การพัฒนาครูในการสร้างฐานข้อมูลแหล่งเรียนรู้และภูมิปัญญาท้องถิ่นเพื่อยกระดับคุณภาพการสอน

- ข้อมูลภูมิปัญญาท้องถิ่น-
---------------------------------------------------------------------------
ชื่อภูมิปัญญาท้องถิ่น ::
การเลี้ยงผึ้ง
ชื่อ-นามสกุล เจ้าของภูมิปัญญาท้องถิ่น ::
นายคำ จอมแสง
วัน/เดือน/ปีเกิด เจ้าของภูมิปัญญาท้องถิ่น ::
7 มกราคม 2497
เบอร์โทรศัพท์ ::
081-7245899
ชื่อ-นามสกุล ผู้เก็บข้อมูล ::
นางสะไบทิพย์ ยาโน
ประเภทภูมิปัญญาท้องถิ่น ::
ด้านเกษตรกรรม
ที่ตั้ง / ที่อยู่ ::
107 หมู่ที่8 บ้านวังธาร ตำบลลวงเหนือ อำเภอดอยสะเก็ด จังหวัดเชียงใหม่
แผนที่ ::

การเดินทาง ::
ระยะทางห่างจากโรงเรียนประมาณ 2 กิโลเมตร การเดินทางสะดวก
ประวัติการศึกษาและการอบรม ::

 

    จบการศึกษาระดับชั้นประถมศึกษาปีที่  4  จากโรงเรียนบ้านป่าแฝก  ตำบลป่าแฝก  อำเภอแม่ใจ  จังหวัดพะเยา

ปัจจุบันดำรงตำแหน่ง ::
ผลงานและความภาคภูมิใจ ::

- เป็นวิทยากรให้ความรู้แก่ผู้ที่สนใจ 
- เป็นแหล่งเรียนรู้ให้แก่โรงเรียนชลประทานผาแตก 

 

องค์ความรู้ของภูมิปัญญา ::

     อันดับแรกก่อนจะมาเลี้ยงผึ้งเป็นอาชีพนั้น มีใจรักแมลงสังคม โดยเฉพาะผึ้ง ตั้งแต่เล็ก ๆ แล้ว  พอมารู้ว่าผึ้งเป็นแมลงเศรษฐกิจและทำรายได้ดีด้วยจึงศึกษาหาความรู้ชนิดที่ว่าจับไม่ให้หลุด  ต้องรู้จักผึ้งดีพอ   ผึ้งกินอาหารกี่ชนิด  ในรังผึ้งรังหนึ่งมีผึ้งกี่ชนิด และการทำหน้าที่ของผึ้งแต่ละชนิดแตกต่างกันอย่างไร  ตลอดจนศึกษาชีววิทยาของผึ้งแต่ละชนิดจนแน่ใจแล้วก็เอาผึ้งมาเลี้ยงได้เลย  ในครั้งแรกเอาผึ้งมาเลี้ยง  2  ลัง เลี้ยงให้เป็นเสียก่อน  ผึ้งมีอยู่ 3  ชนิด  ผึ้งนางพญา  ผึ้งงาน    ผึ้งตัวผู้  ผึ้งแต่ละชนิดมีลักษณะที่แตกต่างกัน ดังนี้
     1. ผึ้งนางพญา  มีหน้าที่ควบคุมรังผึ้งให้อยู่กันอย่างสมดุล  ผึ้งนางพญาจะปล่อยสารฟีรีมนต์ หรือสารจากผึ้งนางพญา
     2. ผึ้งงาน  มีหน้าที่ทำงานตลอดเวลา  ผึ้งงานเกิดมาวันแรก  1-3 วัน จะเป็นผึ้งทำความสะอาดหลอดรัง(รวง)  4-11  วัน เป็นพี่เลี้ยงคอยป้อนอาหารให้กับนางพญาและอื่น ๆ 11-21  วัน  เป็นผึ้งทหารป้องกันลังและอื่น ๆ
     3. ผึ้งตัวผู้  มีหน้าที่ผสมพันธุ์แล้วก็ตาย  ผึ้งนางพญาจะออกมาผสมพันธุ์กันกลางอากาศความสูงไม่น้อยกว่า  100 ฟุต   
     ผึ้ง หนึ่งลังถ้าหากมีอาหารอุดมสมบูรณ์  เกสรดอกไม้  น้ำผึ้งหรือน้ำต้อยจากดอกไม้  การเลี้ยงผึ้งหนึ่งลังใช้เวลา  60  วัน   เต็มลัง  มี  9  คอน ผึ้งแน่นลัง  9  คอน   ในธรรมชาติอุดมสมบูรณ์ ผึ้งรู้สึกว่าภายในรังอยู่กันแออัด  ผึ้งงานภายในรังก็จะสร้างหลอดรวงผึ้งตัวผู้ขึ้นตรงขอบรวงข้างลังผึ้งนางพญาก็จะไปไข่ใส่ไม่ได้ผสมน้ำเชื้อเพราะว่าหลอดจะใหญ่กว่าผึ้งงาน  ผึ้งงานก็จะสร้างหลอดรูปครอบเอาไว้  ประมาณ  4-20  หลอด  นางพญาก็จะไข่ใส่  1  วัน  เมื่อออกจากไข่  3   วัน  ผึ้งงานก็จะระดมให้อาหารนางพญาหรือไลเยล  หรือที่เรียกว่านมผึ้ง  พอหนอนเจริญเติบโตใช้เวลา  5  วันผึ้งงานก็จะเปิดฝาเข้าเลือกดักแด้  
ระยะของผึ้งชนิดต่าง ๆ มีดังนี้
     1. ผึ้งนางพญา  ระยะไข่ 3 วัน  ระยะหนอน  5  วัน  ระยะดักแด้  7  วัน  รวม  16  วัน
     2. ผึ้งงาน  ระยะไข่  3  วัน  ระยะหนอน  5  วัน  ระยะดักแด้  12  วัน  รวม  21  วัน
     3. ผึ้งตัวผู้ ระยะไข่ 3  วัน  ระยะหนอน 5 -6  วัน  ระยะดักแด้  14  วัน  รวม  24  วัน
ผึ้งนางพญาเกิดขึ้นใหม่ได้  2  กรณี  ดังนี้
     1. สร้างขึ้นเองตามธรรมชาติ    สร้างกะทันหันโดยที่ผึ้งนางพญาในลังได้รับอุบัติเหตุ  ผึ้งงานก็จะไปเลือกเอาหนอนผึ้งที่เกิดใหม่ที่มีอายุไม่เกิน  12  ชั่วโมง    ผึ้งจะขยายหลอดให้ใหญ่ขึ้น  แล้วระดมให้อาหารเต็มที่(นมผึ้ง)  
     2. ทดแทน  นางพญาตัวเดิมแต่กลิ่นควบคุมลดลง  ผึ้งงานก็จะสร้างหลอดขึ้นมา  1-3  หลอด    ระบบก็จะไปตามแบบของนางพญาที่เกิดขึ้น
     การเลี้ยงผึ้งเอาแบบธรรมชาติ  ถ้าต้องการเลี้ยงผึ้งจำนวนมาก ก็เลี้ยงผึ้งให้แข็งแรงก่อน  โดยเลียนแบบธรรมชาติ  โดยทำให้ผึ้งขาดนางพญาก่อน  แล้วเพาะนางพญาขึ้นมาใหม่โดยเอาหลอดพลาสติกที่ทำเลียนแบบธรรมชาติ  แล้วนำมาติดไม้เรียงกัน  แล้วย้ายหลอดลงไปในหลอดนั้น  แล้วแขวนไว้ในลังผึ้งนั้น
หมายเหตุ  การขนย้ายผึ้ง  ไปเลี้ยงในที่ต่าง ๆ  จะขนในตอนกลางคืน
วัสดุ/อุปกรณ์ 
     ไม้ควรเป็นไม้ที่กันฝนได้  ถ้าเป็นไม้หลายแผ่นฝนอาจรั่ว  ไม่จำเป็นต้องเป็นไม้เนื้อแข็งเพราะว่ามันหนักขนย้ายลำบาก  เช่นไม้มะม่วง  และไม้สะท้อนเดียวนี้หายากขึ้นส่วนใหญ่จะเป็นไม้ฉำฉา  ฝาของรังผึ้งควรเป็นไม้แผ่นเดียว  ขนาด  10 × 14  นิ้ว    ยาว 10 × 18.5  นิ้ว    ฝาปิด  20 × 24  นิ้ว  ข้างในลังผึ้ง  มีคอนผึ้ง  8-9  แผ่น

 

ขั้นตอนการจัดการภูมิปัญญา ::

 

 

รูปภาพประกอบ ::
ข้อมูลอื่นๆ เพิ่มเติม ::

 

                          ใบรับรองฟาร์มผึ้ง

                                 น้ำผึ้ง

ไฟล์เพิ่มเติม::
 Download ไฟล์เอกสารผลงานวิชาการ   

Untitled Document
สงวนลิขสิทธิ์โดย มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่ และโรงเรียนชลประทานผาแตก
เว็บไซต์นี้เหมาะสำหรับการใช้งาน Internet Explorer เวอร์ชั่น 8 ขนาดหน้าจอ 1024 x 768 pixels