การพัฒนาครูในการสร้างฐานข้อมูลแหล่งเรียนรู้และภูมิปัญญาท้องถิ่นเพื่อยกระดับคุณภาพการสอน

- ข้อมูลภูมิปัญญาท้องถิ่น-
---------------------------------------------------------------------------
ชื่อภูมิปัญญาท้องถิ่น ::
การทำเกษตรอินทรีย์
ชื่อ-นามสกุล เจ้าของภูมิปัญญาท้องถิ่น ::
นางจันทร์ดี ทองทับ
วัน/เดือน/ปีเกิด เจ้าของภูมิปัญญาท้องถิ่น ::
3 ตุลาคม 2494
เบอร์โทรศัพท์ ::
081-0314577
ชื่อ-นามสกุล ผู้เก็บข้อมูล ::
นายกร กาญจน์กนกพร,นางสาวสายชล เจริญศรี,เด็กหญิงมนัสวี จะทอ,เด็กหญิงจารุวรรณ เด่นศิริโยธา
ประเภทภูมิปัญญาท้องถิ่น ::
ด้านเกษตรกรรม
ที่ตั้ง / ที่อยู่ ::
176 หมู่ที่ 2 ตำบลลวงเหนือ อำเภอดอยสะเก็ด จังหวัดเชียงใหม่
แผนที่ ::

การเดินทาง ::
ระยะทางจากโรงเรียนประมาณ 1 กิโลเมตร การเดินทางสะดวก
ประวัติการศึกษาและการอบรม ::
 

       

       นางจันทร์ดี   ทองทับ เกิดที่บ้านป่าไผ่ศรีโขง   ตำบลเชิงดอย   อำเภอดอยสะเก็ด   จังหวัดเชียงใหม่  และย้ายมาอยู่ ณ ปัจจุบันที่ 176 ตำบลลวงเหนือ   อำเภอดอยสะเก็ด   จังหวัดเชียงใหม่  สำเร็จการศึกษาสูงสุด ชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 ได้รับสืบทอดองค์ความรู้จากการที่ได้ติดตามบิดา-มารดาที่เป็นหมอตำแยไปทำคลอดให้กับชาวบ้าน และผ่านการอบรมการนวดแผนไทย หลักสูตร 60 ชั่วโมง จากสมาคมแพทย์แผนไทย จังหวัดเชียงใหม่

ปัจจุบันดำรงตำแหน่ง ::
ผลงานและความภาคภูมิใจ ::

- ได้รับการยกย่องเป็นปราชญ์ชาวบ้านด้านการทำนาและครูภูมิปัญญาท้องถิ่น

- ปลูกพืชผักไวกินเอง และเหลือกินนำไปขายเกิดรายได้ โดยไม่ใช้สารเคมี หรือปุ๋ยเคมี

องค์ความรู้ของภูมิปัญญา ::

        การทำเกษตรอินทรีย์ชีวภาพทั้งการผลิต ปุ๋ยน้ำอินทรีย์ สูตรน้ำ EM  และการทำปุ๋ยหมักจากมูลสัตว์ เศษอาหาร หรือเศษพืชผัก ใช้การทดลองปฏิบัติจริงในพื้นที่ของตนเอง และถ่ายทอดองค์ความรู้ให้กับเกษตรกรผู้สนใจในการทำเกษตรอินทรีย์ ได้เรียนรู้พัฒนาและนำไปประยุกต์ใช้ในพื้นที่ของตนเองต่อไป

ขั้นตอนการจัดการภูมิปัญญา ::

ขั้นตอนการทำปุ๋ยอินทรีย์
วัสดุอุปกรณ์

     1. เศษใบไม้
     2. มูลสัตว์
     3. กากน้ำตาล
     4. ปุ๋ยยูเรีย
     5. น้ำ
     6. พลาสติกคลุมแปลงผัก
     7. ฟางข้าว
วิธีการทำปุ๋ยอินทรีย์
     1. นำใบไม้แห้งมาทับบริเวณที่ปลูกพืชผัก หนาประมาณ 10 เซนติเมตร
     2. นำมูลสัตว์มาทับใบไม้แห้งอีกครั้ง แล้วก็รดน้ำพอชุ่ม และใส่กากน้ำตาลเล็กน้อย ทำซ้ำขั้นตอนเดิม ประมาณ 5 ชั้น ให้สูงประมาณ 150 เซนติเมตร
     3. ขั้นตอนสุดท้ายใส่ปุ๋ยยูเรีย ประมาณ 5 กิโลกรัม
     4. ใช้ไม้แทงตามแปลงกองปุ๋ยหมักให้มีรูพรุน แล้วรดน้ำ ทุก 6 วัน
     5. จากนั้นใช้พลาสติกคลุมแปลงปุ๋ยหมักทิ้งไว้จนร่วนซุยประมาณ 3 เดือนจึงนำไปใช้ได้

 

รูปภาพประกอบ ::

ประมวลภาพการเกษตรอินทรี

    

 

ข้อมูลอื่นๆ เพิ่มเติม ::

       การนำใบไม้และหญ้ามาทำให้เกิดประโยชน์ โดยการนำมาทำเป็นปุ๋ยอินทรีย์ชีวภาพ เช่น ใบไผ่ ใบจากต้นจามจุรี ซึ่งมีจำนวนมากในท้องถิ่น และใบไม้ทุกชนิดสามารถนำมาทำปุ๋ยได้

ไฟล์เพิ่มเติม::
 Download ไฟล์เอกสารผลงานวิชาการ   

Untitled Document
สงวนลิขสิทธิ์โดย มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่ และโรงเรียนชลประทานผาแตก
เว็บไซต์นี้เหมาะสำหรับการใช้งาน Internet Explorer เวอร์ชั่น 8 ขนาดหน้าจอ 1024 x 768 pixels