การพัฒนาครูในการสร้างฐานข้อมูลแหล่งเรียนรู้และภูมิปัญญาท้องถิ่นเพื่อยกระดับคุณภาพการสอน

- ข้อมูลภูมิปัญญาท้องถิ่น-
---------------------------------------------------------------------------
ชื่อภูมิปัญญาท้องถิ่น ::
การเลี้ยงปลาดุก
ชื่อ-นามสกุล เจ้าของภูมิปัญญาท้องถิ่น ::
นายมนูญ คุณยศยิ่ง
วัน/เดือน/ปีเกิด เจ้าของภูมิปัญญาท้องถิ่น ::
28 ตุลาคม 2496
เบอร์โทรศัพท์ ::
081-8898105
ชื่อ-นามสกุล ผู้เก็บข้อมูล ::
ครูประเวศน์ ศิรินิรันดร์กุล,นางสาวสายชล เจริญศรี,เด็กหญิงศศิประภา ชามรัตน์,เด็กชายอาซาผะ อย่างจา
ประเภทภูมิปัญญาท้องถิ่น ::
ด้านเกษตรกรรม
ที่ตั้ง / ที่อยู่ ::
215 หมู่ 2 ตำบลลวงเหนือ อำเภอดอยสะเก็ด จังหวัดเชียงใหม่
แผนที่ ::

การเดินทาง ::
ระยะทางจากโรงเรียนประมาณ 500 เมตร การเดินทางสะดวก
ประวัติการศึกษาและการอบรม ::

ประวัติการศึกษา
- จบการศึกษาชั้นสูงสุด ระดับปวช. ด้านการก่อสร้าง โรงเรียนเทคนิคเชียงใหม่
ประวัติการอบรม
- อบรมเกี่ยวกับการเลี้ยงปลาและเศรษฐกิจพอเพียง โดยสถานีประมงแม่โจ้   

ปัจจุบันดำรงตำแหน่ง ::
ผลงานและความภาคภูมิใจ ::

     - การเลี้ยงปลาตอนเริ่มแรกทำเป็นอาชีพเสริมควบคู่ไปกับการทำสวนลำไยและต่อมาสามารถทำรายได้ให้กับครอบครัวเป็นอย่างดีโดยให้ผลผลิตในเวลาสั้น  1 ปี ให้ผลผลิตถึง 4  ครั้งจึงเริ่มขยายบ่อเป็นหลายบ่อเพื่อให้มีผลผลิตต่อเนื่องและยึดเป็นอาชีพหลัก
     - ได้ให้ความรู้แก่ผู้สนใจเกี่ยวกับการเลี้ยงปลาเพื่อนำไปประกอบอาชีพเสริมเช่นเลี้ยงในร่องสวน  นาข้าว และบ่อดินขนาดเล็กภายในบริเวณบ้านสำหรับเป็นอาหารภายในครอบครัว และความเพลิดเพลิน 
     - ให้ความรู้ทางปฏิบัติการแก่นักเรียนจากสถานศึกษาที่สนใจ เช่นโรงเรียนดอยสะเก็ดวิทยาคม  โรงเรียนยุพราชวิทยาลัย
     - การเลี้ยงปลาสามารถหาเลี้ยงคนในครอบครัวได้ และครอบครัวไม่ต้องทำงานหนักเกินกำลัง

 

องค์ความรู้ของภูมิปัญญา ::

     การเลี้ยงปลาในตอนแรกนั้นเริ่มจากการทำสวนในบริเวณสวนมีลำเหมืองไหลผ่านมีน้ำอุดมสมบูรณ์ตลอดปีจึงมีความคิดที่จะเลี้ยงปลาไว้เป็นอาหารภายในครอบครัวจึงไปปรึกษาจากประมงมหาวิทยาลัยแม่โจ้และได้ซื้อพันธุ์ปลามาเริ่มเลี้ยงจนมีปริมาณปลาจำนวนมากจึงนำไปจำหน่ายภายในหมู่บ้านกลายเป็นรายได้เสริมเป็นอย่างดีจึงขยายบ่อเพิ่มมากขึ้นจนต้องหาตลาดขยายและได้ติดต่อบริษัทที่จำหน่ายลูกพันธ์ปลามาตลอดจนถึงปัจจุบันถือเป็นอาชีพหลักที่ทำรายได้ให้กับครอบครัว ขยันขันแข็ง  พัฒนาตนเอง  ผลิตอาหารที่ปลอดภัยแก่ผู้บริโภค

ขั้นตอนการจัดการภูมิปัญญา ::

วัสดุอุปกรณ์
     1. ลูกปลา หรือพันธุ์ปลาปลาดุก
     2. สถานที่ หรือบ่อเลี้ยงปลา
     3. อาหารเม็ดสำเร็จรูป
     4. น้ำ
     5. กระชังปลา (ตาข่ายรูเล็กและตาข่ายรูใหญ่)
วิธีดำเนินงาน
     1. นำพันธุ์ปลาปล่อยลงกระชังปลา โดยปล่อยลงบนตาข่ายที่มีรูเล็กและรองด้วยตาข่ายที่มีรูใหญ่

         
     2. ทำการหมุนเวียนน้ำ 3 บ่อ เพื่อให้น้ำในแต่ละบ่อมีออกซิเจนเพียงพอสำหรับปลา  โดย 2 บ่อ จะเอาไว้ใช้เลี้ยงปลา และมี 1 บ่อไว้สำหรับพักน้ำจาก 2 บ่อ 

    

                   บ่อที่ 1

          

                    บ่อที่ 2                                                    บ่อที่ 3
   

 3. จะให้อาหารปลาแบบเม็ดสำเร็จรูปประมาณ 20 กิโลกรัมต่อปลา 15,000 ตัวต่อวัน

 4. เมื่ออายุครบ 3 เดือน ปลาจะโตพอสำหรับนำไปขาย ประมาณ 10 %  อายุครบ 4 เดือน ปลาจะโตพอสำหรับนำไปขาย ประมาณ 50 %  และอายุครบ 5 เดือน ปลาจะโตพอสำหรับนำไปขายได้ทั้งหมด

         

รูปภาพประกอบ ::
ข้อมูลอื่นๆ เพิ่มเติม ::

     การเลี้ยงปลากระชังในบ่อดินจะทำให้ปลาโตเร็ว เนื่องจากในบ่อดินจะได้รับสารอาหารจากธรรมชาติ เช่น แพลงตอน และลูกน้ำที่เป็นอาหารปลา 

       

       

       

                                                      บ่อที่  1

       

                                                       บ่อที่ 2

       

                                                        บ่อที่ 3

ไฟล์เพิ่มเติม::
 Download ไฟล์เอกสารผลงานวิชาการ   

Untitled Document
สงวนลิขสิทธิ์โดย มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่ และโรงเรียนชลประทานผาแตก
เว็บไซต์นี้เหมาะสำหรับการใช้งาน Internet Explorer เวอร์ชั่น 8 ขนาดหน้าจอ 1024 x 768 pixels