การพัฒนาครูในการสร้างฐานข้อมูลแหล่งเรียนรู้และภูมิปัญญาท้องถิ่นเพื่อยกระดับคุณภาพการสอน

- ข้อมูลภูมิปัญญาท้องถิ่น-
---------------------------------------------------------------------------
ชื่อภูมิปัญญาท้องถิ่น ::
การเลี้ยงผึ้ง
ชื่อ-นามสกุล เจ้าของภูมิปัญญาท้องถิ่น ::
นายเชษฐ์ เนื่องสิทธะ
วัน/เดือน/ปีเกิด เจ้าของภูมิปัญญาท้องถิ่น ::
8 มิถุนายน 2511
เบอร์โทรศัพท์ ::
089-7500335
ชื่อ-นามสกุล ผู้เก็บข้อมูล ::
นางสะไบทิพย์ ยาโน
ประเภทภูมิปัญญาท้องถิ่น ::
ด้านเกษตรกรรม
ที่ตั้ง / ที่อยู่ ::
235 หมู่ที่ 2 ตำบลลวงเหนือ อำเภอดอยสะเก็ด จังหวัด
แผนที่ ::

การเดินทาง ::
ระยะทางจากโรงเรียนประมาณ 500 เมตร การเดินทางสะดวก
ประวัติการศึกษาและการอบรม ::

                                  จบระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6  จากการศึกษานอกโรงเรียน 

ปัจจุบันดำรงตำแหน่ง ::
ผลงานและความภาคภูมิใจ ::

- เป็นวิทยากรให้ความรู้แก่ผู้ที่สนใจ 
- เป็นแหล่งเรียนรู้ให้แก่โรงเรียนชลประทานผาแตก และมหาวิทยาลัยแม่โจ้

องค์ความรู้ของภูมิปัญญา ::
ขั้นตอนการจัดการภูมิปัญญา ::

วัสดุ/อุปกรณ์ 
     1. หลอดเยลลี่ (อาเจ)
     2. มีดปาดแผ่น
     3. แปรงปัด
     4. คอนรวงผึ้ง  ขึงลวดสลับ  3 เส้น
     5. ลังผึ้ง
     6. น้ำตาล
     7. เหล็กงัด
     8. กระป๋องรมควัน

            

วิธีดำเนินการ 
     1. มีผึ้ง  หรือไปซื้อตามจำนวนที่ต้องการ 1 ลัง จะมี  9  คอน ขยายพันธุ์ได้โดยยกไปใส่รังใหม่  3 คอน
     2. การเพาะนางพญา นำเอาหลอดเยลลี่ เอานมผึ้งใส่ในหลอด 1 หลอด เท่ากับหัวไม้ขีดไฟ  เอาไข่ผึ้งหรือหนอน  อายุ  3  วัน หนอนตัวเล็กรูปตัวซี เขี่ยหนอนไว้ในหลอดเยลลี่ติดไว้ในคอนเพาะ  จากนั้นนำคอนไปใส่รังผึ้งที่ไม่มีนางพญา  ช่องที่  2  ทิ้งไว้ 10  นับตั้งแต่วันที่เริ่มเพาะ  จึงจะเอาหลอดนางพญาออกมา แยกรัง  2-3 วันเอาออกมา แล้วเอาหลอดนางพญาไปเหน็บกับรังผึ้ง  หลังจากนำไปเหน็บกับรังผึ้ง 3-5 วัน นางพญาจะออกมาจากหลอด  แต่เป็นนางพญาที่ยังไม่ได้ผสมพันธุ์  หลังจากนั้น  5-7 วัน นางพญาจะออกไปผสมพันธุ์กับผึ้งตัวผู้ โดยเฉลี่ยนางพญา 1 ตัว กับผึ้งตัวผู้  7- 10 ตัว ในการผสมพันธุ์หนึ่งครั้งในชีวิตของนางพญา กลับเข้ามาวางไข่ในรัง  หนึ่งรังจะมีนางพญา  1  ตัว
     3. นำรังผึ้งไปไว้ตามสวนยางพารา  สวนมะม่วง  สวนลำไย   สวนลิ้นจี่  ต้นไม้ใหญ่ที่มีร่มเงารำไร ไมยราพ ข้าวโพด  ดอกไม้ป่าทั่วไป ห่างไกลสารเคมี 
     4. หลังจากการนำผึ้งเข้าสู่สวนแล้ว  ก็จะสลัดนำตาลที่เลี้ยงออกจนหมดรวงผึ้ง  ปล่อยให้เป็นรวงว่างให้ผึ้งงานนำน้ำหวานตามธรรมชาติมาเก็บไว้  7 วัน  ถึงจะเริ่มสลัดนำผึ้ง สลับกันไปจนกว่าจะหมดฤดูดอกไม้บานในแต่ละชนิด
     5. การสลัดนำผึ้ง  รังผึ้งต้องปิดอย่างน้อย  30  %  ของรวงผึ้ง  ความชื้น  20  %
     6. ถังสลัดน้ำผึ้ง  ข้างในแบ่งเป็น  8  ช่อง เพื่อเอาคอนน้ำผึ้ง  8  คอน  เมื่อสลัดน้ำผึ้งแล้ว  กรองด้วยผ้าขาวบาง  ลงถังกรอง  บรรจุใส่ถัง  200 ลิตร
หมายเหตุ
     1. อายุของน้ำผึ้ง  1  ปี – 2 ปี  
     2. อายุของผึ้ง  ประมาณ  3  เดือน
     3. ศัตรูผึ้ง  ได้แก่  จิ้งจก  ไร  แมงมุม  มด  คางคก  ฯลฯ
     4. 5 วันแรก  เรียกว่าผึ้งอนุบาล  คอยป้อนอาหารนางพญา   5  วันต่อมา   คอยป้อนอาหารนางพญา  ทำความสะอาดรัง หลังจากนั้นเป็นผึ้งทหาร  คอยป้องกันรัง  หลังจากนั้นออกหากินจนตลอดชีวิต

 

รูปภาพประกอบ ::
ข้อมูลอื่นๆ เพิ่มเติม ::

1.น้ำผึ้ง

      

2.  การเลี้ยงผึ้ง

การนำผึ้งไปเลี้ยงที่มีแดดส่องถึงรำไร


              ผึ้งนางพญา

      

การตรวจสอบคอนผึ้งในลัง

         

การปั่นน้ำผึ้ง

     

 เกสรผึ้ง

ไฟล์เพิ่มเติม::
 Download ไฟล์เอกสารผลงานวิชาการ   

Untitled Document
สงวนลิขสิทธิ์โดย มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่ และโรงเรียนชลประทานผาแตก
เว็บไซต์นี้เหมาะสำหรับการใช้งาน Internet Explorer เวอร์ชั่น 8 ขนาดหน้าจอ 1024 x 768 pixels