การพัฒนาครูในการสร้างฐานข้อมูลแหล่งเรียนรู้และภูมิปัญญาท้องถิ่นเพื่อยกระดับคุณภาพการสอน

- ข้อมูลภูมิปัญญาท้องถิ่น-
---------------------------------------------------------------------------
ชื่อภูมิปัญญาท้องถิ่น ::
หัตถกรรมพื้นบ้าน
ชื่อ-นามสกุล เจ้าของภูมิปัญญาท้องถิ่น ::
นางวันดี อ้นวงษา
วัน/เดือน/ปีเกิด เจ้าของภูมิปัญญาท้องถิ่น ::
21 กันยายน 2496
เบอร์โทรศัพท์ ::
-
ชื่อ-นามสกุล ผู้เก็บข้อมูล ::
นางแพรวพรรณ จันทะแจ้ง
ประเภทภูมิปัญญาท้องถิ่น ::
ด้านอุตสาหกรรมและหัตถกรรม
ที่ตั้ง / ที่อยู่ ::
156 หมู่ที่ 2 ตำบลลวงเหนือ อำเภอดอยสะเก็ด จังหวัดเชียงใหม่
แผนที่ ::

การเดินทาง ::
ระยะทางห่างจากโรงเรียนประมาณ 500 เมตร การเดินทางสะดวก
ประวัติการศึกษาและการอบรม ::

ประวัติการศึกษา      ชั้นประถมศึกษาปีที่ 4  โรงเรียนชลประทานผาแตก 
ประวัติการทำงาน     พ.ศ.2522 เข้ารับการบรรจุเป็นลูกจ้างประจำในตำแหน่งผู้ดูแลคนไข้ของโรงพยาบาลสวนปรุง  จังหวัดเชียงใหม่  ในช่วงที่ทำงานอยู่ที่โรงพยาบาลได้รับมอบหมายให้ตัดเย็บเครื่องนอน ผ้าห่ม ของทางโรงพยาบาล อีกทั้งได้ช่วยเหลืองานอื่น ๆ ทั่วไปที่ผู้บังคับบัญชาในส่วนสายตรงและไม่ใช่สายตรงที่ขอความร่วมมือ  และในปี พ.ศ.2554 ได้เข้าโครงการเกษียณอายุก่อนกำหนดเนื่องจากต้องดูแลมารดาซึ่งชราภาพและสุขภาพไม่ค่อยแข็งแรง
ประวัติการฝึกอบรม   เข้ารับการพัฒนาตนเองในหลักสูตรวิชาชีพระยะสั้นตามความสนใจ และความสามารถ (พรสวรรค์) ใช้เทคนิค “ครูพักลักจำ” บ้าง

 

ปัจจุบันดำรงตำแหน่ง ::
ประกอบอาชีพรับจ้างและจัดทำงานอิสระทั่วไป ได้แก่ การตัดเย็บและซ่อมแซมที่นอน ผ้าม่าน เบาะเก้าอี้ รับจัดงานแต่งงาน งานศพ งานขึ้นบ้านใหม่ จัดดอกไม้แห้ง–ดอกไม้สด พวงหรีด ดอกไม้จันทน์ เครื่องสืบชะตา เครื่องบวงสรวง  
ผลงานและความภาคภูมิใจ ::

     ได้มีส่วนในการถ่ายทอดความรู้ในการทำดอกไม้จันทน์ การติดต่อตลาดสำหรับจำหน่าย ให้กับกลุ่มผู้สูงอายุในหมู่บ้านหมู่ที่ 2 ส่งผลให้ผู้สูงอายุมีกิจกรรมที่ช่วยสร้างรายได้พิเศษอีกทั้งยังมีความเพลิดเพลินในการทำงาน ช่วยคลายความเหงาซึ่งถือว่าได้ใช้เวลาว่างให้เกิดประโยชน์จนได้รับรางวัลดังนี้
     1. โล่ผู้ได้รับการคัดเลือกเป็นข้าราชการพลเรือนดีเด่นประจำปี พ.ศ.2553
จากกรมสุขภาพจิต  กระทรวงสาธารณสุข
     2. ได้รับคัดเลือกให้เป็นผู้ปฏิบัติงานเป็นแบบอย่างที่ดี ประเภทลูกจ้างประจำจากโรงพยาบาลสวนปรุง

องค์ความรู้ของภูมิปัญญา ::

     การสืบชะตาเป็นประเพณีที่เชื่อถือกันมาแต่สมัยโบราณ มักทำในโอกาสต่าง ๆ เช่น ในโอกาสการทำบุญขึ้นบ้านใหม่   วันเกิด  ครบรอบอายุ  การรับขวัญแขกบ้านแขกเมือง  การฟื้นจากการเจ็บป่วย และการเสริมดวงชะตาให้ดีขึ้น ซึ่งพิธีกรรมการสืบชะตานี้จะต้องมีการจัดหาและเตรียมสิ่งของเครื่องประกอบมาก ทำให้คนรุ่นใหม่ที่ไม่ได้ศึกษาและเรียนรู้พิธีกรรมนี้ขาดความรู้ความเข้าใจและพิธีกรรมการสืบชะตาก็จึงกลายเป็นธุรกิจที่ได้รับการจ้างเหมาในการดำเนินการจัดเตรียมจัดหาไปให้ลูกค้าที่ต้องการ โดยราคาของการจ้างเหมาจัดทำเครื่องสืบชะตาคือ ชุดเล็กราคา 3,000 บาท  ชุดกลางราคา 3,500 – 4,000 บาท ชุดใหญ่ราคา  4,500 – 5,000 บาท  สืบเนื่องจากวัสดุอุปกรณ์ที่ใช้ในการประกอบพิธีสืบชะตาต้องมีการจัดหาและตระเตรียมอย่างหลากหลาย  ซึ่งในสมัยก่อนต้องอาศัยผู้เฒ่าผู้แก่ที่มีความรู้ความเข้าใจมาช่วยกันจัดเตรียม  จึงส่งผลให้คนรุ่นใหม่นิยมที่จะว่าจ้างการจัดทำเครื่องสืบชะตา มากกว่าการที่จะเชิญผู้เฒ่าผู้แก่ ญาติพี่น้องเพื่อนบ้านมาร่วมกันจัดทำเตรียมเครื่องสืบชะตา เพราะวิถีชีวิตของคนในยุคปัจจุบันเปลี่ยนแปลงไป
เครื่องใช้ในการประกอบพิธีกรรมการสืบชะตา ประกอบด้วย
     1. ไม้ง่ามค้ำสรี  จำนวน 3 อัน
     2. ไม้ง่ามเล็ก 108  จำนวน 3 มัด
     3. กระทงกาบกล้วย (สะตวง) ภายในกระทงประกอบด้วย หมาก เมี่ยง พลู บุหรี่ อาหารคาวหวาน ผลไม้ เช่น กล้วย อ้อย  ธงที่ทำด้วยกระดาษว่าวสีต่าง ๆ
     4. ขัวเงิน  ขัวคำ
     5. แหบเมี่ยง  หมาก  พลู
     6. สะพานสวดเงิน สะพานลวดทอง
     7. ตุงค่าคิง
     8. ตุงช่อ 108
     9. ต้นกล้ากล้วย  อ้อย  มะพร้าว  อย่างละ 1  ต้น
    10. กล้วยน้ำว้าดิบ 1 เครือ
    11. มะพร้าว 1 ทะลาย
    12. เทียนค่าคิง
    13. เสื่อใหม่ 1 ผืน
    14. หมอนใหม่ 1 ใบ
    15. ด้ายสายสิญจน์
    16. หม้อน้ำพร้อมกระบวย
    17. หม้อเงิน หม้อคำ
    18. กระบอกน้ำ กระบอกทราย
    19. ขันตั้ง ใส่กรวยดอกไม้ธูปเทียน  กรวยหมากพลู  หมาก 1 หัว พลู 1 มัด  ผ้าขาวผ้าแดง กระทงข้าวเปลือกข้าวสาร

ขั้นตอนการจัดการภูมิปัญญา ::

ขั้นตอนของการจัดเตรียม
     1. การจัดหาไม้ค้ำสรี (ไม้ค้ำใหญ่) และไม้ค้ำ 108 ใช้การว่าจ้างให้คนที่รู้จักจัดหามาให้
     2. นำไม้ค้ำใหญ่มาตกแต่งด้วยการทาสีหรือตัดกระดาษเป็นลวดลายตกแต่งผลึกลงกับตัวไม้
     3. แหบเมี่ยง พลู คือการนำเมี่ยงที่ห่อเป็นคำเล็ก ๆ ด้วยใบตอง  พลูที่ม้วนตามแนวตั้ง มามัดเรียงติดกับไม้ไผ่ 2 อันเป็นแนวยาวให้มีจำนวน 108 ชิ้น
     4. กระทงกาบกล้วย ใช้ส่วนของต้นกล้วยมาประดิษฐ์ และอาหารคาวหวาน ผลไม้ ฯ ที่จัดใส่ในกระทงนิยมใส่จำนวน 108 ชิ้น
     5. พานขันตั้ง ประกอบด้วยกรวยดอกไม้ ธูป เทียน 12 กรวย กรวยหมาก พลู 12 กรวยหมาก 1 หัว พลู 1 มัด ข้าวเปลือก กับข้าวสารอย่างละ 1 กระทงเล็ก ผ้าขาว ผ้าแดงอย่างละ 1 ผืน
     6. ตุงช่อ 108 ก็คือการนำกระดาษว่าวสีต่าง ๆ หรืออาจมีสีเดียวล้วนก็ได้มาตัดเป็นรูป 3เหลี่ยมมุมฉากและพันประกอบกับไม้ลูกชิ้น ให้ได้ 108 อัน แล้วจึงนำไปเสียบประดับกับต้นคา (คล้ายกับต้นครัวตานที่แห่ในงานปอยหลวงของวัดทางล้านนา)
     7. ตุงค่าคิง คือตุงที่ประดิษฐ์ตกแต่งเป็นลวดลายด้วยกระดาษเงิน กระดาษทอง จำนวน 1 อัน นำส่วนบนยอดของตุงร้อยกับเชือกหรือด้าย ผูกติดกับไม้ไผ่
     8. เทียนค่าคิง คือการสีเทียนเป็นเล่มจากขี้ผึ้งแผ่น
     9. กระบอกน้ำกระบอกทราย คือการนำไม้ไผ่ที่มีขนาดปล้องเล็ก ๆ มาตัดเป็นท่อนให้ได้จำนวน 108 อัน จัดแบ่งเป็น 3 มัด

รูปภาพประกอบ ::

1. พานขันตั้งหรือขันครู


2. การประดิษฐ์ตุงช่อ 108


3. รูปสำเร็จการจัดตั้งเครื่องสืบชะตา

         

 

ข้อมูลอื่นๆ เพิ่มเติม ::
ไฟล์เพิ่มเติม::
 Download ไฟล์เอกสารผลงานวิชาการ   

Untitled Document
สงวนลิขสิทธิ์โดย มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่ และโรงเรียนชลประทานผาแตก
เว็บไซต์นี้เหมาะสำหรับการใช้งาน Internet Explorer เวอร์ชั่น 8 ขนาดหน้าจอ 1024 x 768 pixels