายดินสอพองอุดร่องไม้และอุดรอยแตกต่างๆ ใช้ผสมกับสีย้อม สีฝุ่น ดินสี เพื่อให้ได้สีตามต้องการ สามารถขัดถูด้วยกระดาษทรายเพื่อให้ผิวเรียบได้ง่าย 
    3.2.2 เทคนิคการทาย้อมสี 
     สีย้อมเนื้อไม้ชนิดใสสามารถทาได้ทันทีไม่ต้องผสมทินเนอร์ ส่วนสีชนิดกึ่งเงามีส่วนผสมของผงสีที่นอนก้นง่าย จึงต้องหมั่นคนสีตลอดเวลา เทคนิคในการทาโดยทั่วไป ให้ทา 2-3 เที่ยว แต่ไม่ควรเกิน 3 เที่ยว เพื่อให้ไม้สามารถคายความชื้นได้ และสามารถทาได้พื้นที่ประมาณ 75 ตารางเมตรต่อเที่ยว แต่จะเปลี่ยนแปลงมากหรือน้อยขึ้นกับการซึมของเนื้อไม้ หลังจากนั้นปล่อยให้สีแห้งสนิทประมาณ 6-8 ชั่วโมงหรือประมาณ 24 ชั่วโมง ก่อนทาเที่ยวต่อไป จะได้ผิวสีที่เรียบสวย และไม่สิ้นเปลือง ไม่ย่น ควรทิ้งไว้ 2-3 วันก่อนการใช้งานการย้อมสีไม้ 
    3.3 การรักษาสีขาวของไม้การรักษาสีขาวของไม้ 
             3.3.1 การปรับปรุงคุณภาพไม้ 

             ก่อนการทาเที่ยวที่ 2 ให้ขัดเบาๆ ตามลายไม้ด้วยกระดาษทรายเบอร์ 180-240 เพื่อลดเสี้ยนและเพิ่มการยึดเกาะนอกจากนี้ควรทดสอบเฉดสีด้วยการทาบนเนื้อไม้ที่มีขนาดเล็กก่อน 

 เอกสารอ้างอิง 
1. สารานุกรมเยาวชนไทย เล่ม 3 
2. http://asiapearlpaints.com/knowledge.php?id=10 
3. http://www.sundaywoods.com/index.php?lay=show&ac=article&Id=340425  

ไฟล์เพิ่มเติม::
 Download ไฟล์เอกสารผลงานวิชาการ   

Untitled Document
สงวนลิขสิทธิ์โดย มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่ และโรงเรียนชลประทานผาแตก
เว็บไซต์นี้เหมาะสำหรับการใช้งาน Internet Explorer เวอร์ชั่น 8 ขนาดหน้าจอ 1024 x 768 pixels